Chapter 3 (บทที่ 3)
The Spirituality of the Law
ธรรมบัญญัติสอนใจ
“I am not come to destroy, but to fulfill.” Matthew 5:17. It was Christ who, amid thunder and flame, had proclaimed the law upon Mount Sinai. The glory of God, like devouring fire, rested upon its summit, and the mountain quaked at the presence of the Lord. The hosts of Israel, lying prostrate upon the earth, had listened in awe to the sacred precepts of the law. What a contrast to the scene upon the mount of the Beatitudes! Under the summer sky, with no sound to break the stillness but the song of birds, Jesus unfolded the principles of His kingdom. Yet He who spoke to the people that day in accents of love, was opening to them the principles of the law proclaimed upon Sinai. {MB 45.1}
“เราไม่ได้มาล้มเลิก แต่มาทำให้สมบูรณ์ทุกประการ” (มัทธิว 5:17) ผู้ที่ประกาศธรรมบัญญัติบนภูเขาซีนายท่ามกลางเปลวเพลิงและเสียงฟ้าร้อง คือองค์พระคริสต์ พระสิริของพระเจ้าเหมือนไฟที่เผาผลาญอยู่บนยอดเขาซีนาย ทั้งภูเขาสั่นสะท้านจำเพาะพระพักตร์พระองค์ ส่วนประชาชนอิสราเอลหมอบลงกราบด้วยอาการกลัวเกรงขณะที่ฟังพระองค์ตรัสพระบัญญัติ บรรยากาศช่างผิดแผกไปจากวันที่พระเยซูเปิดเผยหลักการแห่งอาณาจักรของพระองค์อยู่ใต้ฟ้าฤดูร้อน มีแต่เสียงจ๊อกแจ๊กจอแจของนกแทรกเข้ามาในความเงียบงัน ขณะที่พระองค์ตรัสกับประชาชนด้วยสำเนียงแห่งความรัก เพื่ออธิบายหลักสัจธรรมที่พระองค์เองได้ตรัสไว้บนภูเขาซีนาย {MB 45.1}
When the law was given, Israel, degraded by the long bondage in Egypt, had need to be impressed with the power and majesty of God; yet He revealed Himself to them no less as a God of love. “The Lord came from Sinai, And rose from Seir unto them; He shined forth from Mount Paran, And He came from the ten thousands of holy ones: At His right hand was a fiery law unto them. Yea, He loveth the tribes; All their holy ones are in Thy hand: And they sat down at Thy feet; Everyone received of Thy words.” Deuteronomy 33:2, 3, R.V., margin. {MB 45.2}
เมื่อครั้งที่ทรงประทานพระบัญญัตินั้น ประชาชนอิสราเอลกำลังอยู่ในสภาพที่ตกต่ำ หลังจากที่เป็นทาสในอียิปต์มานาน พวกเขาต้องการเห็นถึงฤทธานุภาพและความโอ่อ่าตระการของพระองค์ ในขณะเดียวกันพระองค์ทรงเปิดเผยพระองค์ในฐานะพระเจ้าแห่งความรัก “พระเยโฮวาห์เสด็จจากซีนาย และทรงรุ่งแจ้งจากเสอีร์มายังเขาทั้งหลาย พระองค์ทรงฉายรังสีจากภูเขาปาราน พระองค์เสด็จพร้อมกับวิสุทธิชนนับหมื่นๆ ที่พระหัตถ์เบื้องขวามีไฟเป็นพระราชบัญญัติแก่เขา แท้จริงพระองค์ทรงรักประชาชนของพระองค์ บรรดาวิสุทธิชนของพระองค์ก็อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ และเขาทั้งหลายกราบลงที่พระบาทของพระองค์รับพระดำรัสของพระองค์” (เฉลยธรรมบัญญัติ 33:2-3 TKJV) {MB 45.2}
It was to Moses that God revealed His glory in those wonderful words that have been the treasured heritage of the ages: “The Lord, The Lord God, merciful and gracious, long-suffering, and abundant in goodness and truth, keeping mercy for thousands, forgiving iniquity and transgression and sin.” Exodus 34:6, 7. {MB 46.1}
พระเจ้าทรงสำแดงพระสิริของพระองค์แก่โมเสสด้วยพระดำรัสที่เป็นมรดกตกทอดให้คนทุกยุคสมัยได้ชื่นชมว่า “พระองค์เสด็จผ่านหน้าโมเสสไปพร้อมทั้งประกาศว่า องค์พระผู้เป็นเจ้า พระยาห์เวห์ พระเจ้าผู้เปี่ยมด้วยความเมตตากรุณาและพระคุณ ทรงกริ้วช้า บริบูรณ์ด้วยความรักมั่นคงและความซื่อสัตย์ ผู้แสดงความรักมั่นคงต่อคนนับพันชั่วอายุ โดยให้อภัยความชั่วร้าย การกบฏ และบาป” (อพยพ 34:6-7 TNCV) {MB 46.1}
The law given upon Sinai was the enunciation of the principle of love, a revelation to earth of the law of heaven. It was ordained in the hand of a Mediator–spoken by Him through whose power the hearts of men could be brought into harmony with its principles. God had revealed the purpose of the law when He declared to Israel, “Ye shall be holy men unto Me.” Exodus 22:31. {MB 46.2}
ธรรมบัญญัติที่ประกาศบนภูเขาซีนายเป็นการย้ำหลักการแห่งความรักที่เปิดเผยให้ชาวโลกได้รับรู้ถึงกฎแห่งสวรรค์ ธรรมบัญญัติตั้งไว้ “โดยมือของคนกลาง” (กาลาเทีย 3:19) คือพระองค์ผู้ทรงตั้งธรรมบัญญัติเป็นผู้ที่มีอำนาจชักนำใจของคนให้สอดคล้องกับหลักการของธรรมบัญญัตินั้น พระเจ้าทรงสำแดงพระประสงค์ของพระองค์ในธรรมบัญญัติเมื่อตรัสกับชนชาติอิสราเอลว่า “พวกเจ้าต้องเป็นประชากรบริสุทธิ์ของเรา” (อพยพ 22:31 TNCV) {MB 46.2}
But Israel had not perceived the spiritual nature of the law, and too often their professed obedience was but an observance of forms and ceremonies, rather than a surrender of the heart to the sovereignty of love. As Jesus in His character and work represented to men the holy, benevolent, and paternal attributes of God, and presented the worthlessness of mere ceremonial obedience, the Jewish leaders did not receive or understand His words. They thought that He dwelt too lightly upon the requirements of the law; and when He set before them the very truths that were the soul of their divinely appointed service, they, looking only at the external, accused Him of seeking to overthrow it. {MB 46.3}
แต่ประชากรอิสราเอลไม่ตระหนักว่าธรรมบัญญัตินั้นเป็นกฎฝ่ายจิตวิญญาณ ส่วนมากพวกเขามีแต่แสร้งปฏิบัติภายนอก และทำตามพิธีกรรม แทนที่จะมอบใจไว้ภายใต้อธิปไตยแห่งความรัก พระอุปนิสัยและพระราชกิจของพระเยซูแสดงถึงความบริสุทธิ์ พระเมตตาคุณและคุณลักษณะการเป็นพระบิดาของพระเจ้า ทั้งยังแสดงว่าการที่จะถือปฏิบัติตามพิธีกรรมเท่านั้นเป็นการไร้ประโยชน์ ฉะนั้นผู้นำชาวยิวจึงทั้งไม่รับรู้และไม่เข้าใจในสิ่งที่พระองค์ตรัสสอน พวกเขาคิดว่าพระองค์ไม่ให้ความสำคัญกับข้อบังคับของธรรมบัญญัติเท่าที่ควร และเมื่อพระองค์สอนถึงสัจธรรมอันเป็นแก่นแท้ของพิธีกรรมทั้งหลาย คนที่มองแต่เปลือกนอก กลับกล่าวหาพระองค์ว่ามาเลิกล้มธรรมบัญญัติ {MB 46.3}
The words of Christ, though calmly spoken, were uttered with an earnestness and power that stirred the hearts of the people. They listened for a repetition of the lifeless traditions and exactions of the rabbis, but in vain. They “were astonished at His teaching: for He taught them as one having authority, and not as their scribes.” Matthew 7:29, R.V. The Pharisees noted the vast difference between their manner of instruction and that of Christ. They saw that the majesty and purity and beauty of the truth, with its deep and gentle influence, was taking firm hold upon many minds. The Saviour’s divine love and tenderness drew the hearts of men to Him. The rabbis saw that by His teaching the whole tenor of the instruction they had given to the people was set at nought. He was tearing down the partition wall that had been so flattering to their pride and exclusiveness; and they feared that, if permitted, He would draw the people entirely away from them. Therefore they followed Him with determined hostility, hoping to find some occasion for bringing Him into disfavor with the multitudes and thus enabling the Sanhedrin to secure His condemnation and death. {MB 46.4}
พระคริสต์ตรัสอย่างเรียบง่าย แต่มีน้ำหนักและความมุ่งมั่นจนประชาชนตื่นตัว พวกเขาคิดว่าพระองค์คงจะสาธยายถึงกฎธรรมเนียมหยุมหยิมที่ปราศจากชีวิตตามแบบพวกธรรมาจารย์ แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น “ฝูงชนอัศจรรย์ใจด้วยคำสั่งสอนของพระองค์ เพราะพระองค์ทรงสั่งสอนพวกเขาอย่างผู้มีสิทธิอำนาจ ไม่เหมือนบรรดาธรรมาจารย์ของเขา” (มัทธิว 7:28-29) พวกฟาริสีสังเกตว่า วิธีการสอนของพระเยซูแตกต่างไปจากการสอนของพวกเขามาก คือหลักความจริงของพระองค์งดงามบริสุทธิ์ มีอิทธิพลที่ละมุนละไม จนมีหลายคนเริ่มที่จะเลื่อมใสศรัทธาในพระองค์ ความรักที่อ่อนโยนของพระผู้ช่วยให้รอดได้ชักนำคนมาหาพระองค์ พวกธรรมาจารย์เห็นว่าคำสอนของพระคริสต์กำลังทำให้เรื่องสำคัญๆ ที่พวกเขาสอนนั้นหมดความหมาย ผู้นำศาสนาหยิ่งผยองเพราะมีกำแพงกั้นอยู่ระหว่างพวกเขากับประชาชนทั่วไป บัดนี้พระเยซูกำลังพังกำแพงนั้นลง พวกผู้นำจึงกลัวว่า ถ้าไม่จัดการอะไรบางอย่างลงไป พระองค์จะชักนำคนทั้งปวงให้ละทิ้งพวกตนเสีย ฉะนั้นพวกธรรมาจารย์จึงติดตามพระองค์ด้วยอาการมุ่งร้าย หวังที่จะหาช่องทางปลุกปั่นประชาชนให้หมดความนิยมในพระองค์ สภาแซนเฮดรินจะได้ฉวยโอกาสตัดสินประหารชีวิตพระองค์เสีย {MB 46.4}
On the mount, Jesus was closely watched by spies; and as He unfolded the principles of righteousness, the Pharisees caused it to be whispered about that His teaching was in opposition to the precepts that God had given from Sinai. The Saviour said nothing to unsettle faith in the religion and institutions that had been given through Moses; for every ray of divine light that Israel’s great leader communicated to his people was received from Christ. While many are saying in their hearts that He has come to do away with the law, Jesus in unmistakable language reveals His attitude toward the divine statutes. “Think not,” He said, “that I am come to destroy the law, or the prophets.” {MB 47.1}
ขณะที่พระเยซูเผยหลักการแห่งความชอบธรรมอยู่บนภูเขานั้น มีคนคอยจับผิดพระองค์อยู่ ส่วนพวกฟาริสีได้ปล่อยข่าวว่าคำสอนของพระองค์ขัดต่อพระบัญญัติสิบประการที่พระผู้เป็นเจ้าประทานจากภูเขาซีนาย พระองค์ไม่ได้กล่าวสิ่งใดที่จะทำให้ประชาชนหมดศรัทธาในศาสนาหรือระบบต่างๆ ที่พระเจ้าประทานให้พวกเขาโดยผ่านโมเสส เพราะทุกสิ่งที่โมเสสเคยสอนนั้นล้วนแต่เป็นลำแสงที่ท่านได้รับมาจากพระคริสต์ ในขณะที่ผู้ฟังหลายคนคิดในใจว่า พระองค์จะมายกเลิกธรรมบัญญัติ พระเยซูตรัสด้วยภาษาที่ชัดเจนตรงไปตรงมา แสดงถึงท่าทีของพระองค์ในเรื่องนี้ว่า “อย่าคิดว่าเรามาล้มเลิกธรรมบัญญัติและคำของบรรดาผู้เผยพระวจนะ” {MB 47.1}
It is the Creator of men, the Giver of the law, who declares that it is not His purpose to set aside its precepts. Everything in nature, from the mote in the sunbeam to the worlds on high, is under law. And upon obedience to these laws the order and harmony of the natural world depend. So there are great principles of righteousness to control the life of all intelligent beings, and upon conformity to these principles the well-being of the universe depends. Before this earth was called into being, God’s law existed. Angels are governed by its principles, and in order for earth to be in harmony with heaven, man also must obey the divine statutes. To man in Eden Christ made known the precepts of the law “when the morning stars sang together, and all the sons of God shouted for joy.” Job 38:7. The mission of Christ on earth was not to destroy the law, but by His grace to bring man back to obedience to its precepts. {MB 48.1}
พระผู้สร้างเองเป็นผู้ที่ประกาศว่าไม่มีพระประสงค์ที่จะเลิกล้มธรรมบัญญัติ และพระองค์คือผู้ที่ประทานธรรมบัญญัตินั้นเอง สรรพสิ่งในธรรมชาติจากผงธุลีในลำแสงจนกระทั่งดวงดาวบนท้องฟ้าล้วนแต่อยู่ภายใต้กฎธรรมชาติที่มีระบบระเบียบและประสานสอดคล้องกันอย่างกลมกลืน เพราะในธรรมชาติทุกอย่างดำเนินไปตามกฎของมัน ในทำนองเดียวกันมี “กฎธรรมะ” ที่ควบคุมทั้งมนุษย์และชาวสวรรค์ ความสงบสุขในจักรวาลขึ้นอยู่กับการทำตามกฎธรรมะ ซึ่งกฎของพระเจ้ามีอยู่แล้วก่อนที่โลกของเราจะถูกสร้างขึ้นมา แม้แต่ทูตสวรรค์ก็ยังถูกปกครองอยู่ใต้กฎธรรมะนั้น และเพื่อให้โลกสอดคล้องกับสวรรค์ มนุษย์ก็ต้องปฏิบัติตามหลักการของพระเจ้า พระคริสต์ทรงชี้แจงให้มนุษย์คู่แรกทราบถึงกฎของพระองค์ “เมื่อเหล่าดาวรุ่งแซ่ซ้องสรรเสริญ และบรรดาบุตรพระเจ้าโห่ร้องด้วยความชื่นบาน” (โยบ 38:7) พันธกิจของพระคริสต์ไม่ใช่การเลิกล้มธรรมบัญญัติ แต่เป็นการนำให้มนุษย์กลับมาปฏิบัติตามธรรมบัญญัติโดยอาศัยพระคุณของพระองค์ {MB 48.1}
The beloved disciple, who listened to the words of Jesus on the mount, writing long afterward under the inspiration of the Holy Spirit, speaks of the law as of perpetual obligation. He says that “sin is the transgression of the law” and that “whosoever committeth sin transgresseth also the law.” 1 John 3:4. He makes it plain that the law to which he refers is “an old commandment which ye had from the beginning.” 1 John 2:7. He is speaking of the law that existed at the creation and was reiterated upon Mount Sinai. {MB 48.2}
อัครสาวกยอห์นเป็นผู้หนึ่งที่ฟังพระเยซูสอนบนภูเขา แล้วหลายปีต่อมาพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงดลใจให้ท่านเขียนถึงธรรมบัญญัติว่าเป็นข้อบังคับนิรันดร์ โดยกล่าวว่า “บาปเป็นสิ่งที่ผิดธรรมบัญญัติ” “ทุกคนที่ทำบาปก็ประพฤติผิดธรรมบัญญัติ” (1 ยอห์น 3:4) ยอห์นชี้ชัดว่าธรรมบัญญัติที่ท่านกล่าวถึงนั้น คือ “บัญญัติเก่าซึ่งท่านเคยมีอยู่ตั้งแต่เริ่มแรก” (1 ยอห์น 2:7) คือธรรมบัญญัติที่มีอยู่ตั้งแต่แรกสร้างโลกและที่พระเจ้าทรงย้ำบนภูเขาซีนาย {MB 48.2}
Speaking of the law, Jesus said, “I am not come to destroy, but to fulfill.” He here used the word “fulfill” in the same sense as when He declared to John the Baptist His purpose to “fulfill all righteousness” (Matthew 3:15); that is, to fill up the measure of the law’s requirement, to give an example of perfect conformity to the will of God. {MB 48.3}
พระเยซูตรัสถึงธรรมบัญญัติว่า “เราไม่ได้มาล้มเลิก แต่มาทำให้สมบูรณ์ทุกประการ” คำว่าสมบูรณ์ทุกประการในข้อนี้เป็นคำเดียวกันกับที่พระองค์ตรัสไว้กับยอห์นผู้ให้บัพติศมาว่า พระประสงค์ของพระองค์คือ “ทำความชอบธรรมให้ครบถ้วนทุกประการ” (มัทธิว 3:15) คือทำทุกอย่างตามมาตรฐานของธรรมบัญญัติจนครบบริบูรณ์ และเพื่อเป็นแบบอย่างให้แก่ชีวิตที่ดำเนินตามน้ำพระทัยของพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ {MB 48.3}
His mission was to “magnify the law, and make it honorable.” Isaiah 42:21. He was to show the spiritual nature of the law, to present its far-reaching principles, and to make plain its eternal obligation. {MB 49.1}
พันธกิจของพระองค์คือ “ทำให้ธรรมบัญญัติยิ่งใหญ่และมีเกียรติ” (อิสยาห์ 42:21) พระองค์เสด็จมาเพื่อสำแดงถึงลักษณะด้านจิตวิญญาณของธรรมบัญญัติ ว่าเป็นหลักการที่ครอบคลุมทุกส่วนในชีวิตอย่างทั่วถึง และเป็นข้อบังคับนิรันดร์ {MB 49.1}
The divine beauty of the character of Christ, of whom the noblest and most gentle among men are but a faint reflection; of whom Solomon by the Spirit of inspiration wrote, He is “the chiefest among ten thousand, . . . yea, He is altogether lovely” (Song of Solomon 5:10-16); of whom David, seeing Him in prophetic vision, said, “Thou art fairer than the children of men” (Psalm 45:2); Jesus, the express image of the Father’s person, the effulgence of His glory; the self-denying Redeemer, throughout His pilgrimage of love on earth, was a living representation of the character of the law of God. In His life it is made manifest that heaven-born love, Christlike principles, underlie the laws of eternal rectitude. {MB 49.2}
พระเยซูคริสต์เป็นพระผู้ไถ่ที่ทรงเสียสละ ตลอดเวลาที่พระองค์ประกอบพันธกิจแห่งความรักในโลกนี้ชีวิตของพระองค์เป็นตัวอย่างถึงลักษณะที่แท้จริงของพระบัญญัติพระเจ้า คนที่จัดว่าดีที่สุดเป็นเพียงเงาสะท้อนถึงพระลักษณะของพระคริสต์ผู้สง่างามและสุภาพอ่อนโยน พระวิญญาณบริสุทธิ์ดลใจให้ซาโลมอนเขียนล่วงหน้าถึงพระเยซูว่า พระองค์ “โดดเด่นท่ามกลางคนนับหมื่น…เขาช่างน่าปรารถนา” (เพลงซาโลมอน 5:10-16) ส่วนดาวิดก็เห็นนิมิตถึงพระองค์จึงกล่าวว่า “พระองค์งามสง่ายิ่งกว่ามนุษย์คนใด” (สดุดี 45:2) พระเยซูคริสต์ทรงสะท้อนถึงพระลักษณะของพระบิดา ทรงฉายออกถึงพระสิริของพระองค์ ชีวิตของพระเยซูแสดงถึงหลักการและความรักที่มาจากสวรรค์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของธรรมบัญญัติของพระเจ้าอันคงไว้ซึ่งความยุติธรรมเป็นนิตย์ {MB 49.2}
“Till heaven and earth pass,” said Jesus, “one jot or one tittle shall in nowise pass from the law, till all be fulfilled.” By His own obedience to the law, Christ testified to its immutable character and proved that through His grace it could be perfectly obeyed by every son and daughter of Adam. On the mount He declared that not the smallest iota should pass from the law till all things should be accomplished–all things that concern the human race, all that relates to the plan of redemption. He does not teach that the law is ever to be abrogated, but He fixes the eye upon the utmost verge of man’s horizon and assures us that until this point is reached the law will retain its authority so that none may suppose it was His mission to abolish the precepts of the law. So long as heaven and earth continue, the holy principles of God’s law will remain. His righteousness, “like the great mountains” (Psalm 36:6), will continue, a source of blessing, sending forth streams to refresh the earth. {MB 49.3}
พระเยซูตรัสว่า “ถึงฟ้าและดินจะล่วงไป แม้อักษรหนึ่งหรือจุดๆ หนึ่งก็จะไม่สูญไปจากพระราชบัญญัติ จนกว่าจะสำเร็จทั้งสิ้น” (มัทธิว 5:18 TKJV) การที่พระเยซูปฏิบัติตามธรรมบัญญัติเป็นหลักฐานว่าธรรมบัญญัตินั้นไม่เปลี่ยนแปลง และพิสูจน์ว่ามนุษย์ทุกคนสามารถปฏิบัติตามธรรมบัญญัติได้อย่างสมบูรณ์โดยอาศัยพระคุณของพระองค์ ในคำเทศนาของพระเยซูบนภูเขา พระองค์ประกาศว่า แม้อักษรที่เล็กที่สุดก็จะไม่สูญหายไปจากธรรมบัญญัติจนกว่าทุกอย่างจะสำเร็จสมบูรณ์ คือทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับแผนการทรงไถ่มนุษย์ให้รอด พระองค์ไม่เคยสอนว่าธรรมบัญญัตินั้นจะถูกลบล้าง แต่พระองค์มองไปไกลยังขอบฟ้าและตรัสว่า แม้วันที่โลกดับมลายลง ธรรมบัญญัติจะยังคงบังคับใชัอยู่ปานนั้น ฉะนั้นอย่าให้ใครคิดว่าพระเยซูมาเพื่อลบล้างข้อใดข้อหนึ่งของธรรมบัญญัติ ฟ้าและแผ่นดินยังคงอยู่ตราบใด หลักการอันบริสุทธิ์แห่งธรรมบัญญัติของพระเจ้าจะคงอยู่ตราบนั้น ความชอบธรรมของพระองค์ “เหมือนภูเขาสูงตระหง่าน” (สดุดี 36:6) จะยังคงอยู่เป็นแหล่งพระพรที่ไหลมารดแผ่นดินให้ชื่นฉ่ำ {MB 49.3}
Because the law of the Lord is perfect, and therefore changeless, it is impossible for sinful men, in themselves, to meet the standard of its requirement. This was why Jesus came as our Redeemer. It was His mission, by making men partakers of the divine nature, to bring them into harmony with the principles of the law of heaven. When we forsake our sins and receive Christ as our Saviour, the law is exalted. The apostle Paul asks, “Do we then make void the law through faith? God forbid: yea, we establish the law.” Romans 3:31. {MB 50.1}
เนื่องจากธรรมบัญญัติของพระเจ้าสมบูรณ์แบบจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ เป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์คนบาปจะปฏิบัติให้ถึงมาตรฐานของธรรมบัญญัติด้วยกำลังของตัวเอง นี่คือสาเหตุที่พระเยซูเสด็จมาเป็นพระผู้ไถ่ พันธกิจของพระองค์คือนำมนุษย์ให้รับส่วนในสภาพของพระเจ้า ให้สอดคล้องกับหลักธรรมะแห่งสวรรค์ เมื่อเราละทิ้งความผิดบาปและรับพระคริสต์เป็นพระผู้ช่วยให้รอด เป็นการให้เกียรติธรรมบัญญัติ อัครสาวกเปาโลถามว่า “เราลบล้างธรรมบัญญัติด้วยความเชื่อหรือ? เปล่าเลย เรายังชูธรรมบัญญัติขึ้นอีก” (โรม 3:31) {MB 50:1}
The new-covenant promise is, “I will put My laws into their hearts, and in their minds will I write them.” Hebrews 10:16. While the system of types which pointed to Christ as the Lamb of God that should take away the sin of the world was to pass away at His death, the principles of righteousness embodied in the Decalogue are as immutable as the eternal throne. Not one command has been annulled, not a jot or tittle has been changed. Those principles that were made known to man in Paradise as the great law of life will exist unchanged in Paradise restored. When Eden shall bloom on earth again, God’s law of love will be obeyed by all beneath the sun. {MB 50.2}
พันธสัญญาใหม่คือ “เราจะบรรจุธรรมบัญญัติของเราไว้ในใจของพวกเขา และเราจะจารึกมันไว้ในจิตใจของพวกเขา” (ฮีบรู 10:16) จริงอยู่ระบบพิธีกรรมอันเป็นสัญลักษณ์เล็งถึงพระคริสต์ได้ยุติลงเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ไถ่บาปของมนุษย์ในฐานะลูกแกะของพระเจ้า แต่หลักการแห่งความชอบธรรมที่มีอยู่ในพระบัญญัติสิบประการยังคงถาวรเป็นนิตย์เฉกเช่นพระที่นั่งของพระเจ้า ไม่มีพระบัญญัติข้อใดที่ถูกยกเลิกไป แม้แต่อักษรหรือขีดๆ หนึ่งก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากธรรมบัญญัติ แต่หลักการแห่งชีวิตที่ทรงเปิดเผยให้มนุษย์คู่แรกในสวนเอเดนในฐานะกฎแห่งชีวิตจะคงอยู่ในสภาพเดิมเมื่อแผ่นดินโลกถูกสร้างขึ้นใหม่ และทุกคนทั่วใต้ฟ้าสวรรค์จะปฏิบัติธรรมบัญญัติของพระเจ้า {MB 50.2}
“Forever, O Lord, Thy word is settled in heaven.” “All His commandments are sure. They stand fast for ever and ever, and are done in truth and uprightness.” “Concerning Thy testimonies, I have known of old that Thou hast founded them forever.” Psalm 119:89; 111:7, 8; Psalm 119:152. {MB 51.1}
“ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า พระวจนะของพระองค์คงอยู่ตลอดไปมั่นคงนิรันดร์ในสวรรค์” “ข้อบังคับทั้งหมดของพระองค์เชื่อถือได้ สิ่งเหล่านี้ตั้งมั่นอยู่ชั่วนิรันดร์ กำหนดขึ้นจากความซื่อสัตย์และความเที่ยงธรรม” “พระองค์ทรงตั้งกฎเกณฑ์นั้นไว้เป็นนิตย์” (สดุดี 119:89 TNCV; 111:7-8 TNCV; 119:152 TNCV) {MB 51.1}
“Whosoever . . . shall break one of these least commandments, and shall teach men so, he shall be called the least in the kingdom of heaven.” Matthew 5:19. That is, he shall have no place therein. For he who willfully breaks one commandment, does not, in spirit and truth, keep any of them. “Whosoever shall keep the whole law, and yet offend in one point, he is guilty of all.” James 2:10. {MB 51.2}
“ใครทำให้ข้อเล็กน้อยเพียงข้อหนึ่งในพระบัญญัตินี้มีความสำคัญน้อยลง และสอนคนอื่นให้ทำอย่างนั้นด้วย คนนั้นจะได้ชื่อว่าเป็นผู้เล็กน้อยที่สุดในแผ่นดินสวรรค์” (มัทธิว 5:19) คือถ้าหากใครทำเช่นนั้นเขาจะไม่มีส่วนในแผ่นดินสวรรค์เลย เพราะผู้ที่จงใจละเมิดต่อพระบัญญัติข้อเดียวก็ไม่รักษาข้ออื่นด้วยจิตวิญญาณและความจริงเช่นกัน “เพราะว่าใครที่รักษาธรรมบัญญัติทั้งหมด แต่ผิดอยู่ข้อเดียว คนนั้นก็ทำผิดธรรมบัญญัติทั้งหมด” (ยากอบ 2:10) {MB 51.2}
It is not the greatness of the act of disobedience that constitutes sin, but the fact of variance from God’s expressed will in the least particular; for this shows that there is yet communion between the soul and sin. The heart is divided in its service. There is a virtual denial of God, a rebellion against the laws of His government. {MB 51.3}
ไม่ใช่เพียงแต่การฝ่าฝืนอย่างใหญ่หลวงที่จะนับว่าเป็นความบาป แต่ความบาปคือการเบนเบี่ยงแม้เล็กน้อยจากน้ำพระทัยของพระเจ้าที่ทรงเปิดเผยให้เรา เพราะการทำเช่นนั้นแสดงว่าใจคนนั้นยังติดพันอยู่กับความบาป เป็นข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย ซึ่งเท่ากับเป็นการปฏิเสธพระเจ้า และตั้งตัวกบฏต่อการปกครองของพระองค์ {MB 51.3}
Were men free to depart from the Lord’s requirements and to set up a standard of duty for themselves, there would be a variety of standards to suit different minds and the government would be taken out of the Lord’s hands. The will of man would be made supreme, and the high and holy will of God–His purpose of love toward His creatures–would be dishonored, disrespected. {MB 51.4}
ถ้าปล่อยให้มนุษย์ตั้งมาตรฐานปฏิบัติกันเอง ก็คงมีมาตรฐานมากมายตามแต่ใจใครจะตั้งขึ้น แล้วการปกครองของพระเจ้าจะอยู่ที่ไหน ความปรารถนาของคนคงจะถูกยกชูไว้สูง และมนุษย์จะดูหมิ่นดูแคลนน้ำพระทัยอันบริสุทธิ์และสูงส่งของพระเจ้าที่ทรงมุ่งหวังด้วยความรักต่อผู้ที่พระองค์ทรงสร้าง {MB 51.4}
Whenever men choose their own way, they place themselves in controversy with God. They will have no place in the kingdom of heaven, for they are at war with the very principles of heaven. In disregarding the will of God, they are placing themselves on the side of Satan, the enemy of God and man. Not by one word, not by many words, but by every word that God has spoken, shall man live. We cannot disregard one word, however trifling it may seem to us, and be safe. There is not a commandment of the law that is not for the good and happiness of man, both in this life and in the life to come. In obedience to God’s law, man is surrounded as with a hedge and kept from the evil. He who breaks down this divinely erected barrier at one point has destroyed its power to protect him; for he has opened a way by which the enemy can enter to waste and ruin. {MB 52.1}
ทุกครั้งที่มนุษย์เลือกทางเดินของเขาเอง ก็เท่ากับเป็นการขัดแย้งกับพระเจ้า เขาจะไม่มีส่วนในแผ่นดินสวรรค์ เพราะเขาต่อสู้หลักการสวรรค์นั่นเอง เมื่อเขาเพิกเฉยต่อน้ำพระทัยของพระเจ้า ก็เท่ากับเข้าไปอยู่ฝ่ายเดียวกับซาตานผู้เป็นศัตรูของพระเจ้าและมนุษย์ ไม่ใช่คำใดคำหนึ่ง หรือพระวจนะส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่มนุษย์จะดำรงซึ่งชีวิตโดยพระวจนะทุกคำที่พระเจ้าตรัส ที่จะเพิกเฉยต่อพระวจนะแม้แต่คำเดียวเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ไม่ปลอดภัย เพราะไม่มีพระบัญชาข้อใดในธรรมบัญญัติที่ไม่เอื้ออำนวยให้มนุษย์มีความสุข ทั้งในโลกปัจจุบันและในชีวิตภายภาคหน้า เมื่อมนุษย์ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติของพระเจ้า เขาก็จะมีแนวป้องกันโดยรอบ ที่คอยคุ้มครองเขาจากความชั่วร้าย ถ้าใครรื้อแนวป้องกันที่พระองค์ทรงตั้งขึ้นนี้ในจุดใดจุดหนึ่งออกไป มันก็ไม่อาจคุ้มกันเขาได้อีกแล้ว เพราะเขาได้เปิดช่องทางให้ศัตรูเข้ามาทำลายตัวเขาเอง {MB 52.1}
By venturing to disregard the will of God upon one point, our first parents opened the floodgates of woe upon the world. And every individual who follows their example will reap a similar result. The love of God underlies every precept of His law, and he who departs from the commandment is working his own unhappiness and ruin. {MB 52.2}
เมื่อมนุษย์คู่แรกได้พลาดพลั้ง ไม่ใส่ใจในเรื่องเดียวที่เป็นน้ำพระทัยของพระเจ้า ความทุกข์จึงทะลักเข้ามาท่วมท้นโลกมนุษย์ ทุกคนที่ทำตามแบบอย่างนี้ก็จะได้เก็บเกี่ยวผลเดียวกัน ความรักของพระเจ้าเป็นบรรทัดฐานแห่งธรรมบัญญัติทุกข้อ ผู้ใดละทิ้งพระบัญญัติก็กำลังรนหาที่ {MB 52.2}
“Except your righteousness shall exceed the righteousness of the scribes and Pharisees, ye shall in no case enter into the kingdom of heaven.” Matthew 5:20. The scribes and Pharisees had accused not only Christ but His disciples as sinners because of their disregard of the rabbinical rites and observances. Often the disciples had been perplexed and troubled by censure and accusation from those whom they had been accustomed to revere as religious teachers. Jesus unveiled the deception. He declared that the righteousness upon which the Pharisees set so great value was worthless. The Jewish nation had claimed to be the special, loyal people who were favored of God; but Christ represented their religion as devoid of saving faith. All their pretensions of piety, their human inventions and ceremonies, and even their boasted performance of the outward requirements of the law, could not avail to make them holy. They were not pure in heart or noble and Christlike in character. {MB 53.1}
“ถ้าความชอบธรรมของท่านไม่มากกว่าความชอบธรรมของพวกธรรมาจารย์และพวกฟาริสี พวกท่านจะไม่มีวันได้เข้าสู่แผ่นดินสวรรค์” (มัทธิว 5:20) พวกธรรมาจารย์กับพวกฟาริสีไม่ได้เพียงแต่กล่าวหาพระคริสต์เท่านั้น แต่ได้กล่าวหาเหล่าสาวกด้วยว่าเป็นคนบาปเพราะไม่เอาใจใส่ต่อข้อหยุมหยิมของพิธีกรรมต่างๆ ที่พวกเขากำหนดขึ้น มีบ่อยครั้งที่สาวกต้องถึงกับงงงันและเป็นทุกข์ใจเพราะถูกตำหนิโดยคนที่เขาเคยนับถือในฐานะผู้สอนศาสนา แต่พระเยซูทรงเปิดโปงผู้นำศาสนาเหล่านั้น ตรัสว่า สิ่งที่พวกฟาริสีตั้งค่าไว้สูงที่แท้ก็ไร้ค่า ชนชาติยิวได้อวดอ้างตนว่า เป็นชนชาติพิเศษเพราะพวกเขาจงรักภักดีต่อพระเจ้าและพระองค์ทรงโปรดปรานเขาทั้งหลาย แต่พระคริสต์ทรงสอนว่าการนับถือศาสนาของชาวยิวนั้นขาดความเชื่อที่จะช่วยนำให้พวกเขารอดได้ การที่จะคุยโตโอ้อวดว่าตนธรรมะธัมโมเพราะได้เข้าสู่พิธีกรรมมากมายและถือปฏิบัติตามธรรมบัญญัติอย่างเคร่งครัด ก็ไม่สามารถช่วยให้เขาเป็นคนบริสุทธิ์ขึ้นมาได้ เพราะเขาทำแต่ภายนอก ใจนั้นไม่ได้บริสุทธิ์ ไม่มีความสง่างามตามแบบพระลักษณะนิสัยของพระเยซูคริสต์ {MB 53.1}
A legal religion is insufficient to bring the soul into harmony with God. The hard, rigid orthodoxy of the Pharisees, destitute of contrition, tenderness, or love, was only a stumbling block to sinners. They were like the salt that had lost its savor; for their influence had no power to preserve the world from corruption. The only true faith is that which “worketh by love” (Galatians 5:6) to purify the soul. It is as leaven that transforms the character. {MB 53.2}
ศาสนาที่เพียงแต่ถือปฏิบัติตามศีลข้อบังคับอย่างเดียว ไม่อาจนำจิตวิญญาณให้เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าได้ คนบาปทั้งหลายสะดุดเมื่อเห็นพวกฟาริสีถือตามกฎตามศีลอย่างเคร่งครัด แต่ไม่มีการสำนึกผิด ไม่มีความสุภาพอ่อนโยนหรือความรัก พวกฟาริสีเหมือนเกลือที่หมดรสเค็ม เพราะอิทธิพลของพวกเขาไม่ได้ช่วยผดุงโลกไว้จากความเสื่อมทราม แต่ความเชื่อที่แท้จริงเป็นความเชื่อ “อันแสดงออกด้วยความรัก” (กาลาเทีย 5:6 TNCV) เพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ เป็นดังเชื้อแป้งที่คอยเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยทั้งหมด {MB 53.2}
All this the Jews should have learned from the teachings of the prophets. Centuries before, the cry of the soul for justification with God had found voice and answer in the words of the prophet Micah: “Wherewith shall I come before the Lord, and bow myself before the high God? shall I come before Him with burnt offerings, with calves of a year old? Will the Lord be pleased with thousands of rams, or with ten thousands of rivers of oil? . . . He hath showed thee, O man, what is good; and what doth the Lord require of thee, but to do justly, and to love mercy, and to walk humbly with thy God?” Micah 6:6-8. {MB 53.3}
ชาวยิวน่าจะได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้จากคำสอนของบรรดาผู้เผยพระวจนะ หลายศตวรรษก่อนหน้านั้น ผู้เผยพระวจนะมีคาห์ได้สนองความปรารถนาที่จะมีความชอบธรรมจำเพาะพระเจ้าโดยกล่าวว่า “ข้าพเจ้าจะนำอะไรเข้ามาเฝ้าพระเจ้า และกราบไหว้พระเจ้าเบื้องสูง ควรข้าพเจ้าเข้าเฝ้าพระองค์ด้วยเครื่องเผาบูชาหรือ ด้วยลูกวัวอายุหนึ่งขวบหลายตัวหรือ พระเจ้าจะทรงพอพระทัยการถวายแกะเป็นพันๆ ตัว และธารน้ำมันหลายหมื่นสายหรือ…มนุษย์เอ๋ย พระองค์ทรงสำแดงแก่เจ้าแล้วว่าอะไรดี และพระเจ้าทรงมีพระประสงค์อะไรจากเจ้า นอกจากให้กระทำความยุติธรรมและรักสัจกรุณา และดำเนินชีวิตด้วยความถ่อมใจไปกับพระเจ้าของเจ้า” (มีคาห์ 6:6-8 ฉบับปี 1971) {MB 53.3}
The prophet Hosea had pointed out what constitutes the very essence of Pharisaism, in the words, “Israel is an empty vine, he bringeth forth fruit unto himself.” Hosea 10:1. In their professed service to God, the Jews were really working for self. Their righteousness was the fruit of their own efforts to keep the law according to their own ideas and for their own selfish benefit. Hence it could be no better than they were. In their endeavor to make themselves holy, they were trying to bring a clean thing out of an unclean. The law of God is as holy as He is holy, as perfect as He is perfect. It presents to men the righteousness of God. It is impossible for man, of himself, to keep this law; for the nature of man is depraved, deformed, and wholly unlike the character of God. The works of the selfish heart are “as an unclean thing;” and “all our righteousnesses are as filthy rags.” Isaiah 64:6. {MB 54.1}
ผู้เผยพระวจนะโฮเชยาสรุปแก่นสารความเป็นฟาริสีว่า “อิสราเอลเป็นเถาองุ่นที่เปล่าประโยชน์ ซึ่งเกิดผลสำหรับตัวเขาเอง” (โฮเชยา 10:1 TKJV) ในภารกิจรับใช้ทั้งหมดที่ชาวยิวอ้างว่าทำเพื่อพระเจ้า ที่แท้พวกเขาทำเพื่อตัวเอง ความชอบธรรมที่เขามีเป็นผลของการพยายามรักษาธรรมบัญญัติตามความคิดและเพื่อประโยชน์ของพวกเขาเอง ดังนั้นมันก็ไม่ได้ดีไปกว่าตัวเขาแต่อย่างใด ที่พวกเขาอุตส่าห์ทำให้ตัวเองบริสุทธิ์ ก็ไม่ต่างกับการนำความบริสุทธิ์ออกจากสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ธรรมบัญญัติของพระเจ้ามีความบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์เท่ากับพระองค์เอง มีความสมบูรณ์แบบเหมือนที่พระองค์ทรงสมบูรณ์แบบ ธรรมบัญญัตินั้น เปิดเผยให้มนุษย์เห็นถึงความชอบธรรมของพระเจ้า เป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์คนใดจะรักษาธรรมบัญญัติได้ด้วยลำพังตัวเอง เพราะโดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์เสื่อมทราม มีจิตใจพิกลพิการ แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากพระอุปนิสัยของพระเจ้า ‘การกุศล’ ที่ทำมาจากใจที่เห็นแก่ตัว “เป็นเหมือนสิ่งที่เป็นมลทิน และความชอบธรรมทั้งหมดของพวกข้าพระองค์เหมือนเสื้อผ้าสกปรก” (อิสยาห์ 64:6) {MB 54.1}
While the law is holy, the Jews could not attain righteousness by their own efforts to keep the law. The disciples of Christ must obtain righteousness of a different character from that of the Pharisees, if they would enter the kingdom of heaven. God offered them, in His Son, the perfect righteousness of the law. If they would open their hearts fully to receive Christ, then the very life of God, His love, would dwell in them, transforming them into His own likeness; and thus through God’s free gift they would possess the righteousness which the law requires. But the Pharisees rejected Christ; “being ignorant of God’s righteousness, and going about to establish their own righteousness” (Romans 10:3), they would not submit themselves unto the righteousness of God. {MB 54.2}
ธรรมบัญญัตินั้นบริสุทธิ์ แต่ชาวยิวไม่อาจเข้าถึงความชอบธรรมได้ด้วยการเพียรพยายามรักษาธรรมบัญญัติ ถ้าจะเข้าแผ่นดินสวรรค์สาวกของพระคริสต์จะต้องมีความชอบธรรมที่แตกต่างไปจากความชอบธรรมของพวกฟาริสี พระเจ้าทรงประทานความชอบธรรมอันสมบูรณ์แบบแห่งธรรมบัญญัติโดยผ่านพระบุตร ถ้าพวกเขายอมเปิดหัวใจทั้งหมดรับเอาพระคริสต์ แล้วชีวิตและความรักขององค์พระผู้เป็นเจ้าเองจะดำรงอยู่ในใจ คอยเปลี่ยนแปลงพวกเขาตามพระลักษณะของพระองค์ เหตุฉะนี้ โดยผ่านของประทานจากพระเจ้าที่ทรงให้โดยไม่คิดมูลค่า สาวกจึงมีความชอบธรรมตามที่ธรรมบัญญัติกำหนดไว้ แต่พวกฟาริสีปฏิเสธพระคริสต์ “เพราะเขาไม่รู้จักความชอบธรรมของพระเจ้า แต่อุตส่าห์ตั้งความชอบธรรมของตนขึ้น พวกเขาจึงไม่ยอมอยู่ในความชอบธรรมของพระเจ้า” (โรม 10:3) {MB 54.2}
Jesus proceeded to show His hearers what it means to keep the commandments of God–that it is a reproduction in themselves of the character of Christ. For in Him, God was daily made manifest before them. {MB 55.1}
ต่อจากนั้นพระเยซูเริ่มอธิบายว่าการรักษาพระบัญญัติของพระเจ้ามีความหมายอย่างไร คือการถอดแบบพระอุปนิสัยของพระคริสต์ เพราะเมื่อพระเยซูประทับท่ามกลางสาวก พวกเขาได้เห็นถึงพระลักษณะของพระเจ้าทุกวัน {MB 55.1}
“Everyone who is angry with his brother shall be in danger of the judgment.” Matthew 5:22, R.V. Through Moses the Lord had said, “Thou shalt not hate thy brother in thine heart. . . . Thou shalt not avenge, nor bear any grudge against the children of thy people, but thou shalt love thy neighbor as thyself.” Leviticus 19:17, 18. The truths which Christ presented were the same that had been taught by the prophets, but they had become obscured through hardness of heart and love of sin. {MB 55.2}
“ถ้าผู้ใดโกรธเคืองพี่น้องของตนจะถูกตัดสินลงโทษ” (มัทธิว 5:22 TNCV) พระเจ้าตรัสผ่านโมเสสว่า “อย่ามีใจเกลียดชังพี่น้องของเจ้า…อย่าหาทางแก้แค้นหรืออาฆาตจองเวรคนใดในหมู่ประชากรของเจ้า แต่จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง” (เลวีนิติ 19:17-18 TNCV) สัจธรรมที่พระคริสต์สอนเป็นเรื่องเดียวกันที่บรรดาผู้เผยพระวจนะเคยสอน แต่จิตใจที่แข็งกระด้าง ลุ่มหลงในความบาป ได้บดบังสิ่งเหล่านี้ไว้ {MB 55.2}
The Saviour’s words revealed to His hearers the fact that, while they were condemning others as transgressors, they were themselves equally guilty; for they were cherishing malice and hatred. {MB 55.3}
ถ้อยคำของพระผู้ช่วยให้รอดได้สำแดงความเป็นจริงแก่ผู้ฟัง ขณะที่พวกเขากล่าวโทษคนอื่นว่าผิดธรรมบัญญัติ พวกเขาก็มีความผิดไม่ต่างกับคนที่ตนกล่าวหาเพราะในใจยังมีความอาฆาตมาดร้ายอยู่ {MB 55.3}
Across the sea from the place where they were assembled was the country of Bashan, a lonely region, whose wild gorges and wooded hills had long been a favorite lurking ground for criminals of all descriptions. Reports of robbery and murder committed there were fresh in the minds of the people, and many were zealous in denouncing these evildoers. At the same time they were themselves passionate and contentious; they cherished the most bitter hatred of their Roman oppressors and felt themselves at liberty to hate and despise all other peoples, and even their own countrymen who did not in all things conform to their ideas. In all this they were violating the law which declares, “Thou shalt not kill.” {MB 56.1}
จากจุดนั้นที่ประชาชนชุมนุมกัน ฟากฝั่งทะเลตรงกันข้ามคือดินแดนบาชาน เป็นเขตเปลี่ยว มีช่องเขาคดเคี้ยวขรุขระสลับป่าเขา เป็นที่ซุกซ่อนของโจรอันธพาลทุกรูปแบบ ข่าวเรื่องฆาตกรรมและการปล้นชิงทรัพย์ที่นั่น เป็นที่ชินหูของประชาชน มีหลายคนที่กำลังฟังพระเยซูอยู่ในเช้าวันนั้นที่ชอบออกปากประณามคนทำชั่วเหล่านั้น แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขาเองยังเป็นคนใจร้อนและชอบทะเลาะวิวาท ผูกพยาบาทชาวโรมผู้กดขี่ และถือว่าตนเป็นอิสระที่จะเกลียดชังและดูถูกคนต่างชาติทั้งหมด และแม้แต่คนชาติเดียวกันที่ไม่เป็นไปตามใจของตน ในเรื่องเหล่านี้พวกเขาผิดธรรมบัญญัติที่กล่าวว่า “อย่าฆ่าคน” {MB 56.1}
The spirit of hatred and revenge originated with Satan, and it led him to put to death the Son of God. Whoever cherishes malice or unkindness is cherishing the same spirit, and its fruit will be unto death. In the revengeful thought the evil deed lies enfolded, as the plant in the seed. “Whosoever hateth his brother is a murderer: and ye know that no murderer hath eternal life abiding in him.” 1 John 3:15. {MB 56.2}
ความจงเกลียดจงชังและการแก้แค้นเริ่มต้นจากซาตาน จนมันฆ่าพระบุตรของพระเจ้า ใครที่ผูกพยาบาทหรือคิดร้ายต่อคนอื่นกำลังเพาะพันธุ์ความชั่วแบบเดียวกัน ซึ่งผลสุดท้ายคือความตาย การกระทำที่ชั่วร้ายปิดซ่อนอยู่ในภายใต้ความเคียดแค้น เหมือนต้นพืชที่ซ่อนอยู่ในเมล็ด “ผู้ที่เกลียดชังพี่น้องของตนก็เป็นผู้ฆ่าคน และพวกท่านก็รู้อยู่แล้วว่าผู้ฆ่าคนนั้นไม่มีชีวิตนิรันดร์ดำรงอยู่ในตัวเขาเลย” (1 ยอห์น 3:15) {MB 56.2}
“Whosoever shall say to his brother, Raca [vain fellow], shall be in danger of the council.” In the gift of His Son for our redemption, God has shown how high a value He places upon every human soul, and He gives to no man liberty to speak contemptuously of another. We shall see faults and weaknesses in those about us, but God claims every soul as His property–His by creation, and doubly His as purchased by the precious blood of Christ. All were created in His image, and even the most degraded are to be treated with respect and tenderness. God will hold us accountable for even a word spoken in contempt of one soul for whom Christ laid down His life. {MB 56.3}
“ใครพูดกับพี่น้องอย่างเหยียดหยาม คนนั้นจะต้องถูกนำไปยังศาลสูงให้พิพากษา” เมื่อพระเจ้าประทานพระบุตรของพระองค์เพื่อไถ่เราให้พ้นโทษของความบาป พระองค์ได้สอนว่ามนุษย์ทุกคนมีคุณค่าสูงเพียงไรในสายพระเนตรของพระองค์ พระเจ้าไม่ได้ให้สิทธิ์มนุษย์ที่จะพูดกล่าวดูถูกคนอื่นถึงแม้ว่าเราจะเห็นข้อบกพร่องและจุดด้อยของคนรอบข้างก็ตาม แต่พระเจ้าทรงถือว่า มนุษย์ทุกคนเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ ด้วยเหตุผลสองประการ คือหนึ่งเพราะพระองค์เป็นพระผู้สร้าง และสองเพราะพระองค์ทรงไถ่มนุษย์ทุกคนด้วยพระโลหิตอันประเสริฐของพระคริสต์ ทุกคนถูกสร้างมาตามพระฉายาของพระเจ้า และแม้แต่คนที่เสื่อมทรามที่สุด เราก็ยังควรให้เกียรติด้วยความสุภาพอ่อนโยน พระเจ้าจะพิพากษาเราในทุกคำที่เราดูถูกคนอื่นเพราะพระคริสต์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เขาเช่นกัน {MB 56.3}
“Who maketh thee to differ from another? and what hast thou that thou didst not receive? now if thou didst receive it, why dost thou glory, as if thou hadst not received it?” “Who art thou that judgest another man’s servant? to his own master he standeth or falleth.” 1 Corinthians 4:7; Romans 14:4. {MB 57.1}
“เพราะใครเล่าทำให้ท่านผิดแผกจากคนอื่น? สิ่งที่ท่านมีอยู่นั้นมีอะไรบ้างที่ท่านไม่ได้รับมา? และถ้าท่านได้รับสิ่งเหล่านั้นมาจริงแล้ว ทำไมจึงพูดโอ้อวดราวกับว่าท่านไม่ได้รับมา?” “ท่านเป็นใครเล่าที่จะตัดสินบ่าวของคนอื่น? เขาจะได้ดีหรือล้มเหลวก็แล้วแต่นายของเขา และเขาจะได้ดีเพราะองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงสามารถทำให้เขาได้ดี” (1 โครินธ์ 4:7 TNCV; โรม 14:4 TNCV) {MB 57.1}
“Whosoever shall say, Thou fool, shall be in danger of the hell of fire.” R.V. In the Old Testament the word “fool” is used to designate an apostate, or one who has abandoned himself to wickedness. Jesus says that whoever shall condemn his brother as an apostate or a despiser of God shows that he himself is worthy of the same condemnation. {MB 57.2}
“ถ้าผู้ใดพูดว่า ‘ไอ้โง่!’ อาจจะต้องโทษถึงไฟนรก” (มัทธิว 5:22 TNCV) ในพระคัมภีร์เดิมคำว่า “คนโง่” หมายถึงคนนอกศาสนา หรือคนที่ปล่อยตัวในการทำบาป พระเยซูสอนว่าผู้ที่กล่าวโทษพี่น้องว่า ไม่มีศาสนาหรือว่าหมิ่นประมาทพระเจ้า สมควรได้รับโทษเช่นเดียวกับคนที่ตนกล่าวหา {MB 57.2}
Christ Himself, when contending with Satan about the body of Moses, “durst not bring against him a railing accusation.” Jude 9. Had He done this, He would have placed Himself on Satan’s ground, for accusation is the weapon of the evil one. He is called in Scripture, “the accuser of our brethren.” Revelation 12:10. Jesus would employ none of Satan’s weapons. He met him with the words, “The Lord rebuke thee.” Jude 9. {MB 57.3}
แม้แต่พระเยซูคริสต์ “เมื่อโต้แย้งกับมารเรื่องศพของโมเสสก็ยังไม่กล้าล่วงเกินกล่าวหามารเลย” (ยูดา 1:9 TNCV) หากพระองค์ได้ทำเช่นนั้น พระองค์ก็จะตกอยู่ฝ่ายซาตาน เพราะการกล่าวหาและการลบหลู่เป็นอาวุธของซาตาน พระคัมภีร์ได้ขนานนามให้ซาตานว่า “เป็นผู้กล่าวหาพี่น้องของเรา” (วิวรณ์ 12:10) แต่พระเยซูไม่ยอมใช้อาวุธของซาตาน เพียงแต่ตอบมารว่า “ให้องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงขนาบเจ้าเถิด” (ยูดา 1:9 ฉบับปี 1971) {MB 57.3}
His example is for us. When we are brought in conflict with the enemies of Christ, we should say nothing in a spirit of retaliation or that would bear even the appearance of a railing accusation. He who stands as a mouthpiece for God should not utter words which even the Majesty of heaven would not use when contending with Satan. We are to leave with God the work of judging and condemning. {MB 57.4}
พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างให้เรา เมื่อมีการขัดแย้งกับศัตรูของพระคริสต์ เราไม่ควรพูดอะไรที่เป็นการตอบโต้หรือมีลักษณะเหมือนการ “ล่วงเกินกล่าวหา” ในฐานะที่เป็นคนพูดแทนพระเจ้า เราไม่ควรใช้คำที่แม้แต่พระเจ้าสูงสุดไม่ยอมใช้เมื่อโต้แย้งกับซาตาน ขอให้หน้าที่การพิพากษากล่าวโทษเป็นของพระเจ้าเถิด {MB 57.4}
“Be reconciled to thy brother.” Matthew 5:24. The love of God is something more than a mere negation; it is a positive and active principle, a living spring, ever flowing to bless others. If the love of Christ dwells in us, we shall not only cherish no hatred toward our fellows, but we shall seek in every way to manifest love toward them. {MB 58.1}
“จง…กลับคืนดีกับพี่น้อง” (มัทธิว 5:24) ความรักของพระเจ้าไม่ใช่พลังในเชิงลบ แต่เป็นหลักการที่ขับเคลื่อนในเชิงบวก เป็นน้ำพุที่มีชีวิต อำนวยพระพรให้ผู้อื่น ถ้าความรักของพระคริสต์ดำรงอยู่ในเราแล้ว เราจะไม่มีความเกลียดชังต่อเพื่อนมนุษย์ แต่เราจะหาทุกวิถีทางที่จะแสดงความรักแก่เขา {MB 58.1}
Jesus said, “If thou bring thy gift to the altar, and there rememberest that thy brother hath aught against thee; leave there thy gift before the altar, and go thy way; first be reconciled to thy brother, and then come and offer thy gift.” The sacrificial offerings expressed faith that through Christ the offerer had become a partaker of the mercy and love of God. But for one to express faith in God’s pardoning love, while he himself indulged an unloving spirit, would be a mere farce. {MB 58.2}
พระเยซูตรัสว่า “ถ้าท่านนำเครื่องบูชามาถึงแท่นบูชาแล้ว และระลึกขึ้นได้ว่า พี่น้องมีเหตุขัดเคืองข้อหนึ่งข้อใดกับท่าน จงวางเครื่องบูชาไว้ที่หน้าแท่นบูชา และกลับไปคืนดีกับพี่น้องผู้นั้นเสียก่อน แล้วจึงค่อยมาถวายเครื่องบูชาของท่าน” (มัทธิว 5:23-24) เมื่อชาวยิวถวายบูชาตามแบบที่พระเจ้าทรงวางไว้ เป็นการแสดงออกถึงความเชื่อว่า โดยผ่านพระคริสต์แล้ว ผู้ที่ถวายบูชานั้นได้รับพระเมตตาและความรักจากพระเจ้า แต่การที่จะแสดงออกถึงความเชื่อในความรักของพระเจ้าที่ทรงอภัยความบาปของเขา และในขณะเดียวกันยังเกลียดชังคนอื่นอยู่ ก็เหมือนการเสแสร้งหรือการเล่นละครเท่านั้นเอง {MB 58.2}
When one who professes to serve God wrongs or injures a brother, he misrepresents the character of God to that brother, and the wrong must be confessed, he must acknowledge it to be sin, in order to be in harmony with God. Our brother may have done us a greater wrong than we have done him, but this does not lessen our responsibility. If when we come before God we remember that another has aught against us, we are to leave our gift of prayer, of thanksgiving, of freewill offering, and go to the brother with whom we are at variance, and in humility confess our own sin and ask to be forgiven. {MB 58.3}
เมื่อคนที่แสดงตัวเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้าทำผิดต่อพี่น้องคนหนึ่ง อาจเป็นเหตุให้คนนั้นเข้าใจพระลักษณะของพระเจ้าผิดไป เขาต้องสารภาพความผิดนั้นและยอมรับว่านั่นเป็นความบาป เพื่อเขาจะมีความสอดคล้องกับน้ำพระทัยของพระเจ้าได้ พี่น้องคนนั้นอาจจะทำผิดต่อเราหนักกว่าที่เราทำต่อเขา แต่นั่นไม่ได้ลดความรับผิดชอบของเราแต่อย่างใด เมื่อเรามาหาพระเจ้าและระลึกได้ว่า มีคนที่มีเหตุขัดเคืองใจกับเรา เราก็ควรหยุดอธิษฐาน การขอบคุณหรือการถวายเอาไว้ก่อน และไปหาพี่น้องคนนั้น สารภาพความผิดและขอการอภัยจากเขา {MB 58.3}
If we have in any manner defrauded or injured our brother, we should make restitution. If we have unwittingly borne false witness, if we have misstated his words, if we have injured his influence in any way, we should go to the ones with whom we have conversed about him, and take back all our injurious misstatements. {MB 59.1}
ถ้าเราได้โกงพี่น้องหรือทำให้เขาได้รับความเสียหาย เราก็ควรชดใช้ ถ้าเคยบิดเบือนคำพูดของพี่น้อง หรือใส่ร้ายเขาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็ควรไปหาคนๆ นั้น และถอนคำพูดทุกคำที่สร้างความเสียหายให้หมดสิ้น {MB 59.1}
If matters of difficulty between brethren were not laid open before others, but frankly spoken of between themselves in the spirit of Christian love, how much evil might be prevented! How many roots of bitterness whereby many are defiled would be destroyed, and how closely and tenderly might the followers of Christ be united in His love! {MB 59.2}
คงป้องกันความชั่วไว้ได้ไม่น้อยทีเดียว ถ้าเมื่อไหร่ที่พี่น้องมีปัญหากัน แทนที่จะติฉินนินทาหรือแพร่งพรายปัญหานั้นอยู่ลับหลัง ก็หันหน้าเข้าหากันและคุยกันอย่างตรงไปตรงมาด้วยความรักของคริสเตียน รากขมขื่นที่ “ทำให้คนเป็นอันมากแปดเปื้อนมลทิน” (ฮีบรู 12:15 TNCV) จะถูกถอนขึ้นเป็นจำนวนมาก และสาวกของพระคริสต์จะกลมเกลียวกันในความรักของพระองค์ {MB 59.2}
“Whosoever looketh on a woman to lust after her hath committed adultery with her already in his heart.” Matthew 5:28. The Jews prided themselves on their morality and looked with horror upon the sensual practices of the heathen. The presence of the Roman officers whom the imperial rule had brought into Palestine was a continual offense to the people, for with these foreigners had come in a flood of heathen customs, lust, and dissipation. In Capernaum, Roman officials with their gay paramours haunted the parades and promenades, and often the sound of revelry broke upon the stillness of the lake as their pleasure boats glided over the quiet waters. The people expected to hear from Jesus a stern denunciation of this class, but what was their astonishment as they listened to words that laid bare the evil of their own hearts! {MB 59.3}
“ผู้ใดมองดูผู้หญิงด้วยใจกำหนัดก็ได้ล่วงประเวณีกับนางในใจของเขาแล้ว” (มัทธิว 5:28 TNCV) ชาวยิวมีความภาคภูมิใจที่ได้อยู่ในศีลในธรรมและรู้สึกรังเกียจเมื่อเห็นคนต่างชาติประพฤติผิดในกาม พวกเขามีความขุ่นเคืองที่เห็นธรรมเนียมของคนต่างชาติซึ่งเสพสุขตามราคะตัณหาทะลักเข้ามาพร้อมกับพวกทหารชาวโรมันที่มาปกครองปาเลสไตน์ในนามจักรพรรดิ ณ เมืองคาเปอรนาอุม ภาพนายทหารโรมันกับชู้รักเคล้าเคลียเดินอวดตัวกันไปมาอยู่ต่อหน้าพวกเขาทุกเมื่อเชื่อวัน บ่อยครั้งจะได้ยินเสียงเฮฮาเข้ามากระทบความเงียบสงบของทะเลสาบขณะที่เรือท่องเที่ยวของคนพวกนั้นลอยผ่านไปบนผิวน้ำที่ราบเรียบสงบนิ่ง ฉะนั้นประชาชนคาดว่าพระเยซูจะประณามคนเหล่านี้อย่างรุนแรง แต่ก็ต้องตกใจเมื่อพระองค์เผยให้เห็นความชั่วในใจของพวกเขาเอง {MB 59.3}
When the thought of evil is loved and cherished, however secretly, said Jesus, it shows that sin still reigns in the heart. The soul is still in the gall of bitterness and in the bond of iniquity. He who finds pleasure in dwelling upon scenes of impurity, who indulges the evil thought, the lustful look, may behold in the open sin, with its burden of shame and heart-breaking grief, the true nature of the evil which he has hidden in the chambers of the soul. The season of temptation, under which, it may be, one falls into grievous sin, does not create the evil that is revealed, but only develops or makes manifest that which was hidden and latent in the heart. As a man “thinketh in his heart, so is he;” for out of the heart “are the issues of life.” Proverbs 23:7; 4:23. {MB 60.1}
พระเยซูตรัสว่า เมื่อคนใดฝักใฝ่อยู่กับความคิดที่ชั่วร้าย ถึงจะเป็นความลับก็ตาม ก็ยังแสดงว่าความบาปยังครองใจเขาอยู่ จิตใจที่ขมขื่นยังเป็นทาสของความผิดบาป คนที่ชอบคิดจินตนาการในสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์และมองคนอื่นด้วยใจกำหนัดในกาม จะสำนึกถึงธาตุแท้ของความชั่วที่ซุกซ่อนในใจ เมื่อมีคนที่คิดแบบเดียวกับเขาถูกเปิดโปงความชั่วนั้นออกมาให้อับอายขายหน้าและระทมทุกข์ การทดลองที่อยู่เบื้องหลังของการทำบาปร้ายแรง ไม่ได้เป็นเหตุก่อความชั่วที่ปรากฏนั้น มันเพียงแต่เปิดโปงสิ่งที่ซ่อนเร้นในใจ ด้วยว่ามนุษย์ “คิดในใจอย่างไร เขาก็เป็นอย่างนั้น” “จงรักษาใจของเจ้าด้วยความระวังระไวรอบด้าน เพราะแหล่งแห่งชีวิตเริ่มต้นออกมาจากใจ” (สุภาษิต 23:7 TKJV; 4:23 TKJV {MB 60.1}
“If thy right hand causeth thee to stumble, cut it off, and cast it from thee.” Matthew 5:30, R.V. To prevent disease from spreading to the body and destroying life, a man would submit to part even with his right hand. Much more should he be willing to surrender that which imperils the life of the soul. {MB 60.2}
“ถ้ามือข้างขวาของท่านทำให้ตัวท่านหลงผิด จงตัดทิ้งเสีย” (มัทธิว 5:30 TSV) เพื่อป้องกันไม่ให้โรคร้ายขยายจนทำลายไปทั้งชีวิต คนเราคงยอมตัดแม้กระทั่งมือขวาทิ้ง ยิ่งกว่านั้นเราก็ควรสละทิ้งสิ่งที่ทำให้จิตวิญญาณเข้าสู่อันตรายเสียด้วย {MB 60.2}
Through the gospel, souls that are degraded and enslaved by Satan are to be redeemed to share the glorious liberty of the sons of God. God’s purpose is not merely to deliver from the suffering that is the inevitable result of sin, but to save from sin itself. The soul, corrupted and deformed, is to be purified, transformed, that it may be clothed in “the beauty of the Lord our God,” “conformed to the image of His Son.” “Eye hath not seen, nor ear heard, neither have entered into the heart of man, the things which God hath prepared for them that love Him.” Psalm 90:17; Romans 8:29; 1 Corinthians 2:9. Eternity alone can reveal the glorious destiny to which man, restored to God’s image, may attain. {MB 60.3}
คนที่เสื่อมทรามและเป็นทาสของความบาปจะได้รับการไถ่เพื่อมีส่วนในอิสรภาพอันรุ่งโรจน์แห่งลูกของพระเจ้าโดยผ่านข่าวประเสริฐ ผลของความบาปที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือความทุกข์ พระเจ้าไม่เพียงแต่ประสงค์ที่จะช่วยกู้เราให้พ้นจากความทุกข์เท่านั้น แต่ช่วยเราให้รอดพ้นจากความบาปที่เป็นต้นเหตุของความทุกข์นั้นด้วย จิตใจที่แปดเปื้อนมลทินจะได้รับการชำระให้บริสุทธิ์และจะเปลี่ยนแปลงตาม “ความงามของพระเยโฮวาห์” “ให้เป็นเหมือนพระบุตรของพระองค์” “สิ่งที่ตาไม่เห็น หูไม่ได้ยิน และสิ่งที่ใจมนุษย์คิดไม่ถึง คือสิ่งที่พระเจ้าทรงจัดเตรียมไว้สำหรับคนทั้งหลายที่รักพระองค์” (สดุดี 90:17 TKJV; โรม 8:29 TNCV; 1 โครินธ์ 2:9) มีแต่ที่ชีวิตนิรันดร์เท่านั้น ที่จะเปิดเผยความทรงเกียรติซึ่งพระเจ้าทรงจัดเตรียมไว้ให้คนของพระองค์ เมื่อนั้นมนุษย์จะกลับสู่สภาพที่เป็นไปตามพระฉายาของพระองค์ {MB 60.3}
In order for us to reach this high ideal, that which causes the soul to stumble must be sacrificed. It is through the will that sin retains its hold upon us. The surrender of the will is represented as plucking out the eye or cutting off the hand. Often it seems to us that to surrender the will to God is to consent to go through life maimed or crippled. But it is better, says Christ, for self to be maimed, wounded, crippled, if thus you may enter into life. That which you look upon as disaster is the door to highest benefit. {MB 61.1}
เราต้องสละละทิ้งทุกอย่างที่เป็นเหตุให้หลงผิดเพื่อให้เราไปถึงมาตรฐานอันสูงส่งนี้ ความบาปเข้ามาครอบงำเราโดยผ่านเจตจำนงของเราเอง ส่วนตัวอย่างที่พระเยซูให้ไว้คือการควักตาและการตัดมือทิ้ง เป็นสัญลักษณ์ของการมอบเจตจำนงของเราให้พระเจ้า บ่อยครั้งคนเรารู้สึกว่า ถ้ามอบความปรารถนาให้พระเจ้าแล้ว ชีวิตคงพิกลพิการ ไม่สมบูรณ์ แต่พระเยซูตรัสว่า ที่จะมีชีวิตไม่สมประกอบก็ยังดีกว่า ถ้าด้วยเหตุนั้นทำให้เราได้เข้าสู่ชีวิตนิรันดร์ คือว่าสิ่งที่เราถือว่าย่ำแย่ที่สุด อาจกลับเป็นประตูสู่พระพรอันสูงสุด {MB 61.1}
God is the fountain of life, and we can have life only as we are in communion with Him. Separated from God, existence may be ours for a little time, but we do not possess life. “She that liveth in pleasure is dead while she liveth.” 1 Timothy 5:6. Only through the surrender of our will to God is it possible for Him to impart life to us. Only by receiving His life through self-surrender is it possible, said Jesus, for these hidden sins, which I have pointed out, to be overcome. It is possible that you may bury them in your hearts and conceal them from human eyes, but how will you stand in God’s presence? {MB 61.2}
พระเจ้าคือน้ำพุแห่งชีวิต และเราจะมีชีวิตอยู่ได้ตราบใดที่เราติดสนิทกับพระองค์ ถ้าแยกจากพระเจ้าแล้ว เราอาจอยู่ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ก็เป็นการอยู่แบบปราศจากชีวิต เหมือนข้อความที่บรรยายถึงคนที่ “อยู่เพื่อหาความสนุกเพลิดเพลินก็ตายทั้งเป็น” (1 ทิโมธี 5:6 TNCV) มีแต่การมอบเจตจำนงและความปรารถนาให้พระเจ้าเท่านั้น พระองค์จึงสามารถประทานชีวิตให้เราได้ พระเยซูสอนว่ามีทางเดียวที่จะชนะความบาปที่ซ่อนเร้น นั่นคือการรับเอาชีวิตของพระองค์ด้วยการมอบเจตจำนงนั่นเอง เราอาจปิดซ่อนความบาปไว้ในใจส่วนลึก ห่างไกลจากสายตามนุษย์ แต่เราจะยืนอยู่ต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้าได้อย่างไร {MB 61.2}
If you cling to self, refusing to yield your will to God, you are choosing death. To sin, wherever found, God is a consuming fire. If you choose sin, and refuse to separate from it, the presence of God, which consumes sin, must consume you. {MB 62.1}
ถ้าเรายังยึดถือตนเองเป็นใหญ่ ไม่ยอมมอบเจตจำนงให้พระเจ้า ก็เท่ากับเป็นการเลือกความตาย เพราะพระเจ้าทรงเป็นไฟที่เผาผลาญต่อบาปไม่ว่าบาปจะอยู่ที่ใด ถ้าเราเลือกความบาปและไม่ยอมแยกจากมัน พระเจ้าผู้ทรงเผาผลาญบาปจะทรงเผาผลาญเราด้วยเมื่อพระองค์เสด็จมา {MB 62.1}
It will require a sacrifice to give yourself to God; but it is a sacrifice of the lower for the higher, the earthly for the spiritual, the perishable for the eternal. God does not design that our will should be destroyed, for it is only through its exercise that we can accomplish what He would have us do. Our will is to be yielded to Him, that we may receive it again, purified and refined, and so linked in sympathy with the Divine that He can pour through us the tides of His love and power. However bitter and painful this surrender may appear to the willful, wayward heart, yet “it is profitable for thee.” {MB 62.2}
การที่จะมอบทั้งใจกาย ชีวิต จิตวิญญาณให้พระเจ้านั้น ต้องเสียสละ แต่เป็นการสละสิ่งเล็กเพื่อแลกเอาสิ่งที่ใหญ่กว่า และเป็นการแลกสิ่งต่างๆ ฝ่ายโลกเพื่อรับสิ่งที่เป็นฝ่ายจิตวิญญาณ ทั้งแลกสิ่งที่เน่าเปื่อยได้กับสิ่งที่ถาวรเป็นนิตย์ พระเจ้าไม่มีพระประสงค์ที่จะทำร้ายเจตจำนงของเรา เพราะมีแต่ทางเดียวที่เราจะทำในสิ่งที่พระองค์ทรงมอบหมายให้เราทำ นั่นคือด้วยการฝึกเจตจำนงของเรา เมื่อเรามอบเจตจำนงให้พระเจ้า พระองค์จะทรงชำระให้สะอาดบริสุทธิ์แล้วคืนให้แก่เราอีก และเมื่อเจตจำนงของเราเป็นไปตามน้ำพระทัยของพระองค์แล้ว พระองค์จะประทานความรักและฤทธานุภาพของพระองค์มากมายผ่านเราไปยังผู้อื่น ถึงแม้ใจที่ดื้อรั้นอาจรู้สึกว่าการเสียสละนั้นเจ็บปวดและขมขื่นมากก็ตาม แต่ก็ยังเป็น “ประโยชน์แก่ท่านมาก” (มัทธิว 5:29 TKJV) {MB 62.2}
Not until he fell crippled and helpless upon the breast of the covenant angel did Jacob know the victory of conquering faith and receive the title of a prince with God. It was when he “halted upon his thigh” (Genesis 32:31) that the armed bands of Esau were stilled before him, and the Pharaoh, proud heir of a kingly line, stooped to crave his blessing. So the Captain of our salvation was made “perfect through sufferings” (Hebrews 2:10), and the children of faith “out of weakness were made strong,” and “turned to flight the armies of the aliens” (Hebrews 11:34). So do “the lame take the prey” (Isaiah 33:23), and the weak become “as David,” and “the house of David . . . as the angel of the Lord” (Zechariah 12:8). {MB 62.3}
ยาโคบไม่รู้จักชัยชนะแห่งความเชื่อและไม่ได้รับชื่ออิสราเอล จนกระทั่งท่านฟุบตัวลงที่ทรวงอกของทูตแห่งพันธสัญญาด้วยอาการอ่อนแรงและพิการ เมื่อท่าน “เดินโขยกเขยก” นั่นแหละ ที่กองกำลังของเอซาวหยุดเคลื่อนพลต่อหน้าท่าน และกษัตริย์ฟาโรห์ พระราชาผู้เกรียงไกรได้ก้มคำนับเพื่อรับเอาพรของท่าน (ปฐมกาล 32:31; 47:10) เช่นเดียวกัน พระเจ้าทรงทำให้พระคริสต์ “ผู้ลิขิตความรอดของเขาทั้งหลายนั้นสมบูรณ์พร้อมโดยการทนทุกข์” (ฮีบรู 2:10 TNCV) “ความอ่อนแอของ [ลูกแห่งความเชื่อ] กลับเป็นความเข้มแข็ง” (ฮีบรู 11:34 TNCV) ฉะนั้น “คนง่อยก็จะเอาเหยื่อไป” (อิสยาห์ 33:23) “คนที่อ่อนแอท่ามกลางเขาในวันนั้นจะเป็นเหมือนดาวิด และราชวงศ์ของดาวิดจะเป็นเหมือน…ทูตสวรรค์ของพระเยโฮวาห์” (เศคารยาห์ 12:8 TKJV) {MB 62.3}
“Is it lawful for a man to put away his wife?” Matthew 19:3. Among the Jews a man was permitted to put away his wife for the most trivial offenses, and the woman was then at liberty to marry again. This practice led to great wretchedness and sin. In the Sermon on the Mount Jesus declared plainly that there could be no dissolution of the marriage tie, except for unfaithfulness to the marriage vow. “Everyone,” He said, “that putteth away his wife, saving for the cause of fornication, maketh her an adulteress: and whosoever shall marry her when she is put away committeth adultery.” R.V. {MB 63.1}
“ผิดบัญญัติหรือไม่ที่ผู้ชายจะขอหย่าภรรยา” (มัทธิว 19:3 TNCV) ในสังคมชาวยิวผู้ชายสามารถหย่าภรรยาได้ด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่อง และผู้หญิงก็มีสิทธิ์ที่จะแต่งงานใหม่ได้ แต่ธรรมเนียมนี้นำไปสู่บาปที่ต่ำช้า ในคำเทศนาบนภูเขาพระเยซูประกาศอย่างชัดเจนว่า จะต้องไม่มีการหย่าร้างเกิดขึ้นนอกจากว่าคู่สมรสคนใดคนหนึ่งนอกใจ “ทุกคนที่หย่าภรรยาเว้นเสียแต่เรื่องผิดศีลธรรมทางเพศ ก็ทำให้ภรรยาผิดประเวณี และผู้ที่รับผู้หญิงที่ถูกหย่าร้างก็ผิดประเวณี” (มัทธิว 19:9 แปลตามฉบับ RV) {MB 63.1}
When the Pharisees afterward questioned Him concerning the lawfulness of divorce, Jesus pointed His hearers back to the marriage institution as ordained at creation. “Because of the hardness of your hearts,” He said, Moses “suffered you to put away your wives: but from the beginning it was not so.” Matthew 19:8. He referred them to the blessed days of Eden, when God pronounced all things “very good.” Then marriage and the Sabbath had their origin, twin institutions for the glory of God in the benefit of humanity. Then, as the Creator joined the hands of the holy pair in wedlock, saying, A man shall “leave his father and his mother, and shall cleave unto his wife: and they shall be one” (Genesis 2:24), He enunciated the law of marriage for all the children of Adam to the close of time. That which the Eternal Father Himself had pronounced good was the law of highest blessing and development for man. {MB 63.2}
ต่อมาเมื่อพวกฟาริสีไต่ถามพระองค์ถึงความผิดความชอบเรื่องการหย่าร้าง พระเยซูทบทวนการสมรสที่สถาปนาตั้งแต่เริ่มแรกสร้างโลกว่า “โมเสสอนุญาตให้ท่านหย่าภรรยาของท่านเพราะใจของท่านทั้งหลายแข็งกระด้าง แต่ไม่ได้เป็นเช่นนี้ตั้งแต่ต้น” (มัทธิว 19:8 TNCV) สมัยที่บรรพบุรุษสุขสำราญในสวนเอเดนและพระเจ้าตรัสว่า ทุกสิ่งล้วนแล้วแต่ “ดีนัก” พระเจ้าสถาปนาการสมรสและวันสะบาโต เป็นสถาบันที่ควบคู่กันมาเพื่อถวายเกียรติแด่พระเจ้าและอำนวยพรแก่มนุษย์ ในวันปฐมวิวาห์พระผู้สร้างทรงประกอบพิธีให้คู่สมรสคู่แรกและตรัสว่า “เพราะเหตุนี้ผู้ชายจะละจากบิดามารดาของตนไปผูกพันกับภรรยา และพวกเขาจะเป็นเนื้อเดียวกัน” (ปฐมกาล 2:24 TNCV) นี่เป็นกฎสมรสให้กับลูกหลานอาดัมตั้งแต่นั้นมาจนอวสานกาล สิ่งที่องค์พระบิดานิรันดร์ประกาศว่าดีคือสัจธรรมที่อำนวยพระพรและช่วยพัฒนามนุษย์อย่างดีที่สุด {MB 63.2}
Like every other one of God’s good gifts entrusted to the keeping of humanity, marriage has been perverted by sin; but it is the purpose of the gospel to restore its purity and beauty. In both the Old and the New Testament the marriage relation is employed to represent the tender and sacred union that exists between Christ and His people, the redeemed ones whom He has purchased at the cost of Calvary. “Fear not,” He says; “thy Maker is thine husband; the Lord of hosts is His name; and thy Redeemer, the Holy One of Israel.” “Turn, O backsliding children, saith the Lord; for I am married unto you.” Isaiah 54:4, 5; Jeremiah 3:14. In the “Song of Songs” we hear the bride’s voice saying, “My Beloved is mine, and I am His.” And He who is to her “the chiefest among ten thousand,” speaks to His chosen one, “Thou art all fair, My love; there is no spot in thee.” Song of Solomon 2:16; 5:10; 4:7. {MB 64.1}
ความบาปได้บิดเบือนความหมายของชีวิตสมรส เหมือนพระพรทั้งหลายที่พระเจ้าประทานให้มนุษย์ แต่จุดประสงค์ของข่าวประเสริฐคือนำการสมรสให้กลับมาสู่ความบริสุทธิ์และสวยงามเหมือนเมื่อครั้งเริ่มแรก ทั้งพระคัมภีร์เดิมและพระคัมภีร์ใหม่ได้ยกตัวอย่างการสมรสมาเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างพระคริสต์กับประชากรของพระองค์ คือผู้ที่พระองค์ทรงไถ่ไว้ด้วยการสิ้นพระชนม์ ณ เนินเขาคาลวารี พระองค์ตรัสว่า “อย่ากลัวเลย เจ้าจะไม่ต้องทนอับอาย อย่ากลัวเลย เจ้าจะไม่ต้องขายหน้า เจ้าจะลืมความอัปยศในวัยสาว และไม่จดจำคำถากถางเรื่องความเป็นม่ายของเจ้าอีก เพราะพระผู้สร้างของเจ้าเป็นสามีของเจ้า” “พระนามของพระองค์คือพระเยโฮวาห์จอมโยธา และองค์บริสุทธิ์ของอิสราเอลเป็นผู้ไถ่ของเจ้า” “‘หันกลับมาเถิด ประชากรที่ไม่ซื่อสัตย์’ องค์พระผู้เป็นเจ้าประกาศดังนี้ ‘เพราะเราเป็นสามีของเจ้า’” (อิสยาห์ 54:4,5 TNCV/ฉบับ ปี 1971; เยเรมีย์ 3:14 TNCV) และในบทเพลงไพเราะของซาโลมอนเราได้ยินเสียงผู้เป็นภรรยากล่าวว่า “ที่รักของดิฉันเป็นกรรมสิทธิ์ของดิฉัน และตัวดิฉันก็เป็นของเขา” ส่วนผู้ที่ “โดดเด่นท่ามกลางคนนับหมื่น” กล่าวแก่ผู้ที่ท่านเลือกไว้ว่า “โอ ที่รักของฉันเอ๋ย เธอช่างงามหมดจดปราศจากตำหนิใดๆ ทั้งสิ้น” (เพลงซาโลมอน 2:16; 5:10; 4:7) {MB 64.1}
In later times Paul the apostle, writing to the Ephesian Christians, declares that the Lord has constituted the husband the head of the wife, to be her protector, the house-band, binding the members of the family together, even as Christ is the head of the church and the Saviour of the mystical body. Therefore he says, “As the church is subject unto Christ, so let the wives be to their own husbands in everything. Husbands, love your wives, even as Christ also loved the church, and gave Himself for it; that He might sanctify and cleanse it with the washing of water by the word, that He might present it to Himself a glorious church, not having spot, or wrinkle, or any such thing; but that it should be holy and without blemish. So ought men to love their wives.” Ephesians 5:24-28. {MB 64.2}
ต่อมาอัครสาวกเปาโลเขียนถึงคริสเตียนในเมืองเอเฟซัสว่า พระเจ้าทรงกำหนดให้สามีเป็นศีรษะของภรรยา เพื่อป้องกันและผูกพันสมาชิกครอบครัวเข้าด้วยกันเหมือนพระคริสต์ทรงเป็นศีรษะและพระผู้ช่วยให้รอดของคริสตจักรอันเปรียบเสมือนร่างกายของพระองค์ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงกล่าวว่า “คริสตจักรยอมเชื่อฟังพระคริสต์อย่างไร ภรรยาก็ควรยอมเชื่อฟังสามีทุกประการอย่างนั้น ส่วนสามีก็จงรักภรรยาของตน เหมือนพระคริสต์ทรงรักคริสตจักร และประทานพระองค์เองเพื่อคริสตจักร เพื่อจะทำให้คริสตจักรบริสุทธิ์โดยการชำระด้วยน้ำและพระวจนะ เพื่อพระองค์จะได้คริสตจักรที่มีศักดิ์ศรี ไม่มีด่างพร้อย ริ้วรอยหรือมลทินใดๆ เลย แต่บริสุทธิ์ปราศจากตำหนิ ในทำนองเดียวกัน สามีต้องรักภรรยาของตนเหมือนรักร่างกายของตัวเอง คนที่รักภรรยาของตัวเองก็รักตัวเองด้วย” (เอเฟซัส 5:24-28) {MB 64.2}
The grace of Christ, and this alone, can make this institution what God designed it should be–an agent for the blessing and uplifting of humanity. And thus the families of earth, in their unity and peace and love, may represent the family of heaven. {MB 65.1}
มีแต่พระคุณของพระคริสต์เท่านั้นสามารถทำให้ชีวิตสมรสเป็นไปตามที่พระองค์ทรงวางแผนไว้ คือเป็นวิถีทางที่จะนำพระพรและเสริมสร้างมนุษยชาติ ฉะนั้นครอบครัวที่มีความสมัครสมานสามัคคี เปี่ยมด้วยความสงบสุขและความรักจึงเป็นตัวแทนของครอบครัวสวรรค์ {MB 65.1}
Now, as in Christ’s day, the condition of society presents a sad comment upon heaven’s ideal of this sacred relation. Yet even for those who have found bitterness and disappointment where they had hoped for companionship and joy, the gospel of Christ offers a solace. The patience and gentleness which His Spirit can impart will sweeten the bitter lot. The heart in which Christ dwells will be so filled, so satisfied, with His love that it will not be consumed with longing to attract sympathy and attention to itself. And through the surrender of the soul to God, His wisdom can accomplish what human wisdom fails to do. Through the revelation of His grace, hearts that were once indifferent or estranged may be united in bonds that are firmer and more enduring than those of earth–the golden bonds of a love that will bear the test of trial. {MB 65.2}
ปัจจุบันไม่ต่างกับสมัยของพระคริสต์ สภาพสังคมเสื่อมไปมากจากอุดมการณ์ของสวรรค์ในเรื่องชีวิตคู่ กระนั้นข่าวประเสริฐของพระคริสต์ยังเป็นกำลังใจให้แม้แต่คนที่พบความขมขื่นและผิดหวัง แทนที่จะพบความสุขสำราญที่เขาฝากความหวังไว้ พระวิญญาณบริสุทธิ์จะประทานความอดทนและความสุภาพอ่อนโยนเพื่อบรรเทาความชอกช้ำระกำใจให้เกิดความชื่นฉ่ำ คนที่มีพระคริสต์สถิตในใจจะรู้สึกเอมอิ่ม มีความพึงพอใจในความรักของพระองค์ และจะไม่หมกมุ่นอยู่กับการเรียกร้องความสนใจ นอกจากนั้น เมื่อมีการมอบใจให้พระเจ้าแล้ว พระองค์จะประทานสติปัญญาให้เขา เพื่อจะสามารถทำให้สำเร็จได้ในสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ถ้าพึ่งสติปัญญาของมนุษย์ เมื่อพระคุณของพระเจ้าปรากฏ ใจคนที่เคยเฉยเมยต่อกันอาจประสานเข้ากันด้วยสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกว่าสายสัมพันธ์ของมนุษย์ คือสายสัมพันธ์แห่งความรักที่จะทนต่อความทุกข์ยากลำบากได้ {MB 65.2}
“Swear not at all.” Matthew 5:34. The reason for this command is given: We are not to swear “by the heaven, for it is the throne of God; nor by the earth, for it is the footstool of His feet; nor by Jerusalem, for it is the city of the great King. Neither shalt thou swear by thy head, for thou canst not make one hair white or black.” R.V. {MB 66.1}
“อย่าสาบานเลย” (มัทธิว 5:34) เหตุผลของพระบัญชาข้อนี้อยู่ในคำอธิบาย พระองค์ไม่ให้เราสบถสาบาน “โดยอ้างถึงสวรรค์ เพราะสวรรค์เป็นที่ประทับของพระเจ้า หรืออ้างถึงแผ่นดินโลก เพราะแผ่นดินโลกเป็นที่รองพระบาทของพระเจ้า หรืออ้างถึงกรุงเยรูซาเล็ม เพราะกรุงเยรูซาเล็มเป็นราชธานีของพระมหากษัตริย์ อย่าสาบานโดยอ้างถึงศีรษะของตน เพราะท่านจะทำให้ผมขาวหรือดำไปสักเส้นหนึ่งก็ไม่ได้” (มัทธิว 5:34-36) {MB 66.1}
All things come of God. We have nothing that we have not received; and, more than this, we have nothing that has not been purchased for us by the blood of Christ. Everything we possess comes to us stamped with the cross, bought with the blood that is precious above all estimate, because it is the life of God. Hence there is nothing that we have a right to pledge, as if it were our own, for the fulfillment of our word. {MB 66.2}
ทุกสิ่งล้วนแต่มาจากพระเจ้า ไม่มีอะไรที่เราไม่ได้รับมา และยิ่งไปกว่านั้น เราไม่มีอะไรที่ได้มาโดยไม่ผ่านการทรงไถ่ด้วยพระโลหิตของพระคริสต์ ทุกสิ่งที่เรามีล้วนแต่มาถึงเราด้วยตราประทับจากไม้กางเขนของพระคริสต์ และซื้อด้วยพระโลหิตของพระองค์ที่มีค่าเหลือประมาณเพราะเป็นชีวิตของพระเจ้า แล้วเราจะอ้างอะไรมาเพื่อรับประกันการสาบานของเราได้ในเมื่อของที่เรามีไม่ได้เป็นของเรา {MB 66.2}
The Jews understood the third commandment as prohibiting the profane use of the name of God; but they thought themselves at liberty to employ other oaths. Oath taking was common among them. Through Moses they had been forbidden to swear falsely, but they had many devices for freeing themselves from the obligation imposed by an oath. They did not fear to indulge in what was really profanity, nor did they shrink from perjury so long as it was veiled by some technical evasion of the law. {MB 66.3}
พระบัญญัติข้อที่สามได้ห้ามไว้ “อย่าออกพระนามพระเจ้าของเจ้าอย่างไม่สมควร” (อพยพ 20:3 ฉบับปี 1971) ส่วนชาวยิวเข้าใจว่า ข้อนี้ห้ามไม่ให้ออกพระนามของพระเจ้าในการอุทานหรือการพูดหยาบโลน แต่ถือว่าพวกเขามีสิทธิ์อ้างพระนามของพระองค์ได้ในการให้คำสัตย์ปฏิญาณ ในสมัยนั้นการสาบานถือเป็นเรื่องปกติ กฎของโมเสสเคยห้ามไว้ไม่ให้สาบานเท็จ แต่พวกเขาหาช่องโหว่ที่จะหลีกเลี่ยง ไม่ปฏิบัติตามสิ่งที่ปฏิญานไว้ พวกเขาไม่กลัวที่จะกล่าวจาบจ้วง อ้างฟ้าอ้างดิน แม้จะโป้ปดมดเท็จปั้นน้ำให้เป็นตัวก็ไม่กลัวตราบใดที่มีช่องโหว่ให้หลบหลีก {MB 66.3}
Jesus condemned their practices, declaring that their custom in oath taking was a transgression of the commandment of God. Our Saviour did not, however, forbid the use of the judicial oath, in which God is solemnly called to witness that what is said is truth and nothing but the truth. Jesus Himself, at His trial before the Sanhedrin, did not refuse to testify under oath. The high priest said unto Him, “I adjure Thee by the living God, that Thou tell us whether Thou be the Christ, the Son of God.” Jesus answered, “Thou hast said.” Matthew 26:63, 64. Had Christ in the Sermon on the Mount condemned the judicial oath, He would at His trial have reproved the high priest and thus, for the benefit of His followers, have enforced His own teaching. {MB 66.4}
พระเยซูทรงประณามพฤติกรรมของชาวยิว ทรงอธิบายว่า การสาบานนั้นเป็นการทำผิดต่อพระบัญญัติของพระเจ้า ในเรื่องนี้พระเยซูไม่ได้ห้ามการสาบานตนในชั้นศาล ที่มีการน้อมขอให้พระเจ้าทรงเป็นพยานว่าสิ่งที่จะกล่าวนั้นล้วนแต่เป็นความจริง พระเยซูเองเมื่ออยู่ต่อหน้าสภาแซนเฮดรินไม่ได้ปฏิเสธที่จะให้การภายใต้คำสาบาน มหาปุโรหิตกล่าวต่อพระองค์ว่า “เราให้เจ้าสาบานโดยอ้างพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่ให้บอกเราว่าเจ้าเป็นพระคริสต์ พระบุตรของพระเจ้าหรือไม่” พระเยซูตรัสตอบเขาว่า “ใช่อย่างที่ท่านพูด” (มัทธิว 26:63-64 TSV/TNCV) ถ้าในคำเทศนาบนภูเขาพระเยซูไม่ให้สาบานในศาล พระองค์คงได้ตำหนิมหาปุโรหิตที่ให้สาบาน เพื่อประโยชน์ให้สาวกของพระองค์ และเพื่อเป็นการย้ำถึงคำสอนของพระองค์ {MB 66.4}
There are very many who do not fear to deceive their fellow men, but they have been taught, and have been impressed by the Spirit of God, that it is a fearful thing to lie to their Maker. When put under oath they are made to feel that they are not testifying merely before men, but before God; that if they bear false witness, it is to Him who reads the heart and who knows the exact truth. The knowledge of the fearful judgments that have followed this sin has a restraining influence upon them. {MB 67.1}
มีคนมากมายที่ไม่กลัวที่จะหลอกเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ในขณะที่ถูกสอน มิหนำซ้ำพระวิญญาณบริสุทธิ์ยังดลใจว่า ที่จะโกหกพระเจ้าผู้ทรงสร้างนั้นเป็นสิ่งที่น่ากลัวยิ่งนัก เมื่อสาบานในศาลเขาจึงมีความเกรงกลัวต่อบาป เพราะไม่ได้ให้การต่อหน้ามนุษย์อย่างเดียว แต่ต่อหน้าพระพักตร์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า ถ้าจะให้การเท็จ พระองค์ทรงล่วงรู้ถึงส่วนลึกของจิตใจ และทรงทราบข้อเท็จจริงอย่างถ่องแท้ นอกจากนั้นก็ยังมีตัวอย่างของคนที่ ‘กรรมตอบสนอง’ ที่ช่วยรั้งเขาไว้จากบาปของการให้การเท็จ {MB 67.1}
But if there is anyone who can consistently testify under oath, it is the Christian. He lives constantly as in the presence of God, knowing that every thought is open to the eyes of Him with whom we have to do; and when required to do so in a lawful manner, it is right for him to appeal to God as a witness that what he says is the truth, and nothing but the truth. {MB 67.2}
แต่ถ้ามีใครกลุ่มใดที่สามารถให้การในศาลภายใต้คำสาบานอยู่ในทุกสถานการณ์ คนเหล่านั้นคงจะเป็นคริสเตียน เพราะเขาดำรงชีวิตเฉพาะพระพักตร์พระเจ้า โดยตระหนักว่า ทุกความคิดเปิดแจ้งต่อพระองค์ “ผู้ซึ่งเราทั้งหลายต้องกราบทูลรายงาน” (ฮีบรู 4:13 TNCV) เมื่อต้องให้การตามกฎหมาย ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่จะขอให้พระเจ้าเป็นพยานว่า สิ่งที่จะพูดเป็นความจริงทั้งสิ้น {MB 67.2}
Jesus proceeded to lay down a principle that would make oath taking needless. He teaches that the exact truth should be the law of speech. “Let your speech be, Yea, yea; Nay, nay: and whatsoever is more than these is of the evil one.” R.V. {MB 67.3}
หลังจากนั้นพระเยซูทรงชี้ให้เห็นว่าการสาบานเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น ถ้าเราเพียงแต่พูดเฉพาะความจริง โดยตรัสว่า “จริงก็ว่าจริง ไม่ก็ว่าไม่ คำพูดที่เกินกว่านี้มาจากความชั่ว” {MB 67.3}
These words condemn all those meaningless phrases and expletives that border on profanity. They condemn the deceptive compliments, the evasion of truth, the flattering phrases, the exaggerations, the misrepresentations in trade, that are current in society and in the business world. They teach that no one who tries to appear what he is not, or whose words do not convey the real sentiment of his heart, can be called truthful. {MB 68.1} If these words of Christ were heeded, they would check the utterance of evil surmising and unkind criticism; for in commenting upon the actions and motives of another, who can be certain of speaking the exact truth? How often pride, passion, personal resentment, color the impression given! A glance, a word, even an intonation of the voice, may be vital with falsehood. Even facts may be so stated as to convey a false impression. And “whatsoever is more than” truth, “is of the evil one.” {MB 68.2}
ถ้าคนทั้งหลายได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระคริสต์ในเรื่องนี้ คงป้องกันการกล่าวร้ายและการระแวงต่อกัน เพราะมีใครบ้างเมื่อพูดถึงการกระทำหรือเหตุผลของคนอื่น แล้วแน่ใจว่าเขาพูดแต่ความเป็นจริงเท่านั้น มีบ่อยครั้งที่เรารู้สึกได้ถึงความเย่อหยิ่งและอคติของเราเองจึงเป็นเหตุบิดเบือนข้อเท็จจริง เพราะการเลือกถ้อยคำ การใช้สายตาหรือน้ำเสียงที่เต็มไปด้วยความเท็จ แม้แต่ข้อเท็จจริงก็สามารถกล่าวในวิธีที่จะทำให้คนฟังเข้าใจผิดได้ เพราะ “คำพูดที่เกินกว่า” ความจริง “ก็มาจากมาร” (มัทธิว 5:37 TSV/TNCV) {MB 68.2}
Everything that Christians do should be as transparent as the sunlight. Truth is of God; deception, in every one of its myriad forms, is of Satan; and whoever in any way departs from the straight line of truth is betraying himself into the power of the wicked one. Yet it is not a light or an easy thing to speak the exact truth. We cannot speak the truth unless we know the truth; and how often preconceived opinions, mental bias, imperfect knowledge, errors of judgment, prevent a right understanding of matters with which we have to do! We cannot speak the truth unless our minds are continually guided by Him who is truth. {MB 68.3}
การกระทำของคริสเตียนทุกอย่างควรโปร่งใสเหมือนแสงอาทิตย์ ความจริงมาจากพระเจ้า การหลอกลวงที่มาในหลากหลายรูปแบบล้วนมาจากซาตาน ใครก็ตามที่เบนเบี่ยงไปจากทางแห่งความจริงที่ซื่อตรงก็ตกเป็นเหยื่อของมารร้าย แต่การที่จะพูดแต่ความจริงนั้น ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ มันเป็นการไม่ง่ายที่จะพูดอย่างถูกต้องแม่นยำ เพราะเราจะพูดความจริงไม่ได้ถ้าเราไม่รู้ความจริง บ่อยครั้งเราสรุปไปล่วงหน้า หรือมีอคติไปก่อน ได้ข้อมูลไม่ครบและตัดสินผิดพลาด จึงไม่สามารถเข้าใจอย่างถูกต้องแม้แต่ในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรา เราจะพูดความจริงไม่ได้ นอกเสียจากว่าพระเจ้าผู้ทรงเป็นความจริงนั้นทรงนำความคิดของเราตลอดเวลา {MB 68.3}
Through the apostle Paul, Christ bids us, “Let your speech be alway with grace.” “Let no corrupt communication proceed out of your mouth, but that which is good to the use of edifying, that it may minister grace unto the hearers.” Colossians 4:6; Ephesians 4:29. In the light of these scriptures the words of Christ upon the mount are seen to condemn jesting, trifling, and unchaste conversation. They require that our words should be not only truthful, but pure. {MB 68.4}
พระคริสต์ทรงกำชับเราผ่านอัครสาวกเปาโลว่า “จงให้ถ้อยคำของท่านทั้งหลายประกอบด้วยเมตตาคุณเสมอ” “อย่าให้คำเลวร้ายออกจากปากของท่านทั้งหลาย แต่จงกล่าวคำดีๆ ที่เสริมสร้างและที่เหมาะกับความต้องการ เพื่อจะได้เป็นคุณแก่คนที่ได้ยิน” (โคโลสี 4:6; เอเฟซัส 4:29) เมื่อเราพิจารณาคำเทศนาบนภูเขาด้วยคำสอนของข้อพระคัมภีร์สองข้อนี้แล้ว แสดงว่าพระคริสต์ทรงห้ามไม่ให้ล้อเล่นไม่เป็นเรื่อง พูดไร้สาระหรือคำหยาบคาย แต่ให้คำพูดนั้นบริสุทธิ์และเป็นความจริง {MB 68.4}
Those who have learned of Christ will “have no fellowship with the unfruitful works of darkness.” Ephesians 5:11. In speech, as in life, they will be simple, straightforward, and true; for they are preparing for the fellowship of those holy ones in whose mouth “was found no guile.” Revelation 14:5. {MB 69.1}
ผู้ที่ได้เรียนรู้จากพระคริสต์จะไม่ “มีส่วนในกิจการของความมืดที่ไร้ผล” (เอเฟซัส 5:11) ชีวิตและคำพูดจะเรียบง่าย ตรงไปตรงมา และเป็นความจริง เพราะเขากำลังเตรียมที่จะอยู่ท่ามกลางผู้บริสุทธิ์ ซึ่ง “ไม่พบความเท็จ” ในปากของพวกเขา (วิวรณ์ 14:5) {MB 69.1}
“Resist not him that is evil: but whosoever smiteth thee on thy right cheek, turn to him the other also.” Matthew 5:39, R.V. Occasions of irritation to the Jews were constantly arising from their contact with the Roman soldiery. Detachments of troops were stationed at different points throughout Judea and Galilee, and their presence reminded the people of their own degradation as a nation. With bitterness of soul they heard the loud blast of the trumpet and saw the troops forming around the standard of Rome and bowing in homage to this symbol of her power. Collisions between the people and the soldiers were frequent, and these inflamed the popular hatred. Often as some Roman official with his guard of soldiers hastened from point to point, he would seize upon the Jewish peasants who were laboring in the field and compel them to carry burdens up the mountainside or render any other service that might be needed. This was in accordance with the Roman law and custom, and resistance to such demands only called forth taunts and cruelty. Every day deepened in the hearts of the people the longing to cast off the Roman yoke. Especially among the bold, rough-handed Galileans the spirit of insurrection was rife. Capernaum, being a border town, was the seat of a Roman garrison, and even while Jesus was teaching, the sight of a company of soldiers recalled to His hearers the bitter thought of Israel’s humiliation. The people looked eagerly to Christ, hoping that He was the One who was to humble the pride of Rome. {MB 69.2}
“อย่าต่อสู้คนชั่ว ถ้าใครตบแก้มขวาของท่านก็จงหันแก้มอีกข้างหนึ่งให้เขาด้วย” (มัทธิว 5:39) มีเหตุขุ่นเคืองใจเกิดขึ้นบ่อยๆ เพราะการที่ชาวยิวต้องเกี่ยวข้องกับทหารโรมัน มีกองกำลังตั้งเป็นจุดๆ กระจายอยู่ทั่วแค้วนยูเดียกับแคว้นกาลิลี เมื่อประชาชนเห็นทหารโรมันก็ระลึกถึงความตกต่ำของประเทศชาติบ้านเมือง เมื่อมีการเป่าแตรเรียกทหารเข้าประจำการใต้ธงชาติโรมและก้มคำนับต่อสัญลักษณ์ของอำนาจจักรพรรดิโรมนั้นสร้างความขุ่นเคืองใจไม่น้อย เกิดเหตุพิพาทขึ้นระหว่างประชาชนกับทหารบ่อยๆ ซึ่งปลุกเร้าให้ประชาชนเกิดความจงเกลียดจงชัง บ่อยครั้งที่นายทหารโรมันพร้อมด้วยพรรคพวกบริวารเดินทางไปเพื่อจะจับและเกณฑ์ให้ชาวนาแบกหามสัมภาระขึ้นเขา หรือทำงานตรากตรำอื่นๆ ตามแต่นายต้องการ นี่ก็เป็นไปตามกฎและธรรมเนียมของชาวโรมัน ซึ่งถ้าขืนขัดข้องก็คงโดนทำร้ายและถูกเยาะเย้ย ความรู้สึกของประชาชนที่อยากหลุดพ้นจากแอกของโรมก็เพิ่มทวีขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางชาวกาลิลีใจกล้าที่พร้อมจะกบฎอยู่แล้ว เมืองคาเปอรนาอุมตั้งอยู่ชายแดนและเป็นที่ตั้งของกองทหารรักษาการของโรม ขณะที่พระเยซูสอนอยู่นั้น ประชาชนก็สามารถมองเห็นกองทหารอยู่แต่ไกลซึ่งทิ่มแทงใจให้ระลึกถึงความอับอายที่แสนระทมของชาติอิสราเอล ประชาชนหันไปมองพระคริสต์ ใจจดจ่อหวังว่าพระองค์จะเป็นผู้กำราบปราบปรามความหยิ่งยโสของพวกโรมัน {MB 69.2}
With sadness Jesus looks into the upturned faces before Him. He notes the spirit of revenge that has stamped its evil imprint upon them, and knows how bitterly the people long for power to crush their oppressors. Mournfully He bids them, “Resist not him that is evil: but whosoever smiteth thee on thy right cheek, turn to him the other also.” {MB 70.1}
พระเยซูทรงสลดพระทัยเมื่อทอดพระเนตรใบหน้าประชาชนที่เงยขึ้นหาพระองค์ สีหน้าแต่ละคนประทับรอยความชั่วอยู่ พระองค์ทรงรู้ว่าแต่ละคนต้องการอำนาจเพื่อจะไปบดขยี้ผู้ที่บีบบังคับพวกเขา แต่พระองค์ตรัสด้วยน้ำเสียงที่เป็นทุกข์ว่า “อย่าต่อสู้คนชั่ว ถ้าใครตบแก้มขวาของท่านก็จงหันแก้มอีกข้างหนึ่งให้เขาด้วย” {MB 70.1}
These words were but a reiteration of the teaching of the Old Testament. It is true that the rule, “Eye for eye, tooth for tooth” (Leviticus 24:20), was a provision in the laws given through Moses; but it was a civil statute. None were justified in avenging themselves, for they had the words of the Lord: “Say not thou, I will recompense evil.” “Say not, I will do so to him as he hath done to me.” “Rejoice not when thine enemy falleth.” “If he that hateth thee be hungry, give him bread to eat; and if he be thirsty, give him water to drink.” Proverbs 20:22; 24:29, 17; Proverbs 25:21, 22, R.V., margin. {MB 70.2}
ถ้อยคำเหล่านี้เป็นเพียงการทบทวนคำสอนจากพระคัมภีร์เดิม จริงอยู่มีกฎของโมเสสข้อหนึ่งว่า “ตาแทนตา ฟันแทนฟัน” (เลวีนิติ 24:20) แต่นั่นเป็นกฎฝ่ายพลเรือน จะไม่สามารถอ้างข้อนี้เพื่อทำการแก้แค้น เพราะมีพระคำของพระเจ้าหลายข้อที่กล่าวถึงเรื่องนี้ เช่น “อย่าพูดว่า ‘ข้าจะแก้แค้นความชั่ว’” “อย่ากล่าวว่า ‘ข้าจะทำแก่เขาอย่างที่เขาได้ทำแล้วแก่ข้า’” “อย่าเปรมปรีดิ์เมื่อศัตรูของเจ้าล้ม” “ถ้าศัตรูของเจ้าหิว จงให้อาหารเขากิน และถ้าเขากระหาย จงให้น้ำเขาดื่ม” (สุภาษิต 20:22; 24:29, 17; 25:21-22) {MB 70.2}
The whole earthly life of Jesus was a manifestation of this principle. It was to bring the bread of life to His enemies that our Saviour left His home in heaven. Though calumny and persecution were heaped upon Him from the cradle to the grave, they called forth from Him only the expression of forgiving love. Through the prophet Isaiah He says, “I gave My back to the smiters, and My cheeks to them that plucked off the hair: I hid not My face from shame and spitting.” “He was oppressed, and He was afflicted, yet He opened not His mouth: He is brought as a lamb to the slaughter, and as a sheep before her shearers is dumb, so He openeth not His mouth.” Isaiah 50:6; 53:7. And from the cross of Calvary there come down through the ages His prayer for His murderers and the message of hope to the dying thief. {MB 71.1}
ชีวิตทั้งหมดของพระเยซูบนโลกนี้ได้แสดงออกถึงหลักการดังกล่าว พระผู้ช่วยให้รอดได้ออกจากสวรรค์เพื่อแบ่งปันอาหารแห่งชีวิตให้ศัตรูของพระองค์ แม้มีคนกดขี่ข่มเหงและใส่ร้ายป้ายสีตั้งแต่แรกที่เกิดมา แต่พระองค์ตอบสนองเขาด้วยความรักและการให้อภัยเท่านั้น พระองค์ตรัสผ่านผู้เผยพระวจนะอิสยาห์ว่า “ข้าพเจ้าเปิดหลังให้ผู้โบยตีข้าพเจ้า และหันแก้มแก่คนดึงเคราข้าพเจ้าออก ข้าพเจ้าไม่ได้ซ่อนหน้าจากการเยาะเย้ยและการถ่มน้ำลายรด” “ท่านถูกบีบบังคับและถูกข่มใจ ถึงกระนั้นท่านก็ไม่ปริปาก เหมือนลูกแกะที่ถูกนำไปฆ่า และเหมือนแกะที่เป็นใบ้ต่อหน้าผู้ตัดขนของมันเช่นใด ท่านก็ไม่ปริปากของท่านเช่นนั้น” (อิสยาห์ 50:6; 53:7) นอกจากนั้นคำอธิษฐานของพระองค์บนไม้กางเขน ที่อธิษฐานขอให้พระเจ้ายกโทษผู้ที่ปลงพระชนม์พระองค์ กับความหวังที่พระองค์ให้โจรผู้นั้นเป็นบทเรียนที่สืบทอดกันมาจนถึงพวกเรา {MB 71.1}
The Father’s presence encircled Christ, and nothing befell Him but that which infinite love permitted for the blessing of the world. Here was His source of comfort, and it is for us. He who is imbued with the Spirit of Christ abides in Christ. The blow that is aimed at him falls upon the Saviour, who surrounds him with His presence. Whatever comes to him comes from Christ. He has no need to resist evil, for Christ is his defense. Nothing can touch him except by our Lord’s permission, and “all things” that are permitted “work together for good to them that love God.” Romans 8:28. {MB 71.2}
การสถิตอยู่ของพระบิดาโอบล้อมพระผู้ไถ่ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับพระเยซูนอกจากที่พระเจ้าแห่งความรักทรงอนุญาตให้เกิดเพื่อเป็นพระพรให้แก่ชาวโลก พระคริสต์พอพระทัยเมื่อทรงพิจารณาถึงข้อนี้ และเราก็ควรจะมีความสุขเช่นกัน ผู้ที่ได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระคริสต์ก็เข้าสนิทกับพระองค์ สิ่งเลวร้ายที่จะมากระทบเขาก็ไปกระทบพระผู้ช่วยให้รอดแทน เพราะพระองค์ระแวดระวังเขาอยู่ทั้งหน้าทั้งหลัง ทุกสิ่งที่กระทบเขาก็มาจากพระคริสต์ เขาไม่จำเป็นต่อสู้กับความชั่วร้าย เพราะพระคริสต์ทรงเป็นแนวป้องกันของเขา ไม่มีอะไรที่จะแตะต้องเขาได้นอกจากที่พระองค์จะอนุญาต และ “ทุกอย่าง” ที่ทรงอนุญาตนั้น ล้วนแต่ “ก่อผลดีแก่คนที่รักพระเจ้า” (โรม 8:28) {MB 71.2}
“If any man would go to law with thee, and take away thy coat [tunic], let him have thy cloak [mantle] also. And whosoever shall impress thee to go one mile, go with him twain.” R.V., margin. {MB 71.3}
“ถ้าใครต้องการจะฟ้องศาล เพื่อจะปรับเอาเสื้อของท่านไป จงสละเสื้อคลุมให้เขาด้วย ถ้าใครจะเกณฑ์ท่านให้เดินทางไปหนึ่งกิโลเมตร ก็ให้เลยไปกับเขาถึงสองกิโลเมตร” (มัทธิว 5:40-41) {MB 71.3}
Jesus bade His disciples, instead of resisting the demands of those in authority, to do even more than was required of them. And, so far as possible, they should discharge every obligation, even if it were beyond what the law of the land required. The law, as given through Moses, enjoined a very tender regard for the poor. When a poor man gave his garment as a pledge, or as security for a debt, the creditor was not permitted to enter the dwelling to obtain it; he must wait in the street for the pledge to be brought to him. And whatever the circumstances the pledge must be returned to its owner at nightfall. Deuteronomy 24:10-13. In the days of Christ these merciful provisions were little regarded; but Jesus taught His disciples to submit to the decision of the court, even though this should demand more than the law of Moses authorized. Though it should demand a part of their raiment, they were to yield. More than this, they were to give to the creditor his due, if necessary surrendering even more than the court gave him authority to seize. “If any man would go to law with thee,” He said, “and take away thy coat, let him have thy cloak also.” R.V. And if the couriers require you to go a mile with them, go two miles. {MB 72.1}
พระเยซูทรงสอนสาวกว่า เมื่อผู้มีอำนาจสั่งประการใด แทนที่จะขัดขืน ให้ทำยิ่งกว่าที่เขาสั่ง และเท่าที่เป็นไปได้ให้ทำหน้าที่พลเรือนมากกว่าที่กฎหมายบังคับ ส่วนบัญญัติโมเสสนั้นสอนให้เอาใจใส่คนยากจน เมื่อคนจนเอาเสื้อผ้าเป็นค่าประกันหรือค่ามัดจำ เจ้าหนี้ไม่ได้รับอนุญาตที่จะบุกเข้าไปในบ้านเพื่อเอาเสื้อผ้าตัวนั้น แต่ต้องรออยู่ข้างนอกที่ถนนให้ลูกหนี้เข้าไปเอามาให้ และไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม เจ้าหนี้จะต้องคืนค่ามัดจำดังกล่าวก่อนค่ำคืนนั้น (ดูเฉลยธรรมบัญญัติ 24:10-13) ในสมัยพระคริสต์ประชาชนไม่ได้ใส่ใจในข้อบังคับต่างๆ ที่สอนเรื่องความเมตตาเท่าใดนัก ฝ่ายพระเยซูสอนให้สาวกยอมต่อคำตัดสินของศาล แม้จะต้องทำในสิ่งที่มากกว่าที่บัญญัติของโมเสสสั่งไว้ แม้กระทั่งจะต้องเสียเสื้อผ้าปกคลุมกายส่วนหนึ่งไปก็ให้ยอม และยิ่งไปกว่านั้น ให้คืนเจ้าหนี้ตามที่เขาควรจะได้รับ ถ้าจำเป็นก็ให้ยอมเสียมากกว่าที่ศาลอนุญาตให้เขายึด “ถ้าใครต้องการจะฟ้องศาล เพื่อจะปรับเอาเสื้อของท่านไป จงสละเสื้อคลุมให้เขาด้วย ถ้าใครจะเกณฑ์ท่านให้เดินทางไปหนึ่งกิโลเมตร ก็ให้เลยไปกับเขาถึงสองกิโลเมตร” (มัทธิว 5:40-41) {MB 72.1}
Jesus added, “Give to him that asketh thee, and from him that would borrow of thee turn not thou away.” The same lesson had been taught through Moses: “Thou shalt not harden thine heart, nor shut thine hand from thy poor brother: but thou shalt open thine hand wide unto him, and shalt surely lend him sufficient for his need, in that which he wanteth.” Deuteronomy 15:7, 8. This scripture makes plain the meaning of the Saviour’s words. Christ does not teach us to give indiscriminately to all who ask for charity; but He says, “Thou shalt surely lend him sufficient for his need;” and this is to be a gift, rather than a loan; for we are to “lend, hoping for nothing again.” Luke 6:35. “Who gives himself with his alms feeds three, Himself, his hungering neighbor, and Me.” {MB 72.2}
พระเยซูทรงเพิ่มเติมว่า “ถ้าเขาจะขอสิ่งใดจากท่าน ก็จงให้ อย่าเมินหน้าจากผู้ที่ต้องการขอยืมจากท่าน” อันนี้เป็นบทเรียนเดียวกับที่โมเสสเคยสอน “ท่านอย่ามีใจแข็ง อย่าหดมือของท่านไว้เสียจากพี่น้องของท่านที่ยากจนนั้น แต่ท่านจงยื่นมือของท่านให้เขา และให้เขายืมจนพอแก่ความต้องการของเขาที่เขาขาดอยู่นั้น” (เฉลยธรรมบัญญัติ 15:7-8) ข้อนี้ช่วยอธิบายความหมายที่พระเยซูสอนได้อย่างชัดเจน พระองค์ไม่ได้สอนให้เราบริจาคเรื่อยเปื่อยแก่ทุกคนที่ขอ แต่ตรัสว่า “ให้เขายืมจนพอแก่ความต้องการของเขาที่เขาขาดอยู่นั้น” และควรเป็นการให้ไม่ใช่เป็นการยืม เพราะพระองค์สอนเราว่า “ให้เขายืมโดยไม่หวังจะได้อะไรคืนมา” (ลูกา 6:35 TNCV) {MB 72.2}
“Love your enemies.” Matthew 5:44. The Saviour’s lesson, “Resist not him that is evil,” was a hard saying for the revengeful Jews, and they murmured against it among themselves. But Jesus now made a still stronger declaration: {MB 73.1}
[**poem เมื่อสละตนช่วยผู้ยากไร้ ที่แท้ช่วยสามฝ่ายให้รับดี หนึ่งพระคริสต์สองเพื่อนบ้านพรทวี สามพรนี้กลับมีแก่ผู้ให้เอง ] {MB 73.1}
“Ye have heard that it hath been said, Thou shalt love thy neighbor, and hate thine enemy. But I say unto you, Love your enemies, bless them that curse you, do good to them that hate you, and pray for them which despitefully use you and persecute you; that ye may be the children of your Father which is in heaven.” {MB 73.2}
“จงรักศัตรูของท่าน” (มัทธิว 5:44) บทเรียนของพระเยซูว่า “อย่าต่อสู้คนชั่ว” เป็นถ้อยคำที่ฟังยากสำหรับชาวยิวที่มีความเคียดแค้น เมื่อได้ยินพระองค์ตรัสดังนั้นพวกเขาจึงบ่นพึมพำกัน แต่บัดนี้พระเยซูสั่งสอนสิ่งที่หนักกว่านั้นอีก {MB 73.2}
Such was the spirit of the law which the rabbis had misinterpreted as a cold and rigid code of exactions. They regarded themselves as better than other men, and as entitled to the special favor of God by virtue of their birth as Israelites; but Jesus pointed to the spirit of forgiving love as that which would give evidence that they were actuated by any higher motives than even the publicans and sinners, whom they despised. {MB 73.3}
“ท่านทั้งหลายได้ยินคำซึ่งกล่าวไว้ว่า ‘จงรักเพื่อนบ้านของท่าน และเกลียดชังศัตรูของท่าน’ แต่เราบอกพวกท่านว่า จงรักศัตรูของท่าน และจงอธิษฐานเพื่อบรรดาคนที่ข่มเหงพวกท่าน เพื่อว่าพวกท่านจะเป็นบุตรของพระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์” (มัทธิว 5:43-44) {MB 73.3}
He pointed His hearers to the Ruler of the universe, under the new name, “Our Father.” He would have them understand how tenderly the heart of God yearned over them. He teaches that God cares for every lost soul; that “like as a father pitieth his children, so the Lord pitieth them that fear Him.” Psalm 103:13. Such a conception of God was never given to the world by any religion but that of the Bible. Heathenism teaches men to look upon the Supreme Being as an object of fear rather than of love–a malign deity to be appeased by sacrifices, rather than a Father pouring upon His children the gift of His love. Even the people of Israel had become so blinded to the precious teaching of the prophets concerning God that this revelation of His paternal love was as an original subject, a new gift to the world. {MB 74.1}
พระเยซูทรงแนะนำให้ผู้ฟังรู้จักพระเจ้าผู้ทรงครอบครองจักรวาลด้วยพระนามใหม่ คือ “พระบิดาของเรา” เพื่อให้เข้าใจว่าพระเจ้าทรงรักทรงเอ็นดูพวกเขา พระเจ้าทรงห่วงใยคนที่หลงผิดทุกคน ตามที่กล่าวอ้างในพระคัมภีร์ว่า “บิดาสงสารบุตรของตนฉันใด พระเจ้าทรงสงสารบรรดาคนที่ยำเกรงพระองค์ฉันนั้น” (สดุดี 103:13 ฉบับปี 1971) มนุษย์ชาติไม่เคยได้รับรู้ภาพลักษณ์ของพระเจ้าเช่นนี้จากศาสนาอื่นนอกจากคำสอนในพระคัมภีร์ มีลัทธิคำสอนมากมายที่สอนให้นับถือพระเจ้าผู้สูงสุดเนื่องด้วยความกลัวแทนที่จะยำเกรงพระองค์เพราะความรัก ต้องคอยหมั่นสังเวย ทำพิธีบวงสรวงถวายบูชาพระของเขา ซึ่งภาพนี้ตรงกันข้ามกับคำสอนของพระคัมภีร์ที่เราเห็นพระบิดาผู้ทรงประทานแก่บุตรทั้งหลายของพระองค์ด้วยความรัก แม้แต่ชนชาติอิสราเอลเองก็ตาบอดไม่เข้าใจคำสอนอันประเสริฐของผู้เผยพระวจนะว่าพระเจ้าทรงเป็นพระบิดาผู้เปี่ยมด้วยความรัก จนคำสอนของพระองค์เหมือนเรื่องใหม่ เป็นของประทานใหม่ให้กับมนุษย์ {MB 74.1}
The Jews held that God loved those who served Him,–according to their view, those who fulfilled the requirements of the rabbis,–and that all the rest of the world lay under His frown and curse. Not so, said Jesus; the whole world, the evil and the good, lies in the sunshine of His love. This truth you should have learned from nature itself; for God “maketh His sun to rise on the evil and on the good, and sendeth rain on the just and on the unjust.” {MB 74.2}
ชาวยิวถือว่าพระเจ้าทรงรักผู้ที่รับใช้พระองค์ด้วยการทำตามข้อบังคับของพวกธรรมาจารย์ ส่วนมนุษย์คนอื่นล้วนแต่ตกอยู่ภายใต้คำสาปแช่ง แต่พระเยซูสอนว่า มิใช่เช่นนั้น มนุษย์ทั้งโลกไม่ว่าจะเป็นคนดีหรือคนชั่วก็ได้รับแสงแห่งความรักของพระองค์เช่นกัน ดังบทเรียนนี้ที่น่าจะได้รับจากธรรมชาติ “เพราะว่าพระองค์ทรงให้ดวงอาทิตย์ของพระองค์ขึ้นส่องสว่างแก่คนดีและคนชั่วเสมอกัน และให้ฝนตกแก่คนชอบธรรมและคนอธรรม” (มัทธิว 5:45) {MB 74.2}
It is not because of inherent power that year by year the earth produces her bounties and continues her motion round the sun. The hand of God guides the planets and keeps them in position in their orderly march through the heavens. It is through His power that summer and winter, seedtime and harvest, day and night follow each other in their regular succession. It is by His word that vegetation flourishes, that the leaves appear and the flowers bloom. Every good thing we have, each ray of sunshine and shower of rain, every morsel of food, every moment of life, is a gift of love. {MB 74.3}
ไม่ใช่ว่าธรรมชาติมีพลังอำนาจในตัวมันเอง โลกจึงโคจรรอบดวงอาทิตย์และอำนวยผลผลิตมากมายทุกปี ฤทธิ์อำนาจของพระเจ้าต่างหากที่ทรงนำการโคจรของดวงดาว ทรงจัดทางเดินไว้ให้ดาวแต่่ละดวงอย่างเป็นระเบียบ ด้วยฤทธานุภาพของพระองค์จึงมีฤดูกาลต่างๆ มีร้อนมีหนาว มีฝนมีแล้ง กลางวันกลางคืน มีฤดูหว่านและฤดูเกี่ยว สลับกันไปตามลำดับ พืชผักงอกงามด้วยพระดำรัสสั่ง ใบผลิและดอกบานก็ด้วยพระคำของพระองค์ สิ่งดีทั้งปวงที่เรามี ฝนที่โปรยลงมารดแผ่นดิน ลำแสงทั้งมวล อาหารทุกคำ ทุกเวลานาทีของชีวิต ล้วนเป็นของประทานแห่งความรัก {MB 74.3}
While we were yet unloving and unlovely in character, “hateful, and hating one another,” our heavenly Father had mercy on us. “After that the kindness and love of God our Saviour toward man appeared, not by works of righteousness which we have done, but according to His mercy He saved us.” Titus 3:3-5. His love received, will make us, in like manner, kind and tender, not merely toward those who please us, but to the most faulty and erring and sinful. {MB 75.1}
ในขณะที่เราเองไม่มีความน่ารัก ทั้งยังไม่รักคนอื่น “ใช้ชีวิตอย่างชั่วร้าย และอิจฉาริษยา ถูกชิงชังและเกลียดกัน” ขณะนั้นเองพระบิดาของเราก็ยังทรงเมตตาเรา “เมื่อพระกรุณาและความรักของพระเจ้าองค์พระผู้ช่วยให้รอดของเราปรากฏ พระองค์ทรงช่วยเราให้รอดไม่ใช่เพราะความชอบธรรมที่เราได้ทำ แต่เพราะพระเมตตาของพระองค์” (ทิตัส 3:3-5 TSV/TNCV) เมื่อเรารับความรักของพระองค์แล้ว เราก็จะมีความรัก และความสุภาพอ่อนโยนต่อคนอื่น ไม่เพียงแต่ต่อคนที่เราถูกใจ แต่ต่อคนที่หลงผิด ใช้ชีวิตในความบาปด้วย {MB 75.1}
The children of God are those who are partakers of His nature. It is not earthly rank, nor birth, nor nationality, nor religious privilege, which proves that we are members of the family of God; it is love, a love that embraces all humanity. Even sinners whose hearts are not utterly closed to God’s Spirit, will respond to kindness; while they may give hate for hate, they will also give love for love. But it is only the Spirit of God that gives love for hatred. To be kind to the unthankful and to the evil, to do good hoping for nothing again, is the insignia of the royalty of heaven, the sure token by which the children of the Highest reveal their high estate. {MB 75.2}
บุตรของพระเจ้าคือคนที่รับเอาพระลักษณะนิสัยของพระองค์ไป ยศฐาบรรดาศักดิ์ เชื้อชาติ ศาสนาไม่ใช่สิ่งที่พิสูจน์ว่าเราเป็นสมาชิกครอบครัวของพระเจ้า หากเป็นความรักที่มีต่อมวลมนุษย์ แม้แต่คนบาปที่ยังไม่เปิดใจรับฟังเสียงของพระวิญญาณบริสุทธิ์ก็ยังตอบสนองต่อความกรุณา แม้คนที่ถือโทษโกรธแค้นก็ยังรู้จักแสดงความรักต่อคนที่รักเขา มีแต่พระวิญญาณของพระเจ้าเท่านั้นที่ตอบสนองความเกลียดชังด้วยความรัก เมื่อมีคนทำดีต่อคนชั่วที่ไม่รู้คุณด้วยใจกรุณา คือทำดีโดยไม่หวังการตอบแทน นั่นแหละคือตราประทับหลวงแห่งสวรรค์ เป็นสัญลักษณ์ว่าเขาคือราชบุตรของพระเจ้าสูงสุด {MB 75.2}
“Be ye therefore perfect, even as your Father which is in heaven is perfect.” Matthew 5:48. The word “therefore” implies a conclusion, an inference from what has gone before. Jesus has been describing to His hearers the unfailing mercy and love of God, and He bids them therefore to be perfect. Because your heavenly Father “is kind unto the unthankful and to the evil” (Luke 6:35), because He has stooped to lift you up, therefore, said Jesus, you may become like Him in character, and stand without fault in the presence of men and angels. {MB 76.1}
“เพราะฉะนั้น…จงเป็นคนดีพร้อม เหมือนอย่างที่พระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์ทรงดีพร้อม (มัทธิว 5:48) คำว่า ‘เพราะฉะนั้น’ แสดงถึงการสรุปข้อความที่สอนไว้ก่อนหน้านั้น ที่พระเยซูทรงบรรยายให้ผู้ฟังทราบถึงพระเมตตาคุณและความรักมั่นคงของพระเจ้า พระเยซูสอนว่า เนื่องจากพระบิดาของท่าน “ทรงพระกรุณาทั้งต่อคนอกตัญญูและคนชั่ว” (ลูกา 6:35) พระองค์ทรงน้อมพระองค์ลงเพื่อยกเราขึ้น ฉะนั้นเราก็สามารถมีอุปนิสัยที่เปลี่ยนไปตามพระลักษณะของพระองค์ และสามารถยืนต่อหน้ามนุษย์และทูตสวรรค์โดยปราศจากตำหนิได้ {MB 76.1}
The conditions of eternal life, under grace, are just what they were in Eden–perfect righteousness, harmony with God, perfect conformity to the principles of His law. The standard of character presented in the Old Testament is the same that is presented in the New Testament. This standard is not one to which we cannot attain. In every command or injunction that God gives there is a promise, the most positive, underlying the command. God has made provision that we may become like unto Him, and He will accomplish this for all who do not interpose a perverse will and thus frustrate His grace. {MB 76.2}
โดยพระคุณแล้ว เงื่อนไขชีวิตนิรันดร์ทุกวันนี้ไม่ต่างกับสมัยสวนเอเดนเลย นั่นคือความชอบธรรมที่สมบูรณ์แบบ การประสานเข้ากันเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า และชีวิตที่สอดคล้องไม่เบนเบี่ยงจากหลักการแห่งธรรมบัญญัติของพระองค์ นี่คือมาตรฐานของอุปนิสัยที่สอนไว้ทั้งในพระคัมภีร์เดิมและพระคัมภีร์ใหม่ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ไม่ไกลเกินเอื้อม เพราะในพระบัญชาทุกข้อของพระเจ้า มีพระสัญญารองรับ พระเจ้าทรงจัดเตรียมทุกสิ่งไว้เพื่อเราจะได้เป็นเหมือนพระองค์ และสำหรับทุกคนที่ไม่ดื้อรั้นขัดขวางพระคุณ พระองค์จะทรงกระทำให้สำเร็จ {MB 76.2}
With untold love our God has loved us, and our love awakens toward Him as we comprehend something of the length and breadth and depth and height of this love that passeth knowledge. By the revelation of the attractive loveliness of Christ, by the knowledge of His love expressed to us while we were yet sinners, the stubborn heart is melted and subdued, and the sinner is transformed and becomes a child of heaven. God does not employ compulsory measures; love is the agent which He uses to expel sin from the heart. By it He changes pride into humility, and enmity and unbelief into love and faith. {MB 76.3}
พระเจ้าทรงรักเราด้วยความรักที่เกินบรรยาย เมื่อเราเข้าใจส่วนหนึ่งของความรักที่กว้างใหญ่ไพศาล คือความรักที่เกินความเข้าใจ ก็จะจุดประกายให้เรามีความรักในใจต่อพระองค์ เมื่อคนบาปรู้ถึงความรักของพระคริสต์ที่ทรงรักเขาในขณะที่ยังเป็นคนบาป ใจที่ดื้อรั้นจะอ่อนลงและเขาจะรับการเปลี่ยนแปลงเป็นบุตรของสวรรค์ พระเจ้าไม่ใช้วิธีการบังคับ ความรักต่างหากที่เป็นเครื่องมือของพระองค์ในการกำจัดความบาปออกจากหัวใจ ด้วยความรักพระองค์เปลี่ยนคนเย่อหยิ่งให้เป็นคนใจถ่อม ทั้งเปลี่ยนความเกลียดชังและความสงสัยให้เป็นความรักและความเชื่อ {MB 76.3}
The Jews had been wearily toiling to reach perfection by their own efforts, and they had failed. Christ had already told them that their righteousness could never enter the kingdom of heaven. Now He points out to them the character of the righteousness that all who enter heaven will possess. Throughout the Sermon on the Mount He describes its fruits, and now in one sentence He points out its source and its nature: Be perfect as God is perfect. The law is but a transcript of the character of God. Behold in your heavenly Father a perfect manifestation of the principles which are the foundation of His government. {MB 77.1}
ชาวยิวบากบั่นเพียรพยายามเพื่อให้บรรลุถึงความสมบูรณ์แบบ แต่ก็ล้มเหลว พระคริสต์ได้บอกไว้แล้วว่า ความชอบธรรมของพวกเขาจะเข้าแผ่นดินสวรรค์ไม่ได้ บัดนี้พระองค์ทรงอธิบายถึงลักษณะความชอบธรรมซึ่งคนที่จะเข้าแผ่นดินสวรรค์พึงมี ตลอดคำเทศนาบนภูเขาพระองค์สอนถึงผลแห่งความชอบธรรม แต่ในข้อนี้พระองค์สรุปที่มาและลักษณะของความชอบธรรมนั้น คือให้เราสมบูรณ์ดีพร้อม เพราะพระองค์ทรงสมบูรณ์ดีพร้อม ธรรมบัญญัติเป็นเพียงการถอดแบบพระลักษณะนิสัยของพระเจ้า หลักการอันเป็นรากฐานของการปกครองของพระองค์ได้ปรากฏแจ้งในพระบิดาของเรา จงให้เราพิจารณาถึงเรื่องนี้ {MB 77.1}
God is love. Like rays of light from the sun, love and light and joy flow out from Him to all His creatures. It is His nature to give. His very life is the outflow of unselfish love. “His glory is His children’s good; His joy, His tender Fatherhood.” He tells us to be perfect as He is, in the same manner. We are to be centers of light and blessing to our little circle, even as He is to the universe. We have nothing of ourselves, but the light of His love shines upon us, and we are to reflect its brightness. “In His borrowed goodness good,” we may be perfect in our sphere, even as God is perfect in His. {MB 77.2}
พระเจ้าทรงเป็นความรัก ดวงอาทิตย์ฉายลำแสงออกมาฉันใด ความรัก แสงสว่างและความสุขก็ไหลมาจากพระองค์สู่ชีวิตทั้งหลายที่พระองค์ทรงสร้างฉันนั้น การให้เป็นคุณลักษณะโดยธรรมชาติของพระองค์ ความรักที่ไม่เห็นแก่ตัวฉายออกจากชีวิตของพระองค์ {MB 77.2}
Jesus said, Be perfect as your Father is perfect. If you are the children of God you are partakers of His nature, and you cannot but be like Him. Every child lives by the life of his father. If you are God’s children, begotten by His Spirit, you live by the life of God. In Christ dwells “all the fullness of the Godhead bodily” (Colossians 2:9); and the life of Jesus is made manifest “in our mortal flesh” (2 Corinthians 4:11). That life in you will produce the same character and manifest the same works as it did in Him. Thus you will be in harmony with every precept of His law; for “the law of the Lord is perfect, restoring the soul.” Psalm 19:7, margin. Through love “the righteousness of the law” will be “fulfilled in us, who walk not after the flesh, but after the Spirit.” Romans 8:4. {MB 77.3}
[**poem: พระองค์ได้รับพระเกียรติเมื่อบุตรทั้งหลายได้ดี ทั้งทรงชื่นชมยินดีทะนุถนอมพวกเขาดั่งบิดาที่รักบุตร ] {MB 77.3} เช่นเดียวกัน พระองค์ให้เราสมบูรณ์ดีพร้อมเหมือนอย่างพระองค์ คือให้เราเป็นดวงสว่างที่จะส่องแสงและอำนวยพรให้คนที่อยู่รอบข้างเหมือนที่พระองค์ทรงเป็นให้แก่จักรวาล เราไม่มีอะไรในตัวเราเอง แต่เมื่อแสงแห่งความรักของพระองค์ส่องต้องเรา เราก็ต้องสะท้อนแสงนั้นต่อให้ผู้อื่น ด้วยการรับความดีจากพระองค์ แล้วเราจะสามารถเป็นคนดีพร้อมในขอบเขตของเราเหมือนที่พระองค์ทรงสมบูรณ์ดีพร้อมในส่วนของพระองค์ {MB 77.4}
“I am not come to destroy, but to fulfill.” Matthew 5:17. It was Christ who, amid thunder and flame, had proclaimed the law upon Mount Sinai. The glory of God, like devouring fire, rested upon its summit, and the mountain quaked at the presence of the Lord. The hosts of Israel, lying prostrate upon the earth, had listened in awe to the sacred precepts of the law. What a contrast to the scene upon the mount of the Beatitudes! Under the summer sky, with no sound to break the stillness but the song of birds, Jesus unfolded the principles of His kingdom. Yet He who spoke to the people that day in accents of love, was opening to them the principles of the law proclaimed upon Sinai. {MB 45.1}
“เราไม่ได้มาล้มเลิก แต่มาทำให้สมบูรณ์ทุกประการ” (มัทธิว 5:17) ผู้ที่ประกาศธรรมบัญญัติบนภูเขาซีนายท่ามกลางเปลวเพลิงและเสียงฟ้าร้อง คือองค์พระคริสต์ พระสิริของพระเจ้าเหมือนไฟที่เผาผลาญอยู่บนยอดเขาซีนาย ทั้งภูเขาสั่นสะท้านจำเพาะพระพักตร์พระองค์ ส่วนประชาชนอิสราเอลหมอบลงกราบด้วยอาการกลัวเกรงขณะที่ฟังพระองค์ตรัสพระบัญญัติ บรรยากาศช่างผิดแผกไปจากวันที่พระเยซูเปิดเผยหลักการแห่งอาณาจักรของพระองค์อยู่ใต้ฟ้าฤดูร้อน มีแต่เสียงจ๊อกแจ๊กจอแจของนกแทรกเข้ามาในความเงียบงัน ขณะที่พระองค์ตรัสกับประชาชนด้วยสำเนียงแห่งความรัก เพื่ออธิบายหลักสัจธรรมที่พระองค์เองได้ตรัสไว้บนภูเขาซีนาย {MB 45.1}
When the law was given, Israel, degraded by the long bondage in Egypt, had need to be impressed with the power and majesty of God; yet He revealed Himself to them no less as a God of love. “The Lord came from Sinai, And rose from Seir unto them; He shined forth from Mount Paran, And He came from the ten thousands of holy ones: At His right hand was a fiery law unto them. Yea, He loveth the tribes; All their holy ones are in Thy hand: And they sat down at Thy feet; Everyone received of Thy words.” Deuteronomy 33:2, 3, R.V., margin. {MB 45.2}
เมื่อครั้งที่ทรงประทานพระบัญญัตินั้น ประชาชนอิสราเอลกำลังอยู่ในสภาพที่ตกต่ำ หลังจากที่เป็นทาสในอียิปต์มานาน พวกเขาต้องการเห็นถึงฤทธานุภาพและความโอ่อ่าตระการของพระองค์ ในขณะเดียวกันพระองค์ทรงเปิดเผยพระองค์ในฐานะพระเจ้าแห่งความรัก “พระเยโฮวาห์เสด็จจากซีนาย และทรงรุ่งแจ้งจากเสอีร์มายังเขาทั้งหลาย พระองค์ทรงฉายรังสีจากภูเขาปาราน พระองค์เสด็จพร้อมกับวิสุทธิชนนับหมื่นๆ ที่พระหัตถ์เบื้องขวามีไฟเป็นพระราชบัญญัติแก่เขา แท้จริงพระองค์ทรงรักประชาชนของพระองค์ บรรดาวิสุทธิชนของพระองค์ก็อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ และเขาทั้งหลายกราบลงที่พระบาทของพระองค์รับพระดำรัสของพระองค์” (เฉลยธรรมบัญญัติ 33:2-3 TKJV) {MB 45.2}
It was to Moses that God revealed His glory in those wonderful words that have been the treasured heritage of the ages: “The Lord, The Lord God, merciful and gracious, long-suffering, and abundant in goodness and truth, keeping mercy for thousands, forgiving iniquity and transgression and sin.” Exodus 34:6, 7. {MB 46.1}
พระเจ้าทรงสำแดงพระสิริของพระองค์แก่โมเสสด้วยพระดำรัสที่เป็นมรดกตกทอดให้คนทุกยุคสมัยได้ชื่นชมว่า “พระองค์เสด็จผ่านหน้าโมเสสไปพร้อมทั้งประกาศว่า องค์พระผู้เป็นเจ้า พระยาห์เวห์ พระเจ้าผู้เปี่ยมด้วยความเมตตากรุณาและพระคุณ ทรงกริ้วช้า บริบูรณ์ด้วยความรักมั่นคงและความซื่อสัตย์ ผู้แสดงความรักมั่นคงต่อคนนับพันชั่วอายุ โดยให้อภัยความชั่วร้าย การกบฏ และบาป” (อพยพ 34:6-7 TNCV) {MB 46.1}
The law given upon Sinai was the enunciation of the principle of love, a revelation to earth of the law of heaven. It was ordained in the hand of a Mediator–spoken by Him through whose power the hearts of men could be brought into harmony with its principles. God had revealed the purpose of the law when He declared to Israel, “Ye shall be holy men unto Me.” Exodus 22:31. {MB 46.2}
ธรรมบัญญัติที่ประกาศบนภูเขาซีนายเป็นการย้ำหลักการแห่งความรักที่เปิดเผยให้ชาวโลกได้รับรู้ถึงกฎแห่งสวรรค์ ธรรมบัญญัติตั้งไว้ “โดยมือของคนกลาง” (กาลาเทีย 3:19) คือพระองค์ผู้ทรงตั้งธรรมบัญญัติเป็นผู้ที่มีอำนาจชักนำใจของคนให้สอดคล้องกับหลักการของธรรมบัญญัตินั้น พระเจ้าทรงสำแดงพระประสงค์ของพระองค์ในธรรมบัญญัติเมื่อตรัสกับชนชาติอิสราเอลว่า “พวกเจ้าต้องเป็นประชากรบริสุทธิ์ของเรา” (อพยพ 22:31 TNCV) {MB 46.2}
But Israel had not perceived the spiritual nature of the law, and too often their professed obedience was but an observance of forms and ceremonies, rather than a surrender of the heart to the sovereignty of love. As Jesus in His character and work represented to men the holy, benevolent, and paternal attributes of God, and presented the worthlessness of mere ceremonial obedience, the Jewish leaders did not receive or understand His words. They thought that He dwelt too lightly upon the requirements of the law; and when He set before them the very truths that were the soul of their divinely appointed service, they, looking only at the external, accused Him of seeking to overthrow it. {MB 46.3}
แต่ประชากรอิสราเอลไม่ตระหนักว่าธรรมบัญญัตินั้นเป็นกฎฝ่ายจิตวิญญาณ ส่วนมากพวกเขามีแต่แสร้งปฏิบัติภายนอก และทำตามพิธีกรรม แทนที่จะมอบใจไว้ภายใต้อธิปไตยแห่งความรัก พระอุปนิสัยและพระราชกิจของพระเยซูแสดงถึงความบริสุทธิ์ พระเมตตาคุณและคุณลักษณะการเป็นพระบิดาของพระเจ้า ทั้งยังแสดงว่าการที่จะถือปฏิบัติตามพิธีกรรมเท่านั้นเป็นการไร้ประโยชน์ ฉะนั้นผู้นำชาวยิวจึงทั้งไม่รับรู้และไม่เข้าใจในสิ่งที่พระองค์ตรัสสอน พวกเขาคิดว่าพระองค์ไม่ให้ความสำคัญกับข้อบังคับของธรรมบัญญัติเท่าที่ควร และเมื่อพระองค์สอนถึงสัจธรรมอันเป็นแก่นแท้ของพิธีกรรมทั้งหลาย คนที่มองแต่เปลือกนอก กลับกล่าวหาพระองค์ว่ามาเลิกล้มธรรมบัญญัติ {MB 46.3}
The words of Christ, though calmly spoken, were uttered with an earnestness and power that stirred the hearts of the people. They listened for a repetition of the lifeless traditions and exactions of the rabbis, but in vain. They “were astonished at His teaching: for He taught them as one having authority, and not as their scribes.” Matthew 7:29, R.V. The Pharisees noted the vast difference between their manner of instruction and that of Christ. They saw that the majesty and purity and beauty of the truth, with its deep and gentle influence, was taking firm hold upon many minds. The Saviour’s divine love and tenderness drew the hearts of men to Him. The rabbis saw that by His teaching the whole tenor of the instruction they had given to the people was set at nought. He was tearing down the partition wall that had been so flattering to their pride and exclusiveness; and they feared that, if permitted, He would draw the people entirely away from them. Therefore they followed Him with determined hostility, hoping to find some occasion for bringing Him into disfavor with the multitudes and thus enabling the Sanhedrin to secure His condemnation and death. {MB 46.4}
พระคริสต์ตรัสอย่างเรียบง่าย แต่มีน้ำหนักและความมุ่งมั่นจนประชาชนตื่นตัว พวกเขาคิดว่าพระองค์คงจะสาธยายถึงกฎธรรมเนียมหยุมหยิมที่ปราศจากชีวิตตามแบบพวกธรรมาจารย์ แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น “ฝูงชนอัศจรรย์ใจด้วยคำสั่งสอนของพระองค์ เพราะพระองค์ทรงสั่งสอนพวกเขาอย่างผู้มีสิทธิอำนาจ ไม่เหมือนบรรดาธรรมาจารย์ของเขา” (มัทธิว 7:28-29) พวกฟาริสีสังเกตว่า วิธีการสอนของพระเยซูแตกต่างไปจากการสอนของพวกเขามาก คือหลักความจริงของพระองค์งดงามบริสุทธิ์ มีอิทธิพลที่ละมุนละไม จนมีหลายคนเริ่มที่จะเลื่อมใสศรัทธาในพระองค์ ความรักที่อ่อนโยนของพระผู้ช่วยให้รอดได้ชักนำคนมาหาพระองค์ พวกธรรมาจารย์เห็นว่าคำสอนของพระคริสต์กำลังทำให้เรื่องสำคัญๆ ที่พวกเขาสอนนั้นหมดความหมาย ผู้นำศาสนาหยิ่งผยองเพราะมีกำแพงกั้นอยู่ระหว่างพวกเขากับประชาชนทั่วไป บัดนี้พระเยซูกำลังพังกำแพงนั้นลง พวกผู้นำจึงกลัวว่า ถ้าไม่จัดการอะไรบางอย่างลงไป พระองค์จะชักนำคนทั้งปวงให้ละทิ้งพวกตนเสีย ฉะนั้นพวกธรรมาจารย์จึงติดตามพระองค์ด้วยอาการมุ่งร้าย หวังที่จะหาช่องทางปลุกปั่นประชาชนให้หมดความนิยมในพระองค์ สภาแซนเฮดรินจะได้ฉวยโอกาสตัดสินประหารชีวิตพระองค์เสีย {MB 46.4}
On the mount, Jesus was closely watched by spies; and as He unfolded the principles of righteousness, the Pharisees caused it to be whispered about that His teaching was in opposition to the precepts that God had given from Sinai. The Saviour said nothing to unsettle faith in the religion and institutions that had been given through Moses; for every ray of divine light that Israel’s great leader communicated to his people was received from Christ. While many are saying in their hearts that He has come to do away with the law, Jesus in unmistakable language reveals His attitude toward the divine statutes. “Think not,” He said, “that I am come to destroy the law, or the prophets.” {MB 47.1}
ขณะที่พระเยซูเผยหลักการแห่งความชอบธรรมอยู่บนภูเขานั้น มีคนคอยจับผิดพระองค์อยู่ ส่วนพวกฟาริสีได้ปล่อยข่าวว่าคำสอนของพระองค์ขัดต่อพระบัญญัติสิบประการที่พระผู้เป็นเจ้าประทานจากภูเขาซีนาย พระองค์ไม่ได้กล่าวสิ่งใดที่จะทำให้ประชาชนหมดศรัทธาในศาสนาหรือระบบต่างๆ ที่พระเจ้าประทานให้พวกเขาโดยผ่านโมเสส เพราะทุกสิ่งที่โมเสสเคยสอนนั้นล้วนแต่เป็นลำแสงที่ท่านได้รับมาจากพระคริสต์ ในขณะที่ผู้ฟังหลายคนคิดในใจว่า พระองค์จะมายกเลิกธรรมบัญญัติ พระเยซูตรัสด้วยภาษาที่ชัดเจนตรงไปตรงมา แสดงถึงท่าทีของพระองค์ในเรื่องนี้ว่า “อย่าคิดว่าเรามาล้มเลิกธรรมบัญญัติและคำของบรรดาผู้เผยพระวจนะ” {MB 47.1}
It is the Creator of men, the Giver of the law, who declares that it is not His purpose to set aside its precepts. Everything in nature, from the mote in the sunbeam to the worlds on high, is under law. And upon obedience to these laws the order and harmony of the natural world depend. So there are great principles of righteousness to control the life of all intelligent beings, and upon conformity to these principles the well-being of the universe depends. Before this earth was called into being, God’s law existed. Angels are governed by its principles, and in order for earth to be in harmony with heaven, man also must obey the divine statutes. To man in Eden Christ made known the precepts of the law “when the morning stars sang together, and all the sons of God shouted for joy.” Job 38:7. The mission of Christ on earth was not to destroy the law, but by His grace to bring man back to obedience to its precepts. {MB 48.1}
พระผู้สร้างเองเป็นผู้ที่ประกาศว่าไม่มีพระประสงค์ที่จะเลิกล้มธรรมบัญญัติ และพระองค์คือผู้ที่ประทานธรรมบัญญัตินั้นเอง สรรพสิ่งในธรรมชาติจากผงธุลีในลำแสงจนกระทั่งดวงดาวบนท้องฟ้าล้วนแต่อยู่ภายใต้กฎธรรมชาติที่มีระบบระเบียบและประสานสอดคล้องกันอย่างกลมกลืน เพราะในธรรมชาติทุกอย่างดำเนินไปตามกฎของมัน ในทำนองเดียวกันมี “กฎธรรมะ” ที่ควบคุมทั้งมนุษย์และชาวสวรรค์ ความสงบสุขในจักรวาลขึ้นอยู่กับการทำตามกฎธรรมะ ซึ่งกฎของพระเจ้ามีอยู่แล้วก่อนที่โลกของเราจะถูกสร้างขึ้นมา แม้แต่ทูตสวรรค์ก็ยังถูกปกครองอยู่ใต้กฎธรรมะนั้น และเพื่อให้โลกสอดคล้องกับสวรรค์ มนุษย์ก็ต้องปฏิบัติตามหลักการของพระเจ้า พระคริสต์ทรงชี้แจงให้มนุษย์คู่แรกทราบถึงกฎของพระองค์ “เมื่อเหล่าดาวรุ่งแซ่ซ้องสรรเสริญ และบรรดาบุตรพระเจ้าโห่ร้องด้วยความชื่นบาน” (โยบ 38:7) พันธกิจของพระคริสต์ไม่ใช่การเลิกล้มธรรมบัญญัติ แต่เป็นการนำให้มนุษย์กลับมาปฏิบัติตามธรรมบัญญัติโดยอาศัยพระคุณของพระองค์ {MB 48.1}
The beloved disciple, who listened to the words of Jesus on the mount, writing long afterward under the inspiration of the Holy Spirit, speaks of the law as of perpetual obligation. He says that “sin is the transgression of the law” and that “whosoever committeth sin transgresseth also the law.” 1 John 3:4. He makes it plain that the law to which he refers is “an old commandment which ye had from the beginning.” 1 John 2:7. He is speaking of the law that existed at the creation and was reiterated upon Mount Sinai. {MB 48.2}
อัครสาวกยอห์นเป็นผู้หนึ่งที่ฟังพระเยซูสอนบนภูเขา แล้วหลายปีต่อมาพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงดลใจให้ท่านเขียนถึงธรรมบัญญัติว่าเป็นข้อบังคับนิรันดร์ โดยกล่าวว่า “บาปเป็นสิ่งที่ผิดธรรมบัญญัติ” “ทุกคนที่ทำบาปก็ประพฤติผิดธรรมบัญญัติ” (1 ยอห์น 3:4) ยอห์นชี้ชัดว่าธรรมบัญญัติที่ท่านกล่าวถึงนั้น คือ “บัญญัติเก่าซึ่งท่านเคยมีอยู่ตั้งแต่เริ่มแรก” (1 ยอห์น 2:7) คือธรรมบัญญัติที่มีอยู่ตั้งแต่แรกสร้างโลกและที่พระเจ้าทรงย้ำบนภูเขาซีนาย {MB 48.2}
Speaking of the law, Jesus said, “I am not come to destroy, but to fulfill.” He here used the word “fulfill” in the same sense as when He declared to John the Baptist His purpose to “fulfill all righteousness” (Matthew 3:15); that is, to fill up the measure of the law’s requirement, to give an example of perfect conformity to the will of God. {MB 48.3}
พระเยซูตรัสถึงธรรมบัญญัติว่า “เราไม่ได้มาล้มเลิก แต่มาทำให้สมบูรณ์ทุกประการ” คำว่าสมบูรณ์ทุกประการในข้อนี้เป็นคำเดียวกันกับที่พระองค์ตรัสไว้กับยอห์นผู้ให้บัพติศมาว่า พระประสงค์ของพระองค์คือ “ทำความชอบธรรมให้ครบถ้วนทุกประการ” (มัทธิว 3:15) คือทำทุกอย่างตามมาตรฐานของธรรมบัญญัติจนครบบริบูรณ์ และเพื่อเป็นแบบอย่างให้แก่ชีวิตที่ดำเนินตามน้ำพระทัยของพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ {MB 48.3}
His mission was to “magnify the law, and make it honorable.” Isaiah 42:21. He was to show the spiritual nature of the law, to present its far-reaching principles, and to make plain its eternal obligation. {MB 49.1}
พันธกิจของพระองค์คือ “ทำให้ธรรมบัญญัติยิ่งใหญ่และมีเกียรติ” (อิสยาห์ 42:21) พระองค์เสด็จมาเพื่อสำแดงถึงลักษณะด้านจิตวิญญาณของธรรมบัญญัติ ว่าเป็นหลักการที่ครอบคลุมทุกส่วนในชีวิตอย่างทั่วถึง และเป็นข้อบังคับนิรันดร์ {MB 49.1}
The divine beauty of the character of Christ, of whom the noblest and most gentle among men are but a faint reflection; of whom Solomon by the Spirit of inspiration wrote, He is “the chiefest among ten thousand, . . . yea, He is altogether lovely” (Song of Solomon 5:10-16); of whom David, seeing Him in prophetic vision, said, “Thou art fairer than the children of men” (Psalm 45:2); Jesus, the express image of the Father’s person, the effulgence of His glory; the self-denying Redeemer, throughout His pilgrimage of love on earth, was a living representation of the character of the law of God. In His life it is made manifest that heaven-born love, Christlike principles, underlie the laws of eternal rectitude. {MB 49.2}
พระเยซูคริสต์เป็นพระผู้ไถ่ที่ทรงเสียสละ ตลอดเวลาที่พระองค์ประกอบพันธกิจแห่งความรักในโลกนี้ชีวิตของพระองค์เป็นตัวอย่างถึงลักษณะที่แท้จริงของพระบัญญัติพระเจ้า คนที่จัดว่าดีที่สุดเป็นเพียงเงาสะท้อนถึงพระลักษณะของพระคริสต์ผู้สง่างามและสุภาพอ่อนโยน พระวิญญาณบริสุทธิ์ดลใจให้ซาโลมอนเขียนล่วงหน้าถึงพระเยซูว่า พระองค์ “โดดเด่นท่ามกลางคนนับหมื่น…เขาช่างน่าปรารถนา” (เพลงซาโลมอน 5:10-16) ส่วนดาวิดก็เห็นนิมิตถึงพระองค์จึงกล่าวว่า “พระองค์งามสง่ายิ่งกว่ามนุษย์คนใด” (สดุดี 45:2) พระเยซูคริสต์ทรงสะท้อนถึงพระลักษณะของพระบิดา ทรงฉายออกถึงพระสิริของพระองค์ ชีวิตของพระเยซูแสดงถึงหลักการและความรักที่มาจากสวรรค์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของธรรมบัญญัติของพระเจ้าอันคงไว้ซึ่งความยุติธรรมเป็นนิตย์ {MB 49.2}
“Till heaven and earth pass,” said Jesus, “one jot or one tittle shall in nowise pass from the law, till all be fulfilled.” By His own obedience to the law, Christ testified to its immutable character and proved that through His grace it could be perfectly obeyed by every son and daughter of Adam. On the mount He declared that not the smallest iota should pass from the law till all things should be accomplished–all things that concern the human race, all that relates to the plan of redemption. He does not teach that the law is ever to be abrogated, but He fixes the eye upon the utmost verge of man’s horizon and assures us that until this point is reached the law will retain its authority so that none may suppose it was His mission to abolish the precepts of the law. So long as heaven and earth continue, the holy principles of God’s law will remain. His righteousness, “like the great mountains” (Psalm 36:6), will continue, a source of blessing, sending forth streams to refresh the earth. {MB 49.3}
พระเยซูตรัสว่า “ถึงฟ้าและดินจะล่วงไป แม้อักษรหนึ่งหรือจุดๆ หนึ่งก็จะไม่สูญไปจากพระราชบัญญัติ จนกว่าจะสำเร็จทั้งสิ้น” (มัทธิว 5:18 TKJV) การที่พระเยซูปฏิบัติตามธรรมบัญญัติเป็นหลักฐานว่าธรรมบัญญัตินั้นไม่เปลี่ยนแปลง และพิสูจน์ว่ามนุษย์ทุกคนสามารถปฏิบัติตามธรรมบัญญัติได้อย่างสมบูรณ์โดยอาศัยพระคุณของพระองค์ ในคำเทศนาของพระเยซูบนภูเขา พระองค์ประกาศว่า แม้อักษรที่เล็กที่สุดก็จะไม่สูญหายไปจากธรรมบัญญัติจนกว่าทุกอย่างจะสำเร็จสมบูรณ์ คือทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับแผนการทรงไถ่มนุษย์ให้รอด พระองค์ไม่เคยสอนว่าธรรมบัญญัตินั้นจะถูกลบล้าง แต่พระองค์มองไปไกลยังขอบฟ้าและตรัสว่า แม้วันที่โลกดับมลายลง ธรรมบัญญัติจะยังคงบังคับใชัอยู่ปานนั้น ฉะนั้นอย่าให้ใครคิดว่าพระเยซูมาเพื่อลบล้างข้อใดข้อหนึ่งของธรรมบัญญัติ ฟ้าและแผ่นดินยังคงอยู่ตราบใด หลักการอันบริสุทธิ์แห่งธรรมบัญญัติของพระเจ้าจะคงอยู่ตราบนั้น ความชอบธรรมของพระองค์ “เหมือนภูเขาสูงตระหง่าน” (สดุดี 36:6) จะยังคงอยู่เป็นแหล่งพระพรที่ไหลมารดแผ่นดินให้ชื่นฉ่ำ {MB 49.3}
Because the law of the Lord is perfect, and therefore changeless, it is impossible for sinful men, in themselves, to meet the standard of its requirement. This was why Jesus came as our Redeemer. It was His mission, by making men partakers of the divine nature, to bring them into harmony with the principles of the law of heaven. When we forsake our sins and receive Christ as our Saviour, the law is exalted. The apostle Paul asks, “Do we then make void the law through faith? God forbid: yea, we establish the law.” Romans 3:31. {MB 50.1}
เนื่องจากธรรมบัญญัติของพระเจ้าสมบูรณ์แบบจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ เป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์คนบาปจะปฏิบัติให้ถึงมาตรฐานของธรรมบัญญัติด้วยกำลังของตัวเอง นี่คือสาเหตุที่พระเยซูเสด็จมาเป็นพระผู้ไถ่ พันธกิจของพระองค์คือนำมนุษย์ให้รับส่วนในสภาพของพระเจ้า ให้สอดคล้องกับหลักธรรมะแห่งสวรรค์ เมื่อเราละทิ้งความผิดบาปและรับพระคริสต์เป็นพระผู้ช่วยให้รอด เป็นการให้เกียรติธรรมบัญญัติ อัครสาวกเปาโลถามว่า “เราลบล้างธรรมบัญญัติด้วยความเชื่อหรือ? เปล่าเลย เรายังชูธรรมบัญญัติขึ้นอีก” (โรม 3:31) {MB 50:1}
The new-covenant promise is, “I will put My laws into their hearts, and in their minds will I write them.” Hebrews 10:16. While the system of types which pointed to Christ as the Lamb of God that should take away the sin of the world was to pass away at His death, the principles of righteousness embodied in the Decalogue are as immutable as the eternal throne. Not one command has been annulled, not a jot or tittle has been changed. Those principles that were made known to man in Paradise as the great law of life will exist unchanged in Paradise restored. When Eden shall bloom on earth again, God’s law of love will be obeyed by all beneath the sun. {MB 50.2}
พันธสัญญาใหม่คือ “เราจะบรรจุธรรมบัญญัติของเราไว้ในใจของพวกเขา และเราจะจารึกมันไว้ในจิตใจของพวกเขา” (ฮีบรู 10:16) จริงอยู่ระบบพิธีกรรมอันเป็นสัญลักษณ์เล็งถึงพระคริสต์ได้ยุติลงเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ไถ่บาปของมนุษย์ในฐานะลูกแกะของพระเจ้า แต่หลักการแห่งความชอบธรรมที่มีอยู่ในพระบัญญัติสิบประการยังคงถาวรเป็นนิตย์เฉกเช่นพระที่นั่งของพระเจ้า ไม่มีพระบัญญัติข้อใดที่ถูกยกเลิกไป แม้แต่อักษรหรือขีดๆ หนึ่งก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากธรรมบัญญัติ แต่หลักการแห่งชีวิตที่ทรงเปิดเผยให้มนุษย์คู่แรกในสวนเอเดนในฐานะกฎแห่งชีวิตจะคงอยู่ในสภาพเดิมเมื่อแผ่นดินโลกถูกสร้างขึ้นใหม่ และทุกคนทั่วใต้ฟ้าสวรรค์จะปฏิบัติธรรมบัญญัติของพระเจ้า {MB 50.2}
“Forever, O Lord, Thy word is settled in heaven.” “All His commandments are sure. They stand fast for ever and ever, and are done in truth and uprightness.” “Concerning Thy testimonies, I have known of old that Thou hast founded them forever.” Psalm 119:89; 111:7, 8; Psalm 119:152. {MB 51.1}
“ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า พระวจนะของพระองค์คงอยู่ตลอดไปมั่นคงนิรันดร์ในสวรรค์” “ข้อบังคับทั้งหมดของพระองค์เชื่อถือได้ สิ่งเหล่านี้ตั้งมั่นอยู่ชั่วนิรันดร์ กำหนดขึ้นจากความซื่อสัตย์และความเที่ยงธรรม” “พระองค์ทรงตั้งกฎเกณฑ์นั้นไว้เป็นนิตย์” (สดุดี 119:89 TNCV; 111:7-8 TNCV; 119:152 TNCV) {MB 51.1}
“Whosoever . . . shall break one of these least commandments, and shall teach men so, he shall be called the least in the kingdom of heaven.” Matthew 5:19. That is, he shall have no place therein. For he who willfully breaks one commandment, does not, in spirit and truth, keep any of them. “Whosoever shall keep the whole law, and yet offend in one point, he is guilty of all.” James 2:10. {MB 51.2}
“ใครทำให้ข้อเล็กน้อยเพียงข้อหนึ่งในพระบัญญัตินี้มีความสำคัญน้อยลง และสอนคนอื่นให้ทำอย่างนั้นด้วย คนนั้นจะได้ชื่อว่าเป็นผู้เล็กน้อยที่สุดในแผ่นดินสวรรค์” (มัทธิว 5:19) คือถ้าหากใครทำเช่นนั้นเขาจะไม่มีส่วนในแผ่นดินสวรรค์เลย เพราะผู้ที่จงใจละเมิดต่อพระบัญญัติข้อเดียวก็ไม่รักษาข้ออื่นด้วยจิตวิญญาณและความจริงเช่นกัน “เพราะว่าใครที่รักษาธรรมบัญญัติทั้งหมด แต่ผิดอยู่ข้อเดียว คนนั้นก็ทำผิดธรรมบัญญัติทั้งหมด” (ยากอบ 2:10) {MB 51.2}
It is not the greatness of the act of disobedience that constitutes sin, but the fact of variance from God’s expressed will in the least particular; for this shows that there is yet communion between the soul and sin. The heart is divided in its service. There is a virtual denial of God, a rebellion against the laws of His government. {MB 51.3}
ไม่ใช่เพียงแต่การฝ่าฝืนอย่างใหญ่หลวงที่จะนับว่าเป็นความบาป แต่ความบาปคือการเบนเบี่ยงแม้เล็กน้อยจากน้ำพระทัยของพระเจ้าที่ทรงเปิดเผยให้เรา เพราะการทำเช่นนั้นแสดงว่าใจคนนั้นยังติดพันอยู่กับความบาป เป็นข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย ซึ่งเท่ากับเป็นการปฏิเสธพระเจ้า และตั้งตัวกบฏต่อการปกครองของพระองค์ {MB 51.3}
Were men free to depart from the Lord’s requirements and to set up a standard of duty for themselves, there would be a variety of standards to suit different minds and the government would be taken out of the Lord’s hands. The will of man would be made supreme, and the high and holy will of God–His purpose of love toward His creatures–would be dishonored, disrespected. {MB 51.4}
ถ้าปล่อยให้มนุษย์ตั้งมาตรฐานปฏิบัติกันเอง ก็คงมีมาตรฐานมากมายตามแต่ใจใครจะตั้งขึ้น แล้วการปกครองของพระเจ้าจะอยู่ที่ไหน ความปรารถนาของคนคงจะถูกยกชูไว้สูง และมนุษย์จะดูหมิ่นดูแคลนน้ำพระทัยอันบริสุทธิ์และสูงส่งของพระเจ้าที่ทรงมุ่งหวังด้วยความรักต่อผู้ที่พระองค์ทรงสร้าง {MB 51.4}
Whenever men choose their own way, they place themselves in controversy with God. They will have no place in the kingdom of heaven, for they are at war with the very principles of heaven. In disregarding the will of God, they are placing themselves on the side of Satan, the enemy of God and man. Not by one word, not by many words, but by every word that God has spoken, shall man live. We cannot disregard one word, however trifling it may seem to us, and be safe. There is not a commandment of the law that is not for the good and happiness of man, both in this life and in the life to come. In obedience to God’s law, man is surrounded as with a hedge and kept from the evil. He who breaks down this divinely erected barrier at one point has destroyed its power to protect him; for he has opened a way by which the enemy can enter to waste and ruin. {MB 52.1}
ทุกครั้งที่มนุษย์เลือกทางเดินของเขาเอง ก็เท่ากับเป็นการขัดแย้งกับพระเจ้า เขาจะไม่มีส่วนในแผ่นดินสวรรค์ เพราะเขาต่อสู้หลักการสวรรค์นั่นเอง เมื่อเขาเพิกเฉยต่อน้ำพระทัยของพระเจ้า ก็เท่ากับเข้าไปอยู่ฝ่ายเดียวกับซาตานผู้เป็นศัตรูของพระเจ้าและมนุษย์ ไม่ใช่คำใดคำหนึ่ง หรือพระวจนะส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่มนุษย์จะดำรงซึ่งชีวิตโดยพระวจนะทุกคำที่พระเจ้าตรัส ที่จะเพิกเฉยต่อพระวจนะแม้แต่คำเดียวเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ไม่ปลอดภัย เพราะไม่มีพระบัญชาข้อใดในธรรมบัญญัติที่ไม่เอื้ออำนวยให้มนุษย์มีความสุข ทั้งในโลกปัจจุบันและในชีวิตภายภาคหน้า เมื่อมนุษย์ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติของพระเจ้า เขาก็จะมีแนวป้องกันโดยรอบ ที่คอยคุ้มครองเขาจากความชั่วร้าย ถ้าใครรื้อแนวป้องกันที่พระองค์ทรงตั้งขึ้นนี้ในจุดใดจุดหนึ่งออกไป มันก็ไม่อาจคุ้มกันเขาได้อีกแล้ว เพราะเขาได้เปิดช่องทางให้ศัตรูเข้ามาทำลายตัวเขาเอง {MB 52.1}
By venturing to disregard the will of God upon one point, our first parents opened the floodgates of woe upon the world. And every individual who follows their example will reap a similar result. The love of God underlies every precept of His law, and he who departs from the commandment is working his own unhappiness and ruin. {MB 52.2}
เมื่อมนุษย์คู่แรกได้พลาดพลั้ง ไม่ใส่ใจในเรื่องเดียวที่เป็นน้ำพระทัยของพระเจ้า ความทุกข์จึงทะลักเข้ามาท่วมท้นโลกมนุษย์ ทุกคนที่ทำตามแบบอย่างนี้ก็จะได้เก็บเกี่ยวผลเดียวกัน ความรักของพระเจ้าเป็นบรรทัดฐานแห่งธรรมบัญญัติทุกข้อ ผู้ใดละทิ้งพระบัญญัติก็กำลังรนหาที่ {MB 52.2}
“Except your righteousness shall exceed the righteousness of the scribes and Pharisees, ye shall in no case enter into the kingdom of heaven.” Matthew 5:20. The scribes and Pharisees had accused not only Christ but His disciples as sinners because of their disregard of the rabbinical rites and observances. Often the disciples had been perplexed and troubled by censure and accusation from those whom they had been accustomed to revere as religious teachers. Jesus unveiled the deception. He declared that the righteousness upon which the Pharisees set so great value was worthless. The Jewish nation had claimed to be the special, loyal people who were favored of God; but Christ represented their religion as devoid of saving faith. All their pretensions of piety, their human inventions and ceremonies, and even their boasted performance of the outward requirements of the law, could not avail to make them holy. They were not pure in heart or noble and Christlike in character. {MB 53.1}
“ถ้าความชอบธรรมของท่านไม่มากกว่าความชอบธรรมของพวกธรรมาจารย์และพวกฟาริสี พวกท่านจะไม่มีวันได้เข้าสู่แผ่นดินสวรรค์” (มัทธิว 5:20) พวกธรรมาจารย์กับพวกฟาริสีไม่ได้เพียงแต่กล่าวหาพระคริสต์เท่านั้น แต่ได้กล่าวหาเหล่าสาวกด้วยว่าเป็นคนบาปเพราะไม่เอาใจใส่ต่อข้อหยุมหยิมของพิธีกรรมต่างๆ ที่พวกเขากำหนดขึ้น มีบ่อยครั้งที่สาวกต้องถึงกับงงงันและเป็นทุกข์ใจเพราะถูกตำหนิโดยคนที่เขาเคยนับถือในฐานะผู้สอนศาสนา แต่พระเยซูทรงเปิดโปงผู้นำศาสนาเหล่านั้น ตรัสว่า สิ่งที่พวกฟาริสีตั้งค่าไว้สูงที่แท้ก็ไร้ค่า ชนชาติยิวได้อวดอ้างตนว่า เป็นชนชาติพิเศษเพราะพวกเขาจงรักภักดีต่อพระเจ้าและพระองค์ทรงโปรดปรานเขาทั้งหลาย แต่พระคริสต์ทรงสอนว่าการนับถือศาสนาของชาวยิวนั้นขาดความเชื่อที่จะช่วยนำให้พวกเขารอดได้ การที่จะคุยโตโอ้อวดว่าตนธรรมะธัมโมเพราะได้เข้าสู่พิธีกรรมมากมายและถือปฏิบัติตามธรรมบัญญัติอย่างเคร่งครัด ก็ไม่สามารถช่วยให้เขาเป็นคนบริสุทธิ์ขึ้นมาได้ เพราะเขาทำแต่ภายนอก ใจนั้นไม่ได้บริสุทธิ์ ไม่มีความสง่างามตามแบบพระลักษณะนิสัยของพระเยซูคริสต์ {MB 53.1}
A legal religion is insufficient to bring the soul into harmony with God. The hard, rigid orthodoxy of the Pharisees, destitute of contrition, tenderness, or love, was only a stumbling block to sinners. They were like the salt that had lost its savor; for their influence had no power to preserve the world from corruption. The only true faith is that which “worketh by love” (Galatians 5:6) to purify the soul. It is as leaven that transforms the character. {MB 53.2}
ศาสนาที่เพียงแต่ถือปฏิบัติตามศีลข้อบังคับอย่างเดียว ไม่อาจนำจิตวิญญาณให้เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าได้ คนบาปทั้งหลายสะดุดเมื่อเห็นพวกฟาริสีถือตามกฎตามศีลอย่างเคร่งครัด แต่ไม่มีการสำนึกผิด ไม่มีความสุภาพอ่อนโยนหรือความรัก พวกฟาริสีเหมือนเกลือที่หมดรสเค็ม เพราะอิทธิพลของพวกเขาไม่ได้ช่วยผดุงโลกไว้จากความเสื่อมทราม แต่ความเชื่อที่แท้จริงเป็นความเชื่อ “อันแสดงออกด้วยความรัก” (กาลาเทีย 5:6 TNCV) เพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ เป็นดังเชื้อแป้งที่คอยเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยทั้งหมด {MB 53.2}
All this the Jews should have learned from the teachings of the prophets. Centuries before, the cry of the soul for justification with God had found voice and answer in the words of the prophet Micah: “Wherewith shall I come before the Lord, and bow myself before the high God? shall I come before Him with burnt offerings, with calves of a year old? Will the Lord be pleased with thousands of rams, or with ten thousands of rivers of oil? . . . He hath showed thee, O man, what is good; and what doth the Lord require of thee, but to do justly, and to love mercy, and to walk humbly with thy God?” Micah 6:6-8. {MB 53.3}
ชาวยิวน่าจะได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้จากคำสอนของบรรดาผู้เผยพระวจนะ หลายศตวรรษก่อนหน้านั้น ผู้เผยพระวจนะมีคาห์ได้สนองความปรารถนาที่จะมีความชอบธรรมจำเพาะพระเจ้าโดยกล่าวว่า “ข้าพเจ้าจะนำอะไรเข้ามาเฝ้าพระเจ้า และกราบไหว้พระเจ้าเบื้องสูง ควรข้าพเจ้าเข้าเฝ้าพระองค์ด้วยเครื่องเผาบูชาหรือ ด้วยลูกวัวอายุหนึ่งขวบหลายตัวหรือ พระเจ้าจะทรงพอพระทัยการถวายแกะเป็นพันๆ ตัว และธารน้ำมันหลายหมื่นสายหรือ…มนุษย์เอ๋ย พระองค์ทรงสำแดงแก่เจ้าแล้วว่าอะไรดี และพระเจ้าทรงมีพระประสงค์อะไรจากเจ้า นอกจากให้กระทำความยุติธรรมและรักสัจกรุณา และดำเนินชีวิตด้วยความถ่อมใจไปกับพระเจ้าของเจ้า” (มีคาห์ 6:6-8 ฉบับปี 1971) {MB 53.3}
The prophet Hosea had pointed out what constitutes the very essence of Pharisaism, in the words, “Israel is an empty vine, he bringeth forth fruit unto himself.” Hosea 10:1. In their professed service to God, the Jews were really working for self. Their righteousness was the fruit of their own efforts to keep the law according to their own ideas and for their own selfish benefit. Hence it could be no better than they were. In their endeavor to make themselves holy, they were trying to bring a clean thing out of an unclean. The law of God is as holy as He is holy, as perfect as He is perfect. It presents to men the righteousness of God. It is impossible for man, of himself, to keep this law; for the nature of man is depraved, deformed, and wholly unlike the character of God. The works of the selfish heart are “as an unclean thing;” and “all our righteousnesses are as filthy rags.” Isaiah 64:6. {MB 54.1}
ผู้เผยพระวจนะโฮเชยาสรุปแก่นสารความเป็นฟาริสีว่า “อิสราเอลเป็นเถาองุ่นที่เปล่าประโยชน์ ซึ่งเกิดผลสำหรับตัวเขาเอง” (โฮเชยา 10:1 TKJV) ในภารกิจรับใช้ทั้งหมดที่ชาวยิวอ้างว่าทำเพื่อพระเจ้า ที่แท้พวกเขาทำเพื่อตัวเอง ความชอบธรรมที่เขามีเป็นผลของการพยายามรักษาธรรมบัญญัติตามความคิดและเพื่อประโยชน์ของพวกเขาเอง ดังนั้นมันก็ไม่ได้ดีไปกว่าตัวเขาแต่อย่างใด ที่พวกเขาอุตส่าห์ทำให้ตัวเองบริสุทธิ์ ก็ไม่ต่างกับการนำความบริสุทธิ์ออกจากสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ธรรมบัญญัติของพระเจ้ามีความบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์เท่ากับพระองค์เอง มีความสมบูรณ์แบบเหมือนที่พระองค์ทรงสมบูรณ์แบบ ธรรมบัญญัตินั้น เปิดเผยให้มนุษย์เห็นถึงความชอบธรรมของพระเจ้า เป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์คนใดจะรักษาธรรมบัญญัติได้ด้วยลำพังตัวเอง เพราะโดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์เสื่อมทราม มีจิตใจพิกลพิการ แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากพระอุปนิสัยของพระเจ้า ‘การกุศล’ ที่ทำมาจากใจที่เห็นแก่ตัว “เป็นเหมือนสิ่งที่เป็นมลทิน และความชอบธรรมทั้งหมดของพวกข้าพระองค์เหมือนเสื้อผ้าสกปรก” (อิสยาห์ 64:6) {MB 54.1}
While the law is holy, the Jews could not attain righteousness by their own efforts to keep the law. The disciples of Christ must obtain righteousness of a different character from that of the Pharisees, if they would enter the kingdom of heaven. God offered them, in His Son, the perfect righteousness of the law. If they would open their hearts fully to receive Christ, then the very life of God, His love, would dwell in them, transforming them into His own likeness; and thus through God’s free gift they would possess the righteousness which the law requires. But the Pharisees rejected Christ; “being ignorant of God’s righteousness, and going about to establish their own righteousness” (Romans 10:3), they would not submit themselves unto the righteousness of God. {MB 54.2}
ธรรมบัญญัตินั้นบริสุทธิ์ แต่ชาวยิวไม่อาจเข้าถึงความชอบธรรมได้ด้วยการเพียรพยายามรักษาธรรมบัญญัติ ถ้าจะเข้าแผ่นดินสวรรค์สาวกของพระคริสต์จะต้องมีความชอบธรรมที่แตกต่างไปจากความชอบธรรมของพวกฟาริสี พระเจ้าทรงประทานความชอบธรรมอันสมบูรณ์แบบแห่งธรรมบัญญัติโดยผ่านพระบุตร ถ้าพวกเขายอมเปิดหัวใจทั้งหมดรับเอาพระคริสต์ แล้วชีวิตและความรักขององค์พระผู้เป็นเจ้าเองจะดำรงอยู่ในใจ คอยเปลี่ยนแปลงพวกเขาตามพระลักษณะของพระองค์ เหตุฉะนี้ โดยผ่านของประทานจากพระเจ้าที่ทรงให้โดยไม่คิดมูลค่า สาวกจึงมีความชอบธรรมตามที่ธรรมบัญญัติกำหนดไว้ แต่พวกฟาริสีปฏิเสธพระคริสต์ “เพราะเขาไม่รู้จักความชอบธรรมของพระเจ้า แต่อุตส่าห์ตั้งความชอบธรรมของตนขึ้น พวกเขาจึงไม่ยอมอยู่ในความชอบธรรมของพระเจ้า” (โรม 10:3) {MB 54.2}
Jesus proceeded to show His hearers what it means to keep the commandments of God–that it is a reproduction in themselves of the character of Christ. For in Him, God was daily made manifest before them. {MB 55.1}
ต่อจากนั้นพระเยซูเริ่มอธิบายว่าการรักษาพระบัญญัติของพระเจ้ามีความหมายอย่างไร คือการถอดแบบพระอุปนิสัยของพระคริสต์ เพราะเมื่อพระเยซูประทับท่ามกลางสาวก พวกเขาได้เห็นถึงพระลักษณะของพระเจ้าทุกวัน {MB 55.1}
“Everyone who is angry with his brother shall be in danger of the judgment.” Matthew 5:22, R.V. Through Moses the Lord had said, “Thou shalt not hate thy brother in thine heart. . . . Thou shalt not avenge, nor bear any grudge against the children of thy people, but thou shalt love thy neighbor as thyself.” Leviticus 19:17, 18. The truths which Christ presented were the same that had been taught by the prophets, but they had become obscured through hardness of heart and love of sin. {MB 55.2}
“ถ้าผู้ใดโกรธเคืองพี่น้องของตนจะถูกตัดสินลงโทษ” (มัทธิว 5:22 TNCV) พระเจ้าตรัสผ่านโมเสสว่า “อย่ามีใจเกลียดชังพี่น้องของเจ้า…อย่าหาทางแก้แค้นหรืออาฆาตจองเวรคนใดในหมู่ประชากรของเจ้า แต่จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง” (เลวีนิติ 19:17-18 TNCV) สัจธรรมที่พระคริสต์สอนเป็นเรื่องเดียวกันที่บรรดาผู้เผยพระวจนะเคยสอน แต่จิตใจที่แข็งกระด้าง ลุ่มหลงในความบาป ได้บดบังสิ่งเหล่านี้ไว้ {MB 55.2}
The Saviour’s words revealed to His hearers the fact that, while they were condemning others as transgressors, they were themselves equally guilty; for they were cherishing malice and hatred. {MB 55.3}
ถ้อยคำของพระผู้ช่วยให้รอดได้สำแดงความเป็นจริงแก่ผู้ฟัง ขณะที่พวกเขากล่าวโทษคนอื่นว่าผิดธรรมบัญญัติ พวกเขาก็มีความผิดไม่ต่างกับคนที่ตนกล่าวหาเพราะในใจยังมีความอาฆาตมาดร้ายอยู่ {MB 55.3}
Across the sea from the place where they were assembled was the country of Bashan, a lonely region, whose wild gorges and wooded hills had long been a favorite lurking ground for criminals of all descriptions. Reports of robbery and murder committed there were fresh in the minds of the people, and many were zealous in denouncing these evildoers. At the same time they were themselves passionate and contentious; they cherished the most bitter hatred of their Roman oppressors and felt themselves at liberty to hate and despise all other peoples, and even their own countrymen who did not in all things conform to their ideas. In all this they were violating the law which declares, “Thou shalt not kill.” {MB 56.1}
จากจุดนั้นที่ประชาชนชุมนุมกัน ฟากฝั่งทะเลตรงกันข้ามคือดินแดนบาชาน เป็นเขตเปลี่ยว มีช่องเขาคดเคี้ยวขรุขระสลับป่าเขา เป็นที่ซุกซ่อนของโจรอันธพาลทุกรูปแบบ ข่าวเรื่องฆาตกรรมและการปล้นชิงทรัพย์ที่นั่น เป็นที่ชินหูของประชาชน มีหลายคนที่กำลังฟังพระเยซูอยู่ในเช้าวันนั้นที่ชอบออกปากประณามคนทำชั่วเหล่านั้น แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขาเองยังเป็นคนใจร้อนและชอบทะเลาะวิวาท ผูกพยาบาทชาวโรมผู้กดขี่ และถือว่าตนเป็นอิสระที่จะเกลียดชังและดูถูกคนต่างชาติทั้งหมด และแม้แต่คนชาติเดียวกันที่ไม่เป็นไปตามใจของตน ในเรื่องเหล่านี้พวกเขาผิดธรรมบัญญัติที่กล่าวว่า “อย่าฆ่าคน” {MB 56.1}
The spirit of hatred and revenge originated with Satan, and it led him to put to death the Son of God. Whoever cherishes malice or unkindness is cherishing the same spirit, and its fruit will be unto death. In the revengeful thought the evil deed lies enfolded, as the plant in the seed. “Whosoever hateth his brother is a murderer: and ye know that no murderer hath eternal life abiding in him.” 1 John 3:15. {MB 56.2}
ความจงเกลียดจงชังและการแก้แค้นเริ่มต้นจากซาตาน จนมันฆ่าพระบุตรของพระเจ้า ใครที่ผูกพยาบาทหรือคิดร้ายต่อคนอื่นกำลังเพาะพันธุ์ความชั่วแบบเดียวกัน ซึ่งผลสุดท้ายคือความตาย การกระทำที่ชั่วร้ายปิดซ่อนอยู่ในภายใต้ความเคียดแค้น เหมือนต้นพืชที่ซ่อนอยู่ในเมล็ด “ผู้ที่เกลียดชังพี่น้องของตนก็เป็นผู้ฆ่าคน และพวกท่านก็รู้อยู่แล้วว่าผู้ฆ่าคนนั้นไม่มีชีวิตนิรันดร์ดำรงอยู่ในตัวเขาเลย” (1 ยอห์น 3:15) {MB 56.2}
“Whosoever shall say to his brother, Raca [vain fellow], shall be in danger of the council.” In the gift of His Son for our redemption, God has shown how high a value He places upon every human soul, and He gives to no man liberty to speak contemptuously of another. We shall see faults and weaknesses in those about us, but God claims every soul as His property–His by creation, and doubly His as purchased by the precious blood of Christ. All were created in His image, and even the most degraded are to be treated with respect and tenderness. God will hold us accountable for even a word spoken in contempt of one soul for whom Christ laid down His life. {MB 56.3}
“ใครพูดกับพี่น้องอย่างเหยียดหยาม คนนั้นจะต้องถูกนำไปยังศาลสูงให้พิพากษา” เมื่อพระเจ้าประทานพระบุตรของพระองค์เพื่อไถ่เราให้พ้นโทษของความบาป พระองค์ได้สอนว่ามนุษย์ทุกคนมีคุณค่าสูงเพียงไรในสายพระเนตรของพระองค์ พระเจ้าไม่ได้ให้สิทธิ์มนุษย์ที่จะพูดกล่าวดูถูกคนอื่นถึงแม้ว่าเราจะเห็นข้อบกพร่องและจุดด้อยของคนรอบข้างก็ตาม แต่พระเจ้าทรงถือว่า มนุษย์ทุกคนเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ ด้วยเหตุผลสองประการ คือหนึ่งเพราะพระองค์เป็นพระผู้สร้าง และสองเพราะพระองค์ทรงไถ่มนุษย์ทุกคนด้วยพระโลหิตอันประเสริฐของพระคริสต์ ทุกคนถูกสร้างมาตามพระฉายาของพระเจ้า และแม้แต่คนที่เสื่อมทรามที่สุด เราก็ยังควรให้เกียรติด้วยความสุภาพอ่อนโยน พระเจ้าจะพิพากษาเราในทุกคำที่เราดูถูกคนอื่นเพราะพระคริสต์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เขาเช่นกัน {MB 56.3}
“Who maketh thee to differ from another? and what hast thou that thou didst not receive? now if thou didst receive it, why dost thou glory, as if thou hadst not received it?” “Who art thou that judgest another man’s servant? to his own master he standeth or falleth.” 1 Corinthians 4:7; Romans 14:4. {MB 57.1}
“เพราะใครเล่าทำให้ท่านผิดแผกจากคนอื่น? สิ่งที่ท่านมีอยู่นั้นมีอะไรบ้างที่ท่านไม่ได้รับมา? และถ้าท่านได้รับสิ่งเหล่านั้นมาจริงแล้ว ทำไมจึงพูดโอ้อวดราวกับว่าท่านไม่ได้รับมา?” “ท่านเป็นใครเล่าที่จะตัดสินบ่าวของคนอื่น? เขาจะได้ดีหรือล้มเหลวก็แล้วแต่นายของเขา และเขาจะได้ดีเพราะองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงสามารถทำให้เขาได้ดี” (1 โครินธ์ 4:7 TNCV; โรม 14:4 TNCV) {MB 57.1}
“Whosoever shall say, Thou fool, shall be in danger of the hell of fire.” R.V. In the Old Testament the word “fool” is used to designate an apostate, or one who has abandoned himself to wickedness. Jesus says that whoever shall condemn his brother as an apostate or a despiser of God shows that he himself is worthy of the same condemnation. {MB 57.2}
“ถ้าผู้ใดพูดว่า ‘ไอ้โง่!’ อาจจะต้องโทษถึงไฟนรก” (มัทธิว 5:22 TNCV) ในพระคัมภีร์เดิมคำว่า “คนโง่” หมายถึงคนนอกศาสนา หรือคนที่ปล่อยตัวในการทำบาป พระเยซูสอนว่าผู้ที่กล่าวโทษพี่น้องว่า ไม่มีศาสนาหรือว่าหมิ่นประมาทพระเจ้า สมควรได้รับโทษเช่นเดียวกับคนที่ตนกล่าวหา {MB 57.2}
Christ Himself, when contending with Satan about the body of Moses, “durst not bring against him a railing accusation.” Jude 9. Had He done this, He would have placed Himself on Satan’s ground, for accusation is the weapon of the evil one. He is called in Scripture, “the accuser of our brethren.” Revelation 12:10. Jesus would employ none of Satan’s weapons. He met him with the words, “The Lord rebuke thee.” Jude 9. {MB 57.3}
แม้แต่พระเยซูคริสต์ “เมื่อโต้แย้งกับมารเรื่องศพของโมเสสก็ยังไม่กล้าล่วงเกินกล่าวหามารเลย” (ยูดา 1:9 TNCV) หากพระองค์ได้ทำเช่นนั้น พระองค์ก็จะตกอยู่ฝ่ายซาตาน เพราะการกล่าวหาและการลบหลู่เป็นอาวุธของซาตาน พระคัมภีร์ได้ขนานนามให้ซาตานว่า “เป็นผู้กล่าวหาพี่น้องของเรา” (วิวรณ์ 12:10) แต่พระเยซูไม่ยอมใช้อาวุธของซาตาน เพียงแต่ตอบมารว่า “ให้องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงขนาบเจ้าเถิด” (ยูดา 1:9 ฉบับปี 1971) {MB 57.3}
His example is for us. When we are brought in conflict with the enemies of Christ, we should say nothing in a spirit of retaliation or that would bear even the appearance of a railing accusation. He who stands as a mouthpiece for God should not utter words which even the Majesty of heaven would not use when contending with Satan. We are to leave with God the work of judging and condemning. {MB 57.4}
พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างให้เรา เมื่อมีการขัดแย้งกับศัตรูของพระคริสต์ เราไม่ควรพูดอะไรที่เป็นการตอบโต้หรือมีลักษณะเหมือนการ “ล่วงเกินกล่าวหา” ในฐานะที่เป็นคนพูดแทนพระเจ้า เราไม่ควรใช้คำที่แม้แต่พระเจ้าสูงสุดไม่ยอมใช้เมื่อโต้แย้งกับซาตาน ขอให้หน้าที่การพิพากษากล่าวโทษเป็นของพระเจ้าเถิด {MB 57.4}
“Be reconciled to thy brother.” Matthew 5:24. The love of God is something more than a mere negation; it is a positive and active principle, a living spring, ever flowing to bless others. If the love of Christ dwells in us, we shall not only cherish no hatred toward our fellows, but we shall seek in every way to manifest love toward them. {MB 58.1}
“จง…กลับคืนดีกับพี่น้อง” (มัทธิว 5:24) ความรักของพระเจ้าไม่ใช่พลังในเชิงลบ แต่เป็นหลักการที่ขับเคลื่อนในเชิงบวก เป็นน้ำพุที่มีชีวิต อำนวยพระพรให้ผู้อื่น ถ้าความรักของพระคริสต์ดำรงอยู่ในเราแล้ว เราจะไม่มีความเกลียดชังต่อเพื่อนมนุษย์ แต่เราจะหาทุกวิถีทางที่จะแสดงความรักแก่เขา {MB 58.1}
Jesus said, “If thou bring thy gift to the altar, and there rememberest that thy brother hath aught against thee; leave there thy gift before the altar, and go thy way; first be reconciled to thy brother, and then come and offer thy gift.” The sacrificial offerings expressed faith that through Christ the offerer had become a partaker of the mercy and love of God. But for one to express faith in God’s pardoning love, while he himself indulged an unloving spirit, would be a mere farce. {MB 58.2}
พระเยซูตรัสว่า “ถ้าท่านนำเครื่องบูชามาถึงแท่นบูชาแล้ว และระลึกขึ้นได้ว่า พี่น้องมีเหตุขัดเคืองข้อหนึ่งข้อใดกับท่าน จงวางเครื่องบูชาไว้ที่หน้าแท่นบูชา และกลับไปคืนดีกับพี่น้องผู้นั้นเสียก่อน แล้วจึงค่อยมาถวายเครื่องบูชาของท่าน” (มัทธิว 5:23-24) เมื่อชาวยิวถวายบูชาตามแบบที่พระเจ้าทรงวางไว้ เป็นการแสดงออกถึงความเชื่อว่า โดยผ่านพระคริสต์แล้ว ผู้ที่ถวายบูชานั้นได้รับพระเมตตาและความรักจากพระเจ้า แต่การที่จะแสดงออกถึงความเชื่อในความรักของพระเจ้าที่ทรงอภัยความบาปของเขา และในขณะเดียวกันยังเกลียดชังคนอื่นอยู่ ก็เหมือนการเสแสร้งหรือการเล่นละครเท่านั้นเอง {MB 58.2}
When one who professes to serve God wrongs or injures a brother, he misrepresents the character of God to that brother, and the wrong must be confessed, he must acknowledge it to be sin, in order to be in harmony with God. Our brother may have done us a greater wrong than we have done him, but this does not lessen our responsibility. If when we come before God we remember that another has aught against us, we are to leave our gift of prayer, of thanksgiving, of freewill offering, and go to the brother with whom we are at variance, and in humility confess our own sin and ask to be forgiven. {MB 58.3}
เมื่อคนที่แสดงตัวเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้าทำผิดต่อพี่น้องคนหนึ่ง อาจเป็นเหตุให้คนนั้นเข้าใจพระลักษณะของพระเจ้าผิดไป เขาต้องสารภาพความผิดนั้นและยอมรับว่านั่นเป็นความบาป เพื่อเขาจะมีความสอดคล้องกับน้ำพระทัยของพระเจ้าได้ พี่น้องคนนั้นอาจจะทำผิดต่อเราหนักกว่าที่เราทำต่อเขา แต่นั่นไม่ได้ลดความรับผิดชอบของเราแต่อย่างใด เมื่อเรามาหาพระเจ้าและระลึกได้ว่า มีคนที่มีเหตุขัดเคืองใจกับเรา เราก็ควรหยุดอธิษฐาน การขอบคุณหรือการถวายเอาไว้ก่อน และไปหาพี่น้องคนนั้น สารภาพความผิดและขอการอภัยจากเขา {MB 58.3}
If we have in any manner defrauded or injured our brother, we should make restitution. If we have unwittingly borne false witness, if we have misstated his words, if we have injured his influence in any way, we should go to the ones with whom we have conversed about him, and take back all our injurious misstatements. {MB 59.1}
ถ้าเราได้โกงพี่น้องหรือทำให้เขาได้รับความเสียหาย เราก็ควรชดใช้ ถ้าเคยบิดเบือนคำพูดของพี่น้อง หรือใส่ร้ายเขาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็ควรไปหาคนๆ นั้น และถอนคำพูดทุกคำที่สร้างความเสียหายให้หมดสิ้น {MB 59.1}
If matters of difficulty between brethren were not laid open before others, but frankly spoken of between themselves in the spirit of Christian love, how much evil might be prevented! How many roots of bitterness whereby many are defiled would be destroyed, and how closely and tenderly might the followers of Christ be united in His love! {MB 59.2}
คงป้องกันความชั่วไว้ได้ไม่น้อยทีเดียว ถ้าเมื่อไหร่ที่พี่น้องมีปัญหากัน แทนที่จะติฉินนินทาหรือแพร่งพรายปัญหานั้นอยู่ลับหลัง ก็หันหน้าเข้าหากันและคุยกันอย่างตรงไปตรงมาด้วยความรักของคริสเตียน รากขมขื่นที่ “ทำให้คนเป็นอันมากแปดเปื้อนมลทิน” (ฮีบรู 12:15 TNCV) จะถูกถอนขึ้นเป็นจำนวนมาก และสาวกของพระคริสต์จะกลมเกลียวกันในความรักของพระองค์ {MB 59.2}
“Whosoever looketh on a woman to lust after her hath committed adultery with her already in his heart.” Matthew 5:28. The Jews prided themselves on their morality and looked with horror upon the sensual practices of the heathen. The presence of the Roman officers whom the imperial rule had brought into Palestine was a continual offense to the people, for with these foreigners had come in a flood of heathen customs, lust, and dissipation. In Capernaum, Roman officials with their gay paramours haunted the parades and promenades, and often the sound of revelry broke upon the stillness of the lake as their pleasure boats glided over the quiet waters. The people expected to hear from Jesus a stern denunciation of this class, but what was their astonishment as they listened to words that laid bare the evil of their own hearts! {MB 59.3}
“ผู้ใดมองดูผู้หญิงด้วยใจกำหนัดก็ได้ล่วงประเวณีกับนางในใจของเขาแล้ว” (มัทธิว 5:28 TNCV) ชาวยิวมีความภาคภูมิใจที่ได้อยู่ในศีลในธรรมและรู้สึกรังเกียจเมื่อเห็นคนต่างชาติประพฤติผิดในกาม พวกเขามีความขุ่นเคืองที่เห็นธรรมเนียมของคนต่างชาติซึ่งเสพสุขตามราคะตัณหาทะลักเข้ามาพร้อมกับพวกทหารชาวโรมันที่มาปกครองปาเลสไตน์ในนามจักรพรรดิ ณ เมืองคาเปอรนาอุม ภาพนายทหารโรมันกับชู้รักเคล้าเคลียเดินอวดตัวกันไปมาอยู่ต่อหน้าพวกเขาทุกเมื่อเชื่อวัน บ่อยครั้งจะได้ยินเสียงเฮฮาเข้ามากระทบความเงียบสงบของทะเลสาบขณะที่เรือท่องเที่ยวของคนพวกนั้นลอยผ่านไปบนผิวน้ำที่ราบเรียบสงบนิ่ง ฉะนั้นประชาชนคาดว่าพระเยซูจะประณามคนเหล่านี้อย่างรุนแรง แต่ก็ต้องตกใจเมื่อพระองค์เผยให้เห็นความชั่วในใจของพวกเขาเอง {MB 59.3}
When the thought of evil is loved and cherished, however secretly, said Jesus, it shows that sin still reigns in the heart. The soul is still in the gall of bitterness and in the bond of iniquity. He who finds pleasure in dwelling upon scenes of impurity, who indulges the evil thought, the lustful look, may behold in the open sin, with its burden of shame and heart-breaking grief, the true nature of the evil which he has hidden in the chambers of the soul. The season of temptation, under which, it may be, one falls into grievous sin, does not create the evil that is revealed, but only develops or makes manifest that which was hidden and latent in the heart. As a man “thinketh in his heart, so is he;” for out of the heart “are the issues of life.” Proverbs 23:7; 4:23. {MB 60.1}
พระเยซูตรัสว่า เมื่อคนใดฝักใฝ่อยู่กับความคิดที่ชั่วร้าย ถึงจะเป็นความลับก็ตาม ก็ยังแสดงว่าความบาปยังครองใจเขาอยู่ จิตใจที่ขมขื่นยังเป็นทาสของความผิดบาป คนที่ชอบคิดจินตนาการในสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์และมองคนอื่นด้วยใจกำหนัดในกาม จะสำนึกถึงธาตุแท้ของความชั่วที่ซุกซ่อนในใจ เมื่อมีคนที่คิดแบบเดียวกับเขาถูกเปิดโปงความชั่วนั้นออกมาให้อับอายขายหน้าและระทมทุกข์ การทดลองที่อยู่เบื้องหลังของการทำบาปร้ายแรง ไม่ได้เป็นเหตุก่อความชั่วที่ปรากฏนั้น มันเพียงแต่เปิดโปงสิ่งที่ซ่อนเร้นในใจ ด้วยว่ามนุษย์ “คิดในใจอย่างไร เขาก็เป็นอย่างนั้น” “จงรักษาใจของเจ้าด้วยความระวังระไวรอบด้าน เพราะแหล่งแห่งชีวิตเริ่มต้นออกมาจากใจ” (สุภาษิต 23:7 TKJV; 4:23 TKJV {MB 60.1}
“If thy right hand causeth thee to stumble, cut it off, and cast it from thee.” Matthew 5:30, R.V. To prevent disease from spreading to the body and destroying life, a man would submit to part even with his right hand. Much more should he be willing to surrender that which imperils the life of the soul. {MB 60.2}
“ถ้ามือข้างขวาของท่านทำให้ตัวท่านหลงผิด จงตัดทิ้งเสีย” (มัทธิว 5:30 TSV) เพื่อป้องกันไม่ให้โรคร้ายขยายจนทำลายไปทั้งชีวิต คนเราคงยอมตัดแม้กระทั่งมือขวาทิ้ง ยิ่งกว่านั้นเราก็ควรสละทิ้งสิ่งที่ทำให้จิตวิญญาณเข้าสู่อันตรายเสียด้วย {MB 60.2}
Through the gospel, souls that are degraded and enslaved by Satan are to be redeemed to share the glorious liberty of the sons of God. God’s purpose is not merely to deliver from the suffering that is the inevitable result of sin, but to save from sin itself. The soul, corrupted and deformed, is to be purified, transformed, that it may be clothed in “the beauty of the Lord our God,” “conformed to the image of His Son.” “Eye hath not seen, nor ear heard, neither have entered into the heart of man, the things which God hath prepared for them that love Him.” Psalm 90:17; Romans 8:29; 1 Corinthians 2:9. Eternity alone can reveal the glorious destiny to which man, restored to God’s image, may attain. {MB 60.3}
คนที่เสื่อมทรามและเป็นทาสของความบาปจะได้รับการไถ่เพื่อมีส่วนในอิสรภาพอันรุ่งโรจน์แห่งลูกของพระเจ้าโดยผ่านข่าวประเสริฐ ผลของความบาปที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือความทุกข์ พระเจ้าไม่เพียงแต่ประสงค์ที่จะช่วยกู้เราให้พ้นจากความทุกข์เท่านั้น แต่ช่วยเราให้รอดพ้นจากความบาปที่เป็นต้นเหตุของความทุกข์นั้นด้วย จิตใจที่แปดเปื้อนมลทินจะได้รับการชำระให้บริสุทธิ์และจะเปลี่ยนแปลงตาม “ความงามของพระเยโฮวาห์” “ให้เป็นเหมือนพระบุตรของพระองค์” “สิ่งที่ตาไม่เห็น หูไม่ได้ยิน และสิ่งที่ใจมนุษย์คิดไม่ถึง คือสิ่งที่พระเจ้าทรงจัดเตรียมไว้สำหรับคนทั้งหลายที่รักพระองค์” (สดุดี 90:17 TKJV; โรม 8:29 TNCV; 1 โครินธ์ 2:9) มีแต่ที่ชีวิตนิรันดร์เท่านั้น ที่จะเปิดเผยความทรงเกียรติซึ่งพระเจ้าทรงจัดเตรียมไว้ให้คนของพระองค์ เมื่อนั้นมนุษย์จะกลับสู่สภาพที่เป็นไปตามพระฉายาของพระองค์ {MB 60.3}
In order for us to reach this high ideal, that which causes the soul to stumble must be sacrificed. It is through the will that sin retains its hold upon us. The surrender of the will is represented as plucking out the eye or cutting off the hand. Often it seems to us that to surrender the will to God is to consent to go through life maimed or crippled. But it is better, says Christ, for self to be maimed, wounded, crippled, if thus you may enter into life. That which you look upon as disaster is the door to highest benefit. {MB 61.1}
เราต้องสละละทิ้งทุกอย่างที่เป็นเหตุให้หลงผิดเพื่อให้เราไปถึงมาตรฐานอันสูงส่งนี้ ความบาปเข้ามาครอบงำเราโดยผ่านเจตจำนงของเราเอง ส่วนตัวอย่างที่พระเยซูให้ไว้คือการควักตาและการตัดมือทิ้ง เป็นสัญลักษณ์ของการมอบเจตจำนงของเราให้พระเจ้า บ่อยครั้งคนเรารู้สึกว่า ถ้ามอบความปรารถนาให้พระเจ้าแล้ว ชีวิตคงพิกลพิการ ไม่สมบูรณ์ แต่พระเยซูตรัสว่า ที่จะมีชีวิตไม่สมประกอบก็ยังดีกว่า ถ้าด้วยเหตุนั้นทำให้เราได้เข้าสู่ชีวิตนิรันดร์ คือว่าสิ่งที่เราถือว่าย่ำแย่ที่สุด อาจกลับเป็นประตูสู่พระพรอันสูงสุด {MB 61.1}
God is the fountain of life, and we can have life only as we are in communion with Him. Separated from God, existence may be ours for a little time, but we do not possess life. “She that liveth in pleasure is dead while she liveth.” 1 Timothy 5:6. Only through the surrender of our will to God is it possible for Him to impart life to us. Only by receiving His life through self-surrender is it possible, said Jesus, for these hidden sins, which I have pointed out, to be overcome. It is possible that you may bury them in your hearts and conceal them from human eyes, but how will you stand in God’s presence? {MB 61.2}
พระเจ้าคือน้ำพุแห่งชีวิต และเราจะมีชีวิตอยู่ได้ตราบใดที่เราติดสนิทกับพระองค์ ถ้าแยกจากพระเจ้าแล้ว เราอาจอยู่ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ก็เป็นการอยู่แบบปราศจากชีวิต เหมือนข้อความที่บรรยายถึงคนที่ “อยู่เพื่อหาความสนุกเพลิดเพลินก็ตายทั้งเป็น” (1 ทิโมธี 5:6 TNCV) มีแต่การมอบเจตจำนงและความปรารถนาให้พระเจ้าเท่านั้น พระองค์จึงสามารถประทานชีวิตให้เราได้ พระเยซูสอนว่ามีทางเดียวที่จะชนะความบาปที่ซ่อนเร้น นั่นคือการรับเอาชีวิตของพระองค์ด้วยการมอบเจตจำนงนั่นเอง เราอาจปิดซ่อนความบาปไว้ในใจส่วนลึก ห่างไกลจากสายตามนุษย์ แต่เราจะยืนอยู่ต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้าได้อย่างไร {MB 61.2}
If you cling to self, refusing to yield your will to God, you are choosing death. To sin, wherever found, God is a consuming fire. If you choose sin, and refuse to separate from it, the presence of God, which consumes sin, must consume you. {MB 62.1}
ถ้าเรายังยึดถือตนเองเป็นใหญ่ ไม่ยอมมอบเจตจำนงให้พระเจ้า ก็เท่ากับเป็นการเลือกความตาย เพราะพระเจ้าทรงเป็นไฟที่เผาผลาญต่อบาปไม่ว่าบาปจะอยู่ที่ใด ถ้าเราเลือกความบาปและไม่ยอมแยกจากมัน พระเจ้าผู้ทรงเผาผลาญบาปจะทรงเผาผลาญเราด้วยเมื่อพระองค์เสด็จมา {MB 62.1}
It will require a sacrifice to give yourself to God; but it is a sacrifice of the lower for the higher, the earthly for the spiritual, the perishable for the eternal. God does not design that our will should be destroyed, for it is only through its exercise that we can accomplish what He would have us do. Our will is to be yielded to Him, that we may receive it again, purified and refined, and so linked in sympathy with the Divine that He can pour through us the tides of His love and power. However bitter and painful this surrender may appear to the willful, wayward heart, yet “it is profitable for thee.” {MB 62.2}
การที่จะมอบทั้งใจกาย ชีวิต จิตวิญญาณให้พระเจ้านั้น ต้องเสียสละ แต่เป็นการสละสิ่งเล็กเพื่อแลกเอาสิ่งที่ใหญ่กว่า และเป็นการแลกสิ่งต่างๆ ฝ่ายโลกเพื่อรับสิ่งที่เป็นฝ่ายจิตวิญญาณ ทั้งแลกสิ่งที่เน่าเปื่อยได้กับสิ่งที่ถาวรเป็นนิตย์ พระเจ้าไม่มีพระประสงค์ที่จะทำร้ายเจตจำนงของเรา เพราะมีแต่ทางเดียวที่เราจะทำในสิ่งที่พระองค์ทรงมอบหมายให้เราทำ นั่นคือด้วยการฝึกเจตจำนงของเรา เมื่อเรามอบเจตจำนงให้พระเจ้า พระองค์จะทรงชำระให้สะอาดบริสุทธิ์แล้วคืนให้แก่เราอีก และเมื่อเจตจำนงของเราเป็นไปตามน้ำพระทัยของพระองค์แล้ว พระองค์จะประทานความรักและฤทธานุภาพของพระองค์มากมายผ่านเราไปยังผู้อื่น ถึงแม้ใจที่ดื้อรั้นอาจรู้สึกว่าการเสียสละนั้นเจ็บปวดและขมขื่นมากก็ตาม แต่ก็ยังเป็น “ประโยชน์แก่ท่านมาก” (มัทธิว 5:29 TKJV) {MB 62.2}
Not until he fell crippled and helpless upon the breast of the covenant angel did Jacob know the victory of conquering faith and receive the title of a prince with God. It was when he “halted upon his thigh” (Genesis 32:31) that the armed bands of Esau were stilled before him, and the Pharaoh, proud heir of a kingly line, stooped to crave his blessing. So the Captain of our salvation was made “perfect through sufferings” (Hebrews 2:10), and the children of faith “out of weakness were made strong,” and “turned to flight the armies of the aliens” (Hebrews 11:34). So do “the lame take the prey” (Isaiah 33:23), and the weak become “as David,” and “the house of David . . . as the angel of the Lord” (Zechariah 12:8). {MB 62.3}
ยาโคบไม่รู้จักชัยชนะแห่งความเชื่อและไม่ได้รับชื่ออิสราเอล จนกระทั่งท่านฟุบตัวลงที่ทรวงอกของทูตแห่งพันธสัญญาด้วยอาการอ่อนแรงและพิการ เมื่อท่าน “เดินโขยกเขยก” นั่นแหละ ที่กองกำลังของเอซาวหยุดเคลื่อนพลต่อหน้าท่าน และกษัตริย์ฟาโรห์ พระราชาผู้เกรียงไกรได้ก้มคำนับเพื่อรับเอาพรของท่าน (ปฐมกาล 32:31; 47:10) เช่นเดียวกัน พระเจ้าทรงทำให้พระคริสต์ “ผู้ลิขิตความรอดของเขาทั้งหลายนั้นสมบูรณ์พร้อมโดยการทนทุกข์” (ฮีบรู 2:10 TNCV) “ความอ่อนแอของ [ลูกแห่งความเชื่อ] กลับเป็นความเข้มแข็ง” (ฮีบรู 11:34 TNCV) ฉะนั้น “คนง่อยก็จะเอาเหยื่อไป” (อิสยาห์ 33:23) “คนที่อ่อนแอท่ามกลางเขาในวันนั้นจะเป็นเหมือนดาวิด และราชวงศ์ของดาวิดจะเป็นเหมือน…ทูตสวรรค์ของพระเยโฮวาห์” (เศคารยาห์ 12:8 TKJV) {MB 62.3}
“Is it lawful for a man to put away his wife?” Matthew 19:3. Among the Jews a man was permitted to put away his wife for the most trivial offenses, and the woman was then at liberty to marry again. This practice led to great wretchedness and sin. In the Sermon on the Mount Jesus declared plainly that there could be no dissolution of the marriage tie, except for unfaithfulness to the marriage vow. “Everyone,” He said, “that putteth away his wife, saving for the cause of fornication, maketh her an adulteress: and whosoever shall marry her when she is put away committeth adultery.” R.V. {MB 63.1}
“ผิดบัญญัติหรือไม่ที่ผู้ชายจะขอหย่าภรรยา” (มัทธิว 19:3 TNCV) ในสังคมชาวยิวผู้ชายสามารถหย่าภรรยาได้ด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่อง และผู้หญิงก็มีสิทธิ์ที่จะแต่งงานใหม่ได้ แต่ธรรมเนียมนี้นำไปสู่บาปที่ต่ำช้า ในคำเทศนาบนภูเขาพระเยซูประกาศอย่างชัดเจนว่า จะต้องไม่มีการหย่าร้างเกิดขึ้นนอกจากว่าคู่สมรสคนใดคนหนึ่งนอกใจ “ทุกคนที่หย่าภรรยาเว้นเสียแต่เรื่องผิดศีลธรรมทางเพศ ก็ทำให้ภรรยาผิดประเวณี และผู้ที่รับผู้หญิงที่ถูกหย่าร้างก็ผิดประเวณี” (มัทธิว 19:9 แปลตามฉบับ RV) {MB 63.1}
When the Pharisees afterward questioned Him concerning the lawfulness of divorce, Jesus pointed His hearers back to the marriage institution as ordained at creation. “Because of the hardness of your hearts,” He said, Moses “suffered you to put away your wives: but from the beginning it was not so.” Matthew 19:8. He referred them to the blessed days of Eden, when God pronounced all things “very good.” Then marriage and the Sabbath had their origin, twin institutions for the glory of God in the benefit of humanity. Then, as the Creator joined the hands of the holy pair in wedlock, saying, A man shall “leave his father and his mother, and shall cleave unto his wife: and they shall be one” (Genesis 2:24), He enunciated the law of marriage for all the children of Adam to the close of time. That which the Eternal Father Himself had pronounced good was the law of highest blessing and development for man. {MB 63.2}
ต่อมาเมื่อพวกฟาริสีไต่ถามพระองค์ถึงความผิดความชอบเรื่องการหย่าร้าง พระเยซูทบทวนการสมรสที่สถาปนาตั้งแต่เริ่มแรกสร้างโลกว่า “โมเสสอนุญาตให้ท่านหย่าภรรยาของท่านเพราะใจของท่านทั้งหลายแข็งกระด้าง แต่ไม่ได้เป็นเช่นนี้ตั้งแต่ต้น” (มัทธิว 19:8 TNCV) สมัยที่บรรพบุรุษสุขสำราญในสวนเอเดนและพระเจ้าตรัสว่า ทุกสิ่งล้วนแล้วแต่ “ดีนัก” พระเจ้าสถาปนาการสมรสและวันสะบาโต เป็นสถาบันที่ควบคู่กันมาเพื่อถวายเกียรติแด่พระเจ้าและอำนวยพรแก่มนุษย์ ในวันปฐมวิวาห์พระผู้สร้างทรงประกอบพิธีให้คู่สมรสคู่แรกและตรัสว่า “เพราะเหตุนี้ผู้ชายจะละจากบิดามารดาของตนไปผูกพันกับภรรยา และพวกเขาจะเป็นเนื้อเดียวกัน” (ปฐมกาล 2:24 TNCV) นี่เป็นกฎสมรสให้กับลูกหลานอาดัมตั้งแต่นั้นมาจนอวสานกาล สิ่งที่องค์พระบิดานิรันดร์ประกาศว่าดีคือสัจธรรมที่อำนวยพระพรและช่วยพัฒนามนุษย์อย่างดีที่สุด {MB 63.2}
Like every other one of God’s good gifts entrusted to the keeping of humanity, marriage has been perverted by sin; but it is the purpose of the gospel to restore its purity and beauty. In both the Old and the New Testament the marriage relation is employed to represent the tender and sacred union that exists between Christ and His people, the redeemed ones whom He has purchased at the cost of Calvary. “Fear not,” He says; “thy Maker is thine husband; the Lord of hosts is His name; and thy Redeemer, the Holy One of Israel.” “Turn, O backsliding children, saith the Lord; for I am married unto you.” Isaiah 54:4, 5; Jeremiah 3:14. In the “Song of Songs” we hear the bride’s voice saying, “My Beloved is mine, and I am His.” And He who is to her “the chiefest among ten thousand,” speaks to His chosen one, “Thou art all fair, My love; there is no spot in thee.” Song of Solomon 2:16; 5:10; 4:7. {MB 64.1}
ความบาปได้บิดเบือนความหมายของชีวิตสมรส เหมือนพระพรทั้งหลายที่พระเจ้าประทานให้มนุษย์ แต่จุดประสงค์ของข่าวประเสริฐคือนำการสมรสให้กลับมาสู่ความบริสุทธิ์และสวยงามเหมือนเมื่อครั้งเริ่มแรก ทั้งพระคัมภีร์เดิมและพระคัมภีร์ใหม่ได้ยกตัวอย่างการสมรสมาเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างพระคริสต์กับประชากรของพระองค์ คือผู้ที่พระองค์ทรงไถ่ไว้ด้วยการสิ้นพระชนม์ ณ เนินเขาคาลวารี พระองค์ตรัสว่า “อย่ากลัวเลย เจ้าจะไม่ต้องทนอับอาย อย่ากลัวเลย เจ้าจะไม่ต้องขายหน้า เจ้าจะลืมความอัปยศในวัยสาว และไม่จดจำคำถากถางเรื่องความเป็นม่ายของเจ้าอีก เพราะพระผู้สร้างของเจ้าเป็นสามีของเจ้า” “พระนามของพระองค์คือพระเยโฮวาห์จอมโยธา และองค์บริสุทธิ์ของอิสราเอลเป็นผู้ไถ่ของเจ้า” “‘หันกลับมาเถิด ประชากรที่ไม่ซื่อสัตย์’ องค์พระผู้เป็นเจ้าประกาศดังนี้ ‘เพราะเราเป็นสามีของเจ้า’” (อิสยาห์ 54:4,5 TNCV/ฉบับ ปี 1971; เยเรมีย์ 3:14 TNCV) และในบทเพลงไพเราะของซาโลมอนเราได้ยินเสียงผู้เป็นภรรยากล่าวว่า “ที่รักของดิฉันเป็นกรรมสิทธิ์ของดิฉัน และตัวดิฉันก็เป็นของเขา” ส่วนผู้ที่ “โดดเด่นท่ามกลางคนนับหมื่น” กล่าวแก่ผู้ที่ท่านเลือกไว้ว่า “โอ ที่รักของฉันเอ๋ย เธอช่างงามหมดจดปราศจากตำหนิใดๆ ทั้งสิ้น” (เพลงซาโลมอน 2:16; 5:10; 4:7) {MB 64.1}
In later times Paul the apostle, writing to the Ephesian Christians, declares that the Lord has constituted the husband the head of the wife, to be her protector, the house-band, binding the members of the family together, even as Christ is the head of the church and the Saviour of the mystical body. Therefore he says, “As the church is subject unto Christ, so let the wives be to their own husbands in everything. Husbands, love your wives, even as Christ also loved the church, and gave Himself for it; that He might sanctify and cleanse it with the washing of water by the word, that He might present it to Himself a glorious church, not having spot, or wrinkle, or any such thing; but that it should be holy and without blemish. So ought men to love their wives.” Ephesians 5:24-28. {MB 64.2}
ต่อมาอัครสาวกเปาโลเขียนถึงคริสเตียนในเมืองเอเฟซัสว่า พระเจ้าทรงกำหนดให้สามีเป็นศีรษะของภรรยา เพื่อป้องกันและผูกพันสมาชิกครอบครัวเข้าด้วยกันเหมือนพระคริสต์ทรงเป็นศีรษะและพระผู้ช่วยให้รอดของคริสตจักรอันเปรียบเสมือนร่างกายของพระองค์ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงกล่าวว่า “คริสตจักรยอมเชื่อฟังพระคริสต์อย่างไร ภรรยาก็ควรยอมเชื่อฟังสามีทุกประการอย่างนั้น ส่วนสามีก็จงรักภรรยาของตน เหมือนพระคริสต์ทรงรักคริสตจักร และประทานพระองค์เองเพื่อคริสตจักร เพื่อจะทำให้คริสตจักรบริสุทธิ์โดยการชำระด้วยน้ำและพระวจนะ เพื่อพระองค์จะได้คริสตจักรที่มีศักดิ์ศรี ไม่มีด่างพร้อย ริ้วรอยหรือมลทินใดๆ เลย แต่บริสุทธิ์ปราศจากตำหนิ ในทำนองเดียวกัน สามีต้องรักภรรยาของตนเหมือนรักร่างกายของตัวเอง คนที่รักภรรยาของตัวเองก็รักตัวเองด้วย” (เอเฟซัส 5:24-28) {MB 64.2}
The grace of Christ, and this alone, can make this institution what God designed it should be–an agent for the blessing and uplifting of humanity. And thus the families of earth, in their unity and peace and love, may represent the family of heaven. {MB 65.1}
มีแต่พระคุณของพระคริสต์เท่านั้นสามารถทำให้ชีวิตสมรสเป็นไปตามที่พระองค์ทรงวางแผนไว้ คือเป็นวิถีทางที่จะนำพระพรและเสริมสร้างมนุษยชาติ ฉะนั้นครอบครัวที่มีความสมัครสมานสามัคคี เปี่ยมด้วยความสงบสุขและความรักจึงเป็นตัวแทนของครอบครัวสวรรค์ {MB 65.1}
Now, as in Christ’s day, the condition of society presents a sad comment upon heaven’s ideal of this sacred relation. Yet even for those who have found bitterness and disappointment where they had hoped for companionship and joy, the gospel of Christ offers a solace. The patience and gentleness which His Spirit can impart will sweeten the bitter lot. The heart in which Christ dwells will be so filled, so satisfied, with His love that it will not be consumed with longing to attract sympathy and attention to itself. And through the surrender of the soul to God, His wisdom can accomplish what human wisdom fails to do. Through the revelation of His grace, hearts that were once indifferent or estranged may be united in bonds that are firmer and more enduring than those of earth–the golden bonds of a love that will bear the test of trial. {MB 65.2}
ปัจจุบันไม่ต่างกับสมัยของพระคริสต์ สภาพสังคมเสื่อมไปมากจากอุดมการณ์ของสวรรค์ในเรื่องชีวิตคู่ กระนั้นข่าวประเสริฐของพระคริสต์ยังเป็นกำลังใจให้แม้แต่คนที่พบความขมขื่นและผิดหวัง แทนที่จะพบความสุขสำราญที่เขาฝากความหวังไว้ พระวิญญาณบริสุทธิ์จะประทานความอดทนและความสุภาพอ่อนโยนเพื่อบรรเทาความชอกช้ำระกำใจให้เกิดความชื่นฉ่ำ คนที่มีพระคริสต์สถิตในใจจะรู้สึกเอมอิ่ม มีความพึงพอใจในความรักของพระองค์ และจะไม่หมกมุ่นอยู่กับการเรียกร้องความสนใจ นอกจากนั้น เมื่อมีการมอบใจให้พระเจ้าแล้ว พระองค์จะประทานสติปัญญาให้เขา เพื่อจะสามารถทำให้สำเร็จได้ในสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ถ้าพึ่งสติปัญญาของมนุษย์ เมื่อพระคุณของพระเจ้าปรากฏ ใจคนที่เคยเฉยเมยต่อกันอาจประสานเข้ากันด้วยสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกว่าสายสัมพันธ์ของมนุษย์ คือสายสัมพันธ์แห่งความรักที่จะทนต่อความทุกข์ยากลำบากได้ {MB 65.2}
“Swear not at all.” Matthew 5:34. The reason for this command is given: We are not to swear “by the heaven, for it is the throne of God; nor by the earth, for it is the footstool of His feet; nor by Jerusalem, for it is the city of the great King. Neither shalt thou swear by thy head, for thou canst not make one hair white or black.” R.V. {MB 66.1}
“อย่าสาบานเลย” (มัทธิว 5:34) เหตุผลของพระบัญชาข้อนี้อยู่ในคำอธิบาย พระองค์ไม่ให้เราสบถสาบาน “โดยอ้างถึงสวรรค์ เพราะสวรรค์เป็นที่ประทับของพระเจ้า หรืออ้างถึงแผ่นดินโลก เพราะแผ่นดินโลกเป็นที่รองพระบาทของพระเจ้า หรืออ้างถึงกรุงเยรูซาเล็ม เพราะกรุงเยรูซาเล็มเป็นราชธานีของพระมหากษัตริย์ อย่าสาบานโดยอ้างถึงศีรษะของตน เพราะท่านจะทำให้ผมขาวหรือดำไปสักเส้นหนึ่งก็ไม่ได้” (มัทธิว 5:34-36) {MB 66.1}
All things come of God. We have nothing that we have not received; and, more than this, we have nothing that has not been purchased for us by the blood of Christ. Everything we possess comes to us stamped with the cross, bought with the blood that is precious above all estimate, because it is the life of God. Hence there is nothing that we have a right to pledge, as if it were our own, for the fulfillment of our word. {MB 66.2}
ทุกสิ่งล้วนแต่มาจากพระเจ้า ไม่มีอะไรที่เราไม่ได้รับมา และยิ่งไปกว่านั้น เราไม่มีอะไรที่ได้มาโดยไม่ผ่านการทรงไถ่ด้วยพระโลหิตของพระคริสต์ ทุกสิ่งที่เรามีล้วนแต่มาถึงเราด้วยตราประทับจากไม้กางเขนของพระคริสต์ และซื้อด้วยพระโลหิตของพระองค์ที่มีค่าเหลือประมาณเพราะเป็นชีวิตของพระเจ้า แล้วเราจะอ้างอะไรมาเพื่อรับประกันการสาบานของเราได้ในเมื่อของที่เรามีไม่ได้เป็นของเรา {MB 66.2}
The Jews understood the third commandment as prohibiting the profane use of the name of God; but they thought themselves at liberty to employ other oaths. Oath taking was common among them. Through Moses they had been forbidden to swear falsely, but they had many devices for freeing themselves from the obligation imposed by an oath. They did not fear to indulge in what was really profanity, nor did they shrink from perjury so long as it was veiled by some technical evasion of the law. {MB 66.3}
พระบัญญัติข้อที่สามได้ห้ามไว้ “อย่าออกพระนามพระเจ้าของเจ้าอย่างไม่สมควร” (อพยพ 20:3 ฉบับปี 1971) ส่วนชาวยิวเข้าใจว่า ข้อนี้ห้ามไม่ให้ออกพระนามของพระเจ้าในการอุทานหรือการพูดหยาบโลน แต่ถือว่าพวกเขามีสิทธิ์อ้างพระนามของพระองค์ได้ในการให้คำสัตย์ปฏิญาณ ในสมัยนั้นการสาบานถือเป็นเรื่องปกติ กฎของโมเสสเคยห้ามไว้ไม่ให้สาบานเท็จ แต่พวกเขาหาช่องโหว่ที่จะหลีกเลี่ยง ไม่ปฏิบัติตามสิ่งที่ปฏิญานไว้ พวกเขาไม่กลัวที่จะกล่าวจาบจ้วง อ้างฟ้าอ้างดิน แม้จะโป้ปดมดเท็จปั้นน้ำให้เป็นตัวก็ไม่กลัวตราบใดที่มีช่องโหว่ให้หลบหลีก {MB 66.3}
Jesus condemned their practices, declaring that their custom in oath taking was a transgression of the commandment of God. Our Saviour did not, however, forbid the use of the judicial oath, in which God is solemnly called to witness that what is said is truth and nothing but the truth. Jesus Himself, at His trial before the Sanhedrin, did not refuse to testify under oath. The high priest said unto Him, “I adjure Thee by the living God, that Thou tell us whether Thou be the Christ, the Son of God.” Jesus answered, “Thou hast said.” Matthew 26:63, 64. Had Christ in the Sermon on the Mount condemned the judicial oath, He would at His trial have reproved the high priest and thus, for the benefit of His followers, have enforced His own teaching. {MB 66.4}
พระเยซูทรงประณามพฤติกรรมของชาวยิว ทรงอธิบายว่า การสาบานนั้นเป็นการทำผิดต่อพระบัญญัติของพระเจ้า ในเรื่องนี้พระเยซูไม่ได้ห้ามการสาบานตนในชั้นศาล ที่มีการน้อมขอให้พระเจ้าทรงเป็นพยานว่าสิ่งที่จะกล่าวนั้นล้วนแต่เป็นความจริง พระเยซูเองเมื่ออยู่ต่อหน้าสภาแซนเฮดรินไม่ได้ปฏิเสธที่จะให้การภายใต้คำสาบาน มหาปุโรหิตกล่าวต่อพระองค์ว่า “เราให้เจ้าสาบานโดยอ้างพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่ให้บอกเราว่าเจ้าเป็นพระคริสต์ พระบุตรของพระเจ้าหรือไม่” พระเยซูตรัสตอบเขาว่า “ใช่อย่างที่ท่านพูด” (มัทธิว 26:63-64 TSV/TNCV) ถ้าในคำเทศนาบนภูเขาพระเยซูไม่ให้สาบานในศาล พระองค์คงได้ตำหนิมหาปุโรหิตที่ให้สาบาน เพื่อประโยชน์ให้สาวกของพระองค์ และเพื่อเป็นการย้ำถึงคำสอนของพระองค์ {MB 66.4}
There are very many who do not fear to deceive their fellow men, but they have been taught, and have been impressed by the Spirit of God, that it is a fearful thing to lie to their Maker. When put under oath they are made to feel that they are not testifying merely before men, but before God; that if they bear false witness, it is to Him who reads the heart and who knows the exact truth. The knowledge of the fearful judgments that have followed this sin has a restraining influence upon them. {MB 67.1}
มีคนมากมายที่ไม่กลัวที่จะหลอกเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ในขณะที่ถูกสอน มิหนำซ้ำพระวิญญาณบริสุทธิ์ยังดลใจว่า ที่จะโกหกพระเจ้าผู้ทรงสร้างนั้นเป็นสิ่งที่น่ากลัวยิ่งนัก เมื่อสาบานในศาลเขาจึงมีความเกรงกลัวต่อบาป เพราะไม่ได้ให้การต่อหน้ามนุษย์อย่างเดียว แต่ต่อหน้าพระพักตร์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า ถ้าจะให้การเท็จ พระองค์ทรงล่วงรู้ถึงส่วนลึกของจิตใจ และทรงทราบข้อเท็จจริงอย่างถ่องแท้ นอกจากนั้นก็ยังมีตัวอย่างของคนที่ ‘กรรมตอบสนอง’ ที่ช่วยรั้งเขาไว้จากบาปของการให้การเท็จ {MB 67.1}
But if there is anyone who can consistently testify under oath, it is the Christian. He lives constantly as in the presence of God, knowing that every thought is open to the eyes of Him with whom we have to do; and when required to do so in a lawful manner, it is right for him to appeal to God as a witness that what he says is the truth, and nothing but the truth. {MB 67.2}
แต่ถ้ามีใครกลุ่มใดที่สามารถให้การในศาลภายใต้คำสาบานอยู่ในทุกสถานการณ์ คนเหล่านั้นคงจะเป็นคริสเตียน เพราะเขาดำรงชีวิตเฉพาะพระพักตร์พระเจ้า โดยตระหนักว่า ทุกความคิดเปิดแจ้งต่อพระองค์ “ผู้ซึ่งเราทั้งหลายต้องกราบทูลรายงาน” (ฮีบรู 4:13 TNCV) เมื่อต้องให้การตามกฎหมาย ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่จะขอให้พระเจ้าเป็นพยานว่า สิ่งที่จะพูดเป็นความจริงทั้งสิ้น {MB 67.2}
Jesus proceeded to lay down a principle that would make oath taking needless. He teaches that the exact truth should be the law of speech. “Let your speech be, Yea, yea; Nay, nay: and whatsoever is more than these is of the evil one.” R.V. {MB 67.3}
หลังจากนั้นพระเยซูทรงชี้ให้เห็นว่าการสาบานเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น ถ้าเราเพียงแต่พูดเฉพาะความจริง โดยตรัสว่า “จริงก็ว่าจริง ไม่ก็ว่าไม่ คำพูดที่เกินกว่านี้มาจากความชั่ว” {MB 67.3}
These words condemn all those meaningless phrases and expletives that border on profanity. They condemn the deceptive compliments, the evasion of truth, the flattering phrases, the exaggerations, the misrepresentations in trade, that are current in society and in the business world. They teach that no one who tries to appear what he is not, or whose words do not convey the real sentiment of his heart, can be called truthful. {MB 68.1} If these words of Christ were heeded, they would check the utterance of evil surmising and unkind criticism; for in commenting upon the actions and motives of another, who can be certain of speaking the exact truth? How often pride, passion, personal resentment, color the impression given! A glance, a word, even an intonation of the voice, may be vital with falsehood. Even facts may be so stated as to convey a false impression. And “whatsoever is more than” truth, “is of the evil one.” {MB 68.2}
ถ้าคนทั้งหลายได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระคริสต์ในเรื่องนี้ คงป้องกันการกล่าวร้ายและการระแวงต่อกัน เพราะมีใครบ้างเมื่อพูดถึงการกระทำหรือเหตุผลของคนอื่น แล้วแน่ใจว่าเขาพูดแต่ความเป็นจริงเท่านั้น มีบ่อยครั้งที่เรารู้สึกได้ถึงความเย่อหยิ่งและอคติของเราเองจึงเป็นเหตุบิดเบือนข้อเท็จจริง เพราะการเลือกถ้อยคำ การใช้สายตาหรือน้ำเสียงที่เต็มไปด้วยความเท็จ แม้แต่ข้อเท็จจริงก็สามารถกล่าวในวิธีที่จะทำให้คนฟังเข้าใจผิดได้ เพราะ “คำพูดที่เกินกว่า” ความจริง “ก็มาจากมาร” (มัทธิว 5:37 TSV/TNCV) {MB 68.2}
Everything that Christians do should be as transparent as the sunlight. Truth is of God; deception, in every one of its myriad forms, is of Satan; and whoever in any way departs from the straight line of truth is betraying himself into the power of the wicked one. Yet it is not a light or an easy thing to speak the exact truth. We cannot speak the truth unless we know the truth; and how often preconceived opinions, mental bias, imperfect knowledge, errors of judgment, prevent a right understanding of matters with which we have to do! We cannot speak the truth unless our minds are continually guided by Him who is truth. {MB 68.3}
การกระทำของคริสเตียนทุกอย่างควรโปร่งใสเหมือนแสงอาทิตย์ ความจริงมาจากพระเจ้า การหลอกลวงที่มาในหลากหลายรูปแบบล้วนมาจากซาตาน ใครก็ตามที่เบนเบี่ยงไปจากทางแห่งความจริงที่ซื่อตรงก็ตกเป็นเหยื่อของมารร้าย แต่การที่จะพูดแต่ความจริงนั้น ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ มันเป็นการไม่ง่ายที่จะพูดอย่างถูกต้องแม่นยำ เพราะเราจะพูดความจริงไม่ได้ถ้าเราไม่รู้ความจริง บ่อยครั้งเราสรุปไปล่วงหน้า หรือมีอคติไปก่อน ได้ข้อมูลไม่ครบและตัดสินผิดพลาด จึงไม่สามารถเข้าใจอย่างถูกต้องแม้แต่ในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรา เราจะพูดความจริงไม่ได้ นอกเสียจากว่าพระเจ้าผู้ทรงเป็นความจริงนั้นทรงนำความคิดของเราตลอดเวลา {MB 68.3}
Through the apostle Paul, Christ bids us, “Let your speech be alway with grace.” “Let no corrupt communication proceed out of your mouth, but that which is good to the use of edifying, that it may minister grace unto the hearers.” Colossians 4:6; Ephesians 4:29. In the light of these scriptures the words of Christ upon the mount are seen to condemn jesting, trifling, and unchaste conversation. They require that our words should be not only truthful, but pure. {MB 68.4}
พระคริสต์ทรงกำชับเราผ่านอัครสาวกเปาโลว่า “จงให้ถ้อยคำของท่านทั้งหลายประกอบด้วยเมตตาคุณเสมอ” “อย่าให้คำเลวร้ายออกจากปากของท่านทั้งหลาย แต่จงกล่าวคำดีๆ ที่เสริมสร้างและที่เหมาะกับความต้องการ เพื่อจะได้เป็นคุณแก่คนที่ได้ยิน” (โคโลสี 4:6; เอเฟซัส 4:29) เมื่อเราพิจารณาคำเทศนาบนภูเขาด้วยคำสอนของข้อพระคัมภีร์สองข้อนี้แล้ว แสดงว่าพระคริสต์ทรงห้ามไม่ให้ล้อเล่นไม่เป็นเรื่อง พูดไร้สาระหรือคำหยาบคาย แต่ให้คำพูดนั้นบริสุทธิ์และเป็นความจริง {MB 68.4}
Those who have learned of Christ will “have no fellowship with the unfruitful works of darkness.” Ephesians 5:11. In speech, as in life, they will be simple, straightforward, and true; for they are preparing for the fellowship of those holy ones in whose mouth “was found no guile.” Revelation 14:5. {MB 69.1}
ผู้ที่ได้เรียนรู้จากพระคริสต์จะไม่ “มีส่วนในกิจการของความมืดที่ไร้ผล” (เอเฟซัส 5:11) ชีวิตและคำพูดจะเรียบง่าย ตรงไปตรงมา และเป็นความจริง เพราะเขากำลังเตรียมที่จะอยู่ท่ามกลางผู้บริสุทธิ์ ซึ่ง “ไม่พบความเท็จ” ในปากของพวกเขา (วิวรณ์ 14:5) {MB 69.1}
“Resist not him that is evil: but whosoever smiteth thee on thy right cheek, turn to him the other also.” Matthew 5:39, R.V. Occasions of irritation to the Jews were constantly arising from their contact with the Roman soldiery. Detachments of troops were stationed at different points throughout Judea and Galilee, and their presence reminded the people of their own degradation as a nation. With bitterness of soul they heard the loud blast of the trumpet and saw the troops forming around the standard of Rome and bowing in homage to this symbol of her power. Collisions between the people and the soldiers were frequent, and these inflamed the popular hatred. Often as some Roman official with his guard of soldiers hastened from point to point, he would seize upon the Jewish peasants who were laboring in the field and compel them to carry burdens up the mountainside or render any other service that might be needed. This was in accordance with the Roman law and custom, and resistance to such demands only called forth taunts and cruelty. Every day deepened in the hearts of the people the longing to cast off the Roman yoke. Especially among the bold, rough-handed Galileans the spirit of insurrection was rife. Capernaum, being a border town, was the seat of a Roman garrison, and even while Jesus was teaching, the sight of a company of soldiers recalled to His hearers the bitter thought of Israel’s humiliation. The people looked eagerly to Christ, hoping that He was the One who was to humble the pride of Rome. {MB 69.2}
“อย่าต่อสู้คนชั่ว ถ้าใครตบแก้มขวาของท่านก็จงหันแก้มอีกข้างหนึ่งให้เขาด้วย” (มัทธิว 5:39) มีเหตุขุ่นเคืองใจเกิดขึ้นบ่อยๆ เพราะการที่ชาวยิวต้องเกี่ยวข้องกับทหารโรมัน มีกองกำลังตั้งเป็นจุดๆ กระจายอยู่ทั่วแค้วนยูเดียกับแคว้นกาลิลี เมื่อประชาชนเห็นทหารโรมันก็ระลึกถึงความตกต่ำของประเทศชาติบ้านเมือง เมื่อมีการเป่าแตรเรียกทหารเข้าประจำการใต้ธงชาติโรมและก้มคำนับต่อสัญลักษณ์ของอำนาจจักรพรรดิโรมนั้นสร้างความขุ่นเคืองใจไม่น้อย เกิดเหตุพิพาทขึ้นระหว่างประชาชนกับทหารบ่อยๆ ซึ่งปลุกเร้าให้ประชาชนเกิดความจงเกลียดจงชัง บ่อยครั้งที่นายทหารโรมันพร้อมด้วยพรรคพวกบริวารเดินทางไปเพื่อจะจับและเกณฑ์ให้ชาวนาแบกหามสัมภาระขึ้นเขา หรือทำงานตรากตรำอื่นๆ ตามแต่นายต้องการ นี่ก็เป็นไปตามกฎและธรรมเนียมของชาวโรมัน ซึ่งถ้าขืนขัดข้องก็คงโดนทำร้ายและถูกเยาะเย้ย ความรู้สึกของประชาชนที่อยากหลุดพ้นจากแอกของโรมก็เพิ่มทวีขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางชาวกาลิลีใจกล้าที่พร้อมจะกบฎอยู่แล้ว เมืองคาเปอรนาอุมตั้งอยู่ชายแดนและเป็นที่ตั้งของกองทหารรักษาการของโรม ขณะที่พระเยซูสอนอยู่นั้น ประชาชนก็สามารถมองเห็นกองทหารอยู่แต่ไกลซึ่งทิ่มแทงใจให้ระลึกถึงความอับอายที่แสนระทมของชาติอิสราเอล ประชาชนหันไปมองพระคริสต์ ใจจดจ่อหวังว่าพระองค์จะเป็นผู้กำราบปราบปรามความหยิ่งยโสของพวกโรมัน {MB 69.2}
With sadness Jesus looks into the upturned faces before Him. He notes the spirit of revenge that has stamped its evil imprint upon them, and knows how bitterly the people long for power to crush their oppressors. Mournfully He bids them, “Resist not him that is evil: but whosoever smiteth thee on thy right cheek, turn to him the other also.” {MB 70.1}
พระเยซูทรงสลดพระทัยเมื่อทอดพระเนตรใบหน้าประชาชนที่เงยขึ้นหาพระองค์ สีหน้าแต่ละคนประทับรอยความชั่วอยู่ พระองค์ทรงรู้ว่าแต่ละคนต้องการอำนาจเพื่อจะไปบดขยี้ผู้ที่บีบบังคับพวกเขา แต่พระองค์ตรัสด้วยน้ำเสียงที่เป็นทุกข์ว่า “อย่าต่อสู้คนชั่ว ถ้าใครตบแก้มขวาของท่านก็จงหันแก้มอีกข้างหนึ่งให้เขาด้วย” {MB 70.1}
These words were but a reiteration of the teaching of the Old Testament. It is true that the rule, “Eye for eye, tooth for tooth” (Leviticus 24:20), was a provision in the laws given through Moses; but it was a civil statute. None were justified in avenging themselves, for they had the words of the Lord: “Say not thou, I will recompense evil.” “Say not, I will do so to him as he hath done to me.” “Rejoice not when thine enemy falleth.” “If he that hateth thee be hungry, give him bread to eat; and if he be thirsty, give him water to drink.” Proverbs 20:22; 24:29, 17; Proverbs 25:21, 22, R.V., margin. {MB 70.2}
ถ้อยคำเหล่านี้เป็นเพียงการทบทวนคำสอนจากพระคัมภีร์เดิม จริงอยู่มีกฎของโมเสสข้อหนึ่งว่า “ตาแทนตา ฟันแทนฟัน” (เลวีนิติ 24:20) แต่นั่นเป็นกฎฝ่ายพลเรือน จะไม่สามารถอ้างข้อนี้เพื่อทำการแก้แค้น เพราะมีพระคำของพระเจ้าหลายข้อที่กล่าวถึงเรื่องนี้ เช่น “อย่าพูดว่า ‘ข้าจะแก้แค้นความชั่ว’” “อย่ากล่าวว่า ‘ข้าจะทำแก่เขาอย่างที่เขาได้ทำแล้วแก่ข้า’” “อย่าเปรมปรีดิ์เมื่อศัตรูของเจ้าล้ม” “ถ้าศัตรูของเจ้าหิว จงให้อาหารเขากิน และถ้าเขากระหาย จงให้น้ำเขาดื่ม” (สุภาษิต 20:22; 24:29, 17; 25:21-22) {MB 70.2}
The whole earthly life of Jesus was a manifestation of this principle. It was to bring the bread of life to His enemies that our Saviour left His home in heaven. Though calumny and persecution were heaped upon Him from the cradle to the grave, they called forth from Him only the expression of forgiving love. Through the prophet Isaiah He says, “I gave My back to the smiters, and My cheeks to them that plucked off the hair: I hid not My face from shame and spitting.” “He was oppressed, and He was afflicted, yet He opened not His mouth: He is brought as a lamb to the slaughter, and as a sheep before her shearers is dumb, so He openeth not His mouth.” Isaiah 50:6; 53:7. And from the cross of Calvary there come down through the ages His prayer for His murderers and the message of hope to the dying thief. {MB 71.1}
ชีวิตทั้งหมดของพระเยซูบนโลกนี้ได้แสดงออกถึงหลักการดังกล่าว พระผู้ช่วยให้รอดได้ออกจากสวรรค์เพื่อแบ่งปันอาหารแห่งชีวิตให้ศัตรูของพระองค์ แม้มีคนกดขี่ข่มเหงและใส่ร้ายป้ายสีตั้งแต่แรกที่เกิดมา แต่พระองค์ตอบสนองเขาด้วยความรักและการให้อภัยเท่านั้น พระองค์ตรัสผ่านผู้เผยพระวจนะอิสยาห์ว่า “ข้าพเจ้าเปิดหลังให้ผู้โบยตีข้าพเจ้า และหันแก้มแก่คนดึงเคราข้าพเจ้าออก ข้าพเจ้าไม่ได้ซ่อนหน้าจากการเยาะเย้ยและการถ่มน้ำลายรด” “ท่านถูกบีบบังคับและถูกข่มใจ ถึงกระนั้นท่านก็ไม่ปริปาก เหมือนลูกแกะที่ถูกนำไปฆ่า และเหมือนแกะที่เป็นใบ้ต่อหน้าผู้ตัดขนของมันเช่นใด ท่านก็ไม่ปริปากของท่านเช่นนั้น” (อิสยาห์ 50:6; 53:7) นอกจากนั้นคำอธิษฐานของพระองค์บนไม้กางเขน ที่อธิษฐานขอให้พระเจ้ายกโทษผู้ที่ปลงพระชนม์พระองค์ กับความหวังที่พระองค์ให้โจรผู้นั้นเป็นบทเรียนที่สืบทอดกันมาจนถึงพวกเรา {MB 71.1}
The Father’s presence encircled Christ, and nothing befell Him but that which infinite love permitted for the blessing of the world. Here was His source of comfort, and it is for us. He who is imbued with the Spirit of Christ abides in Christ. The blow that is aimed at him falls upon the Saviour, who surrounds him with His presence. Whatever comes to him comes from Christ. He has no need to resist evil, for Christ is his defense. Nothing can touch him except by our Lord’s permission, and “all things” that are permitted “work together for good to them that love God.” Romans 8:28. {MB 71.2}
การสถิตอยู่ของพระบิดาโอบล้อมพระผู้ไถ่ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับพระเยซูนอกจากที่พระเจ้าแห่งความรักทรงอนุญาตให้เกิดเพื่อเป็นพระพรให้แก่ชาวโลก พระคริสต์พอพระทัยเมื่อทรงพิจารณาถึงข้อนี้ และเราก็ควรจะมีความสุขเช่นกัน ผู้ที่ได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระคริสต์ก็เข้าสนิทกับพระองค์ สิ่งเลวร้ายที่จะมากระทบเขาก็ไปกระทบพระผู้ช่วยให้รอดแทน เพราะพระองค์ระแวดระวังเขาอยู่ทั้งหน้าทั้งหลัง ทุกสิ่งที่กระทบเขาก็มาจากพระคริสต์ เขาไม่จำเป็นต่อสู้กับความชั่วร้าย เพราะพระคริสต์ทรงเป็นแนวป้องกันของเขา ไม่มีอะไรที่จะแตะต้องเขาได้นอกจากที่พระองค์จะอนุญาต และ “ทุกอย่าง” ที่ทรงอนุญาตนั้น ล้วนแต่ “ก่อผลดีแก่คนที่รักพระเจ้า” (โรม 8:28) {MB 71.2}
“If any man would go to law with thee, and take away thy coat [tunic], let him have thy cloak [mantle] also. And whosoever shall impress thee to go one mile, go with him twain.” R.V., margin. {MB 71.3}
“ถ้าใครต้องการจะฟ้องศาล เพื่อจะปรับเอาเสื้อของท่านไป จงสละเสื้อคลุมให้เขาด้วย ถ้าใครจะเกณฑ์ท่านให้เดินทางไปหนึ่งกิโลเมตร ก็ให้เลยไปกับเขาถึงสองกิโลเมตร” (มัทธิว 5:40-41) {MB 71.3}
Jesus bade His disciples, instead of resisting the demands of those in authority, to do even more than was required of them. And, so far as possible, they should discharge every obligation, even if it were beyond what the law of the land required. The law, as given through Moses, enjoined a very tender regard for the poor. When a poor man gave his garment as a pledge, or as security for a debt, the creditor was not permitted to enter the dwelling to obtain it; he must wait in the street for the pledge to be brought to him. And whatever the circumstances the pledge must be returned to its owner at nightfall. Deuteronomy 24:10-13. In the days of Christ these merciful provisions were little regarded; but Jesus taught His disciples to submit to the decision of the court, even though this should demand more than the law of Moses authorized. Though it should demand a part of their raiment, they were to yield. More than this, they were to give to the creditor his due, if necessary surrendering even more than the court gave him authority to seize. “If any man would go to law with thee,” He said, “and take away thy coat, let him have thy cloak also.” R.V. And if the couriers require you to go a mile with them, go two miles. {MB 72.1}
พระเยซูทรงสอนสาวกว่า เมื่อผู้มีอำนาจสั่งประการใด แทนที่จะขัดขืน ให้ทำยิ่งกว่าที่เขาสั่ง และเท่าที่เป็นไปได้ให้ทำหน้าที่พลเรือนมากกว่าที่กฎหมายบังคับ ส่วนบัญญัติโมเสสนั้นสอนให้เอาใจใส่คนยากจน เมื่อคนจนเอาเสื้อผ้าเป็นค่าประกันหรือค่ามัดจำ เจ้าหนี้ไม่ได้รับอนุญาตที่จะบุกเข้าไปในบ้านเพื่อเอาเสื้อผ้าตัวนั้น แต่ต้องรออยู่ข้างนอกที่ถนนให้ลูกหนี้เข้าไปเอามาให้ และไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม เจ้าหนี้จะต้องคืนค่ามัดจำดังกล่าวก่อนค่ำคืนนั้น (ดูเฉลยธรรมบัญญัติ 24:10-13) ในสมัยพระคริสต์ประชาชนไม่ได้ใส่ใจในข้อบังคับต่างๆ ที่สอนเรื่องความเมตตาเท่าใดนัก ฝ่ายพระเยซูสอนให้สาวกยอมต่อคำตัดสินของศาล แม้จะต้องทำในสิ่งที่มากกว่าที่บัญญัติของโมเสสสั่งไว้ แม้กระทั่งจะต้องเสียเสื้อผ้าปกคลุมกายส่วนหนึ่งไปก็ให้ยอม และยิ่งไปกว่านั้น ให้คืนเจ้าหนี้ตามที่เขาควรจะได้รับ ถ้าจำเป็นก็ให้ยอมเสียมากกว่าที่ศาลอนุญาตให้เขายึด “ถ้าใครต้องการจะฟ้องศาล เพื่อจะปรับเอาเสื้อของท่านไป จงสละเสื้อคลุมให้เขาด้วย ถ้าใครจะเกณฑ์ท่านให้เดินทางไปหนึ่งกิโลเมตร ก็ให้เลยไปกับเขาถึงสองกิโลเมตร” (มัทธิว 5:40-41) {MB 72.1}
Jesus added, “Give to him that asketh thee, and from him that would borrow of thee turn not thou away.” The same lesson had been taught through Moses: “Thou shalt not harden thine heart, nor shut thine hand from thy poor brother: but thou shalt open thine hand wide unto him, and shalt surely lend him sufficient for his need, in that which he wanteth.” Deuteronomy 15:7, 8. This scripture makes plain the meaning of the Saviour’s words. Christ does not teach us to give indiscriminately to all who ask for charity; but He says, “Thou shalt surely lend him sufficient for his need;” and this is to be a gift, rather than a loan; for we are to “lend, hoping for nothing again.” Luke 6:35. “Who gives himself with his alms feeds three, Himself, his hungering neighbor, and Me.” {MB 72.2}
พระเยซูทรงเพิ่มเติมว่า “ถ้าเขาจะขอสิ่งใดจากท่าน ก็จงให้ อย่าเมินหน้าจากผู้ที่ต้องการขอยืมจากท่าน” อันนี้เป็นบทเรียนเดียวกับที่โมเสสเคยสอน “ท่านอย่ามีใจแข็ง อย่าหดมือของท่านไว้เสียจากพี่น้องของท่านที่ยากจนนั้น แต่ท่านจงยื่นมือของท่านให้เขา และให้เขายืมจนพอแก่ความต้องการของเขาที่เขาขาดอยู่นั้น” (เฉลยธรรมบัญญัติ 15:7-8) ข้อนี้ช่วยอธิบายความหมายที่พระเยซูสอนได้อย่างชัดเจน พระองค์ไม่ได้สอนให้เราบริจาคเรื่อยเปื่อยแก่ทุกคนที่ขอ แต่ตรัสว่า “ให้เขายืมจนพอแก่ความต้องการของเขาที่เขาขาดอยู่นั้น” และควรเป็นการให้ไม่ใช่เป็นการยืม เพราะพระองค์สอนเราว่า “ให้เขายืมโดยไม่หวังจะได้อะไรคืนมา” (ลูกา 6:35 TNCV) {MB 72.2}
“Love your enemies.” Matthew 5:44. The Saviour’s lesson, “Resist not him that is evil,” was a hard saying for the revengeful Jews, and they murmured against it among themselves. But Jesus now made a still stronger declaration: {MB 73.1}
[**poem เมื่อสละตนช่วยผู้ยากไร้ ที่แท้ช่วยสามฝ่ายให้รับดี หนึ่งพระคริสต์สองเพื่อนบ้านพรทวี สามพรนี้กลับมีแก่ผู้ให้เอง ] {MB 73.1}
“Ye have heard that it hath been said, Thou shalt love thy neighbor, and hate thine enemy. But I say unto you, Love your enemies, bless them that curse you, do good to them that hate you, and pray for them which despitefully use you and persecute you; that ye may be the children of your Father which is in heaven.” {MB 73.2}
“จงรักศัตรูของท่าน” (มัทธิว 5:44) บทเรียนของพระเยซูว่า “อย่าต่อสู้คนชั่ว” เป็นถ้อยคำที่ฟังยากสำหรับชาวยิวที่มีความเคียดแค้น เมื่อได้ยินพระองค์ตรัสดังนั้นพวกเขาจึงบ่นพึมพำกัน แต่บัดนี้พระเยซูสั่งสอนสิ่งที่หนักกว่านั้นอีก {MB 73.2}
Such was the spirit of the law which the rabbis had misinterpreted as a cold and rigid code of exactions. They regarded themselves as better than other men, and as entitled to the special favor of God by virtue of their birth as Israelites; but Jesus pointed to the spirit of forgiving love as that which would give evidence that they were actuated by any higher motives than even the publicans and sinners, whom they despised. {MB 73.3}
“ท่านทั้งหลายได้ยินคำซึ่งกล่าวไว้ว่า ‘จงรักเพื่อนบ้านของท่าน และเกลียดชังศัตรูของท่าน’ แต่เราบอกพวกท่านว่า จงรักศัตรูของท่าน และจงอธิษฐานเพื่อบรรดาคนที่ข่มเหงพวกท่าน เพื่อว่าพวกท่านจะเป็นบุตรของพระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์” (มัทธิว 5:43-44) {MB 73.3}
He pointed His hearers to the Ruler of the universe, under the new name, “Our Father.” He would have them understand how tenderly the heart of God yearned over them. He teaches that God cares for every lost soul; that “like as a father pitieth his children, so the Lord pitieth them that fear Him.” Psalm 103:13. Such a conception of God was never given to the world by any religion but that of the Bible. Heathenism teaches men to look upon the Supreme Being as an object of fear rather than of love–a malign deity to be appeased by sacrifices, rather than a Father pouring upon His children the gift of His love. Even the people of Israel had become so blinded to the precious teaching of the prophets concerning God that this revelation of His paternal love was as an original subject, a new gift to the world. {MB 74.1}
พระเยซูทรงแนะนำให้ผู้ฟังรู้จักพระเจ้าผู้ทรงครอบครองจักรวาลด้วยพระนามใหม่ คือ “พระบิดาของเรา” เพื่อให้เข้าใจว่าพระเจ้าทรงรักทรงเอ็นดูพวกเขา พระเจ้าทรงห่วงใยคนที่หลงผิดทุกคน ตามที่กล่าวอ้างในพระคัมภีร์ว่า “บิดาสงสารบุตรของตนฉันใด พระเจ้าทรงสงสารบรรดาคนที่ยำเกรงพระองค์ฉันนั้น” (สดุดี 103:13 ฉบับปี 1971) มนุษย์ชาติไม่เคยได้รับรู้ภาพลักษณ์ของพระเจ้าเช่นนี้จากศาสนาอื่นนอกจากคำสอนในพระคัมภีร์ มีลัทธิคำสอนมากมายที่สอนให้นับถือพระเจ้าผู้สูงสุดเนื่องด้วยความกลัวแทนที่จะยำเกรงพระองค์เพราะความรัก ต้องคอยหมั่นสังเวย ทำพิธีบวงสรวงถวายบูชาพระของเขา ซึ่งภาพนี้ตรงกันข้ามกับคำสอนของพระคัมภีร์ที่เราเห็นพระบิดาผู้ทรงประทานแก่บุตรทั้งหลายของพระองค์ด้วยความรัก แม้แต่ชนชาติอิสราเอลเองก็ตาบอดไม่เข้าใจคำสอนอันประเสริฐของผู้เผยพระวจนะว่าพระเจ้าทรงเป็นพระบิดาผู้เปี่ยมด้วยความรัก จนคำสอนของพระองค์เหมือนเรื่องใหม่ เป็นของประทานใหม่ให้กับมนุษย์ {MB 74.1}
The Jews held that God loved those who served Him,–according to their view, those who fulfilled the requirements of the rabbis,–and that all the rest of the world lay under His frown and curse. Not so, said Jesus; the whole world, the evil and the good, lies in the sunshine of His love. This truth you should have learned from nature itself; for God “maketh His sun to rise on the evil and on the good, and sendeth rain on the just and on the unjust.” {MB 74.2}
ชาวยิวถือว่าพระเจ้าทรงรักผู้ที่รับใช้พระองค์ด้วยการทำตามข้อบังคับของพวกธรรมาจารย์ ส่วนมนุษย์คนอื่นล้วนแต่ตกอยู่ภายใต้คำสาปแช่ง แต่พระเยซูสอนว่า มิใช่เช่นนั้น มนุษย์ทั้งโลกไม่ว่าจะเป็นคนดีหรือคนชั่วก็ได้รับแสงแห่งความรักของพระองค์เช่นกัน ดังบทเรียนนี้ที่น่าจะได้รับจากธรรมชาติ “เพราะว่าพระองค์ทรงให้ดวงอาทิตย์ของพระองค์ขึ้นส่องสว่างแก่คนดีและคนชั่วเสมอกัน และให้ฝนตกแก่คนชอบธรรมและคนอธรรม” (มัทธิว 5:45) {MB 74.2}
It is not because of inherent power that year by year the earth produces her bounties and continues her motion round the sun. The hand of God guides the planets and keeps them in position in their orderly march through the heavens. It is through His power that summer and winter, seedtime and harvest, day and night follow each other in their regular succession. It is by His word that vegetation flourishes, that the leaves appear and the flowers bloom. Every good thing we have, each ray of sunshine and shower of rain, every morsel of food, every moment of life, is a gift of love. {MB 74.3}
ไม่ใช่ว่าธรรมชาติมีพลังอำนาจในตัวมันเอง โลกจึงโคจรรอบดวงอาทิตย์และอำนวยผลผลิตมากมายทุกปี ฤทธิ์อำนาจของพระเจ้าต่างหากที่ทรงนำการโคจรของดวงดาว ทรงจัดทางเดินไว้ให้ดาวแต่่ละดวงอย่างเป็นระเบียบ ด้วยฤทธานุภาพของพระองค์จึงมีฤดูกาลต่างๆ มีร้อนมีหนาว มีฝนมีแล้ง กลางวันกลางคืน มีฤดูหว่านและฤดูเกี่ยว สลับกันไปตามลำดับ พืชผักงอกงามด้วยพระดำรัสสั่ง ใบผลิและดอกบานก็ด้วยพระคำของพระองค์ สิ่งดีทั้งปวงที่เรามี ฝนที่โปรยลงมารดแผ่นดิน ลำแสงทั้งมวล อาหารทุกคำ ทุกเวลานาทีของชีวิต ล้วนเป็นของประทานแห่งความรัก {MB 74.3}
While we were yet unloving and unlovely in character, “hateful, and hating one another,” our heavenly Father had mercy on us. “After that the kindness and love of God our Saviour toward man appeared, not by works of righteousness which we have done, but according to His mercy He saved us.” Titus 3:3-5. His love received, will make us, in like manner, kind and tender, not merely toward those who please us, but to the most faulty and erring and sinful. {MB 75.1}
ในขณะที่เราเองไม่มีความน่ารัก ทั้งยังไม่รักคนอื่น “ใช้ชีวิตอย่างชั่วร้าย และอิจฉาริษยา ถูกชิงชังและเกลียดกัน” ขณะนั้นเองพระบิดาของเราก็ยังทรงเมตตาเรา “เมื่อพระกรุณาและความรักของพระเจ้าองค์พระผู้ช่วยให้รอดของเราปรากฏ พระองค์ทรงช่วยเราให้รอดไม่ใช่เพราะความชอบธรรมที่เราได้ทำ แต่เพราะพระเมตตาของพระองค์” (ทิตัส 3:3-5 TSV/TNCV) เมื่อเรารับความรักของพระองค์แล้ว เราก็จะมีความรัก และความสุภาพอ่อนโยนต่อคนอื่น ไม่เพียงแต่ต่อคนที่เราถูกใจ แต่ต่อคนที่หลงผิด ใช้ชีวิตในความบาปด้วย {MB 75.1}
The children of God are those who are partakers of His nature. It is not earthly rank, nor birth, nor nationality, nor religious privilege, which proves that we are members of the family of God; it is love, a love that embraces all humanity. Even sinners whose hearts are not utterly closed to God’s Spirit, will respond to kindness; while they may give hate for hate, they will also give love for love. But it is only the Spirit of God that gives love for hatred. To be kind to the unthankful and to the evil, to do good hoping for nothing again, is the insignia of the royalty of heaven, the sure token by which the children of the Highest reveal their high estate. {MB 75.2}
บุตรของพระเจ้าคือคนที่รับเอาพระลักษณะนิสัยของพระองค์ไป ยศฐาบรรดาศักดิ์ เชื้อชาติ ศาสนาไม่ใช่สิ่งที่พิสูจน์ว่าเราเป็นสมาชิกครอบครัวของพระเจ้า หากเป็นความรักที่มีต่อมวลมนุษย์ แม้แต่คนบาปที่ยังไม่เปิดใจรับฟังเสียงของพระวิญญาณบริสุทธิ์ก็ยังตอบสนองต่อความกรุณา แม้คนที่ถือโทษโกรธแค้นก็ยังรู้จักแสดงความรักต่อคนที่รักเขา มีแต่พระวิญญาณของพระเจ้าเท่านั้นที่ตอบสนองความเกลียดชังด้วยความรัก เมื่อมีคนทำดีต่อคนชั่วที่ไม่รู้คุณด้วยใจกรุณา คือทำดีโดยไม่หวังการตอบแทน นั่นแหละคือตราประทับหลวงแห่งสวรรค์ เป็นสัญลักษณ์ว่าเขาคือราชบุตรของพระเจ้าสูงสุด {MB 75.2}
“Be ye therefore perfect, even as your Father which is in heaven is perfect.” Matthew 5:48. The word “therefore” implies a conclusion, an inference from what has gone before. Jesus has been describing to His hearers the unfailing mercy and love of God, and He bids them therefore to be perfect. Because your heavenly Father “is kind unto the unthankful and to the evil” (Luke 6:35), because He has stooped to lift you up, therefore, said Jesus, you may become like Him in character, and stand without fault in the presence of men and angels. {MB 76.1}
“เพราะฉะนั้น…จงเป็นคนดีพร้อม เหมือนอย่างที่พระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์ทรงดีพร้อม (มัทธิว 5:48) คำว่า ‘เพราะฉะนั้น’ แสดงถึงการสรุปข้อความที่สอนไว้ก่อนหน้านั้น ที่พระเยซูทรงบรรยายให้ผู้ฟังทราบถึงพระเมตตาคุณและความรักมั่นคงของพระเจ้า พระเยซูสอนว่า เนื่องจากพระบิดาของท่าน “ทรงพระกรุณาทั้งต่อคนอกตัญญูและคนชั่ว” (ลูกา 6:35) พระองค์ทรงน้อมพระองค์ลงเพื่อยกเราขึ้น ฉะนั้นเราก็สามารถมีอุปนิสัยที่เปลี่ยนไปตามพระลักษณะของพระองค์ และสามารถยืนต่อหน้ามนุษย์และทูตสวรรค์โดยปราศจากตำหนิได้ {MB 76.1}
The conditions of eternal life, under grace, are just what they were in Eden–perfect righteousness, harmony with God, perfect conformity to the principles of His law. The standard of character presented in the Old Testament is the same that is presented in the New Testament. This standard is not one to which we cannot attain. In every command or injunction that God gives there is a promise, the most positive, underlying the command. God has made provision that we may become like unto Him, and He will accomplish this for all who do not interpose a perverse will and thus frustrate His grace. {MB 76.2}
โดยพระคุณแล้ว เงื่อนไขชีวิตนิรันดร์ทุกวันนี้ไม่ต่างกับสมัยสวนเอเดนเลย นั่นคือความชอบธรรมที่สมบูรณ์แบบ การประสานเข้ากันเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า และชีวิตที่สอดคล้องไม่เบนเบี่ยงจากหลักการแห่งธรรมบัญญัติของพระองค์ นี่คือมาตรฐานของอุปนิสัยที่สอนไว้ทั้งในพระคัมภีร์เดิมและพระคัมภีร์ใหม่ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ไม่ไกลเกินเอื้อม เพราะในพระบัญชาทุกข้อของพระเจ้า มีพระสัญญารองรับ พระเจ้าทรงจัดเตรียมทุกสิ่งไว้เพื่อเราจะได้เป็นเหมือนพระองค์ และสำหรับทุกคนที่ไม่ดื้อรั้นขัดขวางพระคุณ พระองค์จะทรงกระทำให้สำเร็จ {MB 76.2}
With untold love our God has loved us, and our love awakens toward Him as we comprehend something of the length and breadth and depth and height of this love that passeth knowledge. By the revelation of the attractive loveliness of Christ, by the knowledge of His love expressed to us while we were yet sinners, the stubborn heart is melted and subdued, and the sinner is transformed and becomes a child of heaven. God does not employ compulsory measures; love is the agent which He uses to expel sin from the heart. By it He changes pride into humility, and enmity and unbelief into love and faith. {MB 76.3}
พระเจ้าทรงรักเราด้วยความรักที่เกินบรรยาย เมื่อเราเข้าใจส่วนหนึ่งของความรักที่กว้างใหญ่ไพศาล คือความรักที่เกินความเข้าใจ ก็จะจุดประกายให้เรามีความรักในใจต่อพระองค์ เมื่อคนบาปรู้ถึงความรักของพระคริสต์ที่ทรงรักเขาในขณะที่ยังเป็นคนบาป ใจที่ดื้อรั้นจะอ่อนลงและเขาจะรับการเปลี่ยนแปลงเป็นบุตรของสวรรค์ พระเจ้าไม่ใช้วิธีการบังคับ ความรักต่างหากที่เป็นเครื่องมือของพระองค์ในการกำจัดความบาปออกจากหัวใจ ด้วยความรักพระองค์เปลี่ยนคนเย่อหยิ่งให้เป็นคนใจถ่อม ทั้งเปลี่ยนความเกลียดชังและความสงสัยให้เป็นความรักและความเชื่อ {MB 76.3}
The Jews had been wearily toiling to reach perfection by their own efforts, and they had failed. Christ had already told them that their righteousness could never enter the kingdom of heaven. Now He points out to them the character of the righteousness that all who enter heaven will possess. Throughout the Sermon on the Mount He describes its fruits, and now in one sentence He points out its source and its nature: Be perfect as God is perfect. The law is but a transcript of the character of God. Behold in your heavenly Father a perfect manifestation of the principles which are the foundation of His government. {MB 77.1}
ชาวยิวบากบั่นเพียรพยายามเพื่อให้บรรลุถึงความสมบูรณ์แบบ แต่ก็ล้มเหลว พระคริสต์ได้บอกไว้แล้วว่า ความชอบธรรมของพวกเขาจะเข้าแผ่นดินสวรรค์ไม่ได้ บัดนี้พระองค์ทรงอธิบายถึงลักษณะความชอบธรรมซึ่งคนที่จะเข้าแผ่นดินสวรรค์พึงมี ตลอดคำเทศนาบนภูเขาพระองค์สอนถึงผลแห่งความชอบธรรม แต่ในข้อนี้พระองค์สรุปที่มาและลักษณะของความชอบธรรมนั้น คือให้เราสมบูรณ์ดีพร้อม เพราะพระองค์ทรงสมบูรณ์ดีพร้อม ธรรมบัญญัติเป็นเพียงการถอดแบบพระลักษณะนิสัยของพระเจ้า หลักการอันเป็นรากฐานของการปกครองของพระองค์ได้ปรากฏแจ้งในพระบิดาของเรา จงให้เราพิจารณาถึงเรื่องนี้ {MB 77.1}
God is love. Like rays of light from the sun, love and light and joy flow out from Him to all His creatures. It is His nature to give. His very life is the outflow of unselfish love. “His glory is His children’s good; His joy, His tender Fatherhood.” He tells us to be perfect as He is, in the same manner. We are to be centers of light and blessing to our little circle, even as He is to the universe. We have nothing of ourselves, but the light of His love shines upon us, and we are to reflect its brightness. “In His borrowed goodness good,” we may be perfect in our sphere, even as God is perfect in His. {MB 77.2}
พระเจ้าทรงเป็นความรัก ดวงอาทิตย์ฉายลำแสงออกมาฉันใด ความรัก แสงสว่างและความสุขก็ไหลมาจากพระองค์สู่ชีวิตทั้งหลายที่พระองค์ทรงสร้างฉันนั้น การให้เป็นคุณลักษณะโดยธรรมชาติของพระองค์ ความรักที่ไม่เห็นแก่ตัวฉายออกจากชีวิตของพระองค์ {MB 77.2}
Jesus said, Be perfect as your Father is perfect. If you are the children of God you are partakers of His nature, and you cannot but be like Him. Every child lives by the life of his father. If you are God’s children, begotten by His Spirit, you live by the life of God. In Christ dwells “all the fullness of the Godhead bodily” (Colossians 2:9); and the life of Jesus is made manifest “in our mortal flesh” (2 Corinthians 4:11). That life in you will produce the same character and manifest the same works as it did in Him. Thus you will be in harmony with every precept of His law; for “the law of the Lord is perfect, restoring the soul.” Psalm 19:7, margin. Through love “the righteousness of the law” will be “fulfilled in us, who walk not after the flesh, but after the Spirit.” Romans 8:4. {MB 77.3}
[**poem: พระองค์ได้รับพระเกียรติเมื่อบุตรทั้งหลายได้ดี ทั้งทรงชื่นชมยินดีทะนุถนอมพวกเขาดั่งบิดาที่รักบุตร ] {MB 77.3} เช่นเดียวกัน พระองค์ให้เราสมบูรณ์ดีพร้อมเหมือนอย่างพระองค์ คือให้เราเป็นดวงสว่างที่จะส่องแสงและอำนวยพรให้คนที่อยู่รอบข้างเหมือนที่พระองค์ทรงเป็นให้แก่จักรวาล เราไม่มีอะไรในตัวเราเอง แต่เมื่อแสงแห่งความรักของพระองค์ส่องต้องเรา เราก็ต้องสะท้อนแสงนั้นต่อให้ผู้อื่น ด้วยการรับความดีจากพระองค์ แล้วเราจะสามารถเป็นคนดีพร้อมในขอบเขตของเราเหมือนที่พระองค์ทรงสมบูรณ์ดีพร้อมในส่วนของพระองค์ {MB 77.4}
พระเยซูตรัสว่า จงสมบูรณ์ดีพร้อมอย่างที่พระบิดาของท่านทรงสมบูรณ์ดีพร้อม ถ้าเราเป็นลูกของพระเจ้า เรามีส่วนในพระลักษณะของพระองค์ แล้วเราก็ต้องเป็นเหมือนพระองค์อย่างแน่นอน คนที่เป็นลูกทุกคนดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยชีวิตที่รับมาจากผู้เป็นพ่อ ถ้าเราเป็นลูกของพระเจ้าที่บังเกิดใหม่โดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ เราจะดำรงอยู่ด้วยชีวิตที่ได้รับมาจากพระเจ้า ในพระคริสต์ “ความเป็นพระเจ้าที่ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้นดำรงอยู่” (โคโลสี 2:9) และชีวิตของพระเยซูจะปรากฏอยู่ “ในร่างกายเนื้อหนังที่ต้องตายของเรา” (2 โครินธ์ 4:11) เมื่อเป็นเช่นนั้นชีวิตของเราจะมีลักษณะเดียวกันและเราจะประกอบกิจแบบเดียวกันกับพระองค์ และชีวิตของเราจะสอดคล้องกับธรรมบัญญัติทุกข้อ เพราะ “บทบัญญัติขององค์พระผู้เป็นเจ้าสมบูรณ์ไร้ที่ติ ฟื้นฟูจิตวิญญาณ” (สดุดี 19:7 TNCV) และเพราะความรัก “ความชอบธรรมของพระราชบัญญัติจะได้สำเร็จในพวกเรา ผู้ไม่ดำเนินตามฝ่ายเนื้อหนัง แต่ตามฝ่ายพระวิญญาณ” (โรม 8:4 TKJV) {MB 77.5}